จริงหรือที่ว่า “รักใครให้ดื่มนม”
ลองมาดูข้อมูลถึงภัยมืดที่แฝงมากับนมวัวดูบ้างแล้วจะทราบว่า จริงหรือที่ว่า "รักใครให้ดื่มนม" ทางธรรมชาติบำบัดนั้นจะไม่แนะนำให้รับประทานนมวัว เนื่องจากมีผลเสียมากกว่าผลดีครับ ดังเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ
1. นมวัว เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ จึงมีไขมันอิ่มตัวเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไขมันคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงและเส้นเลือดหัวใจอุดตันได้ครับ เราอุตส่าห์หนีน้ำมันหมูแล้วยังมากินนมวัวกันอีกหรือ
2. มีประสบการณ์ของแพทย์ไทยอย่าง ศ.นพ.สุขสวัสดิ์ เพ็ญสุวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อ ท่านเล่าว่า"ผมเคยทำงานวิจัยชิ้นหนึ่งในอาสาสมัครที่เป็นพลทหาร โดยให้พวกเขาดื่มนมแล้วส่องกล้องดูเยื่อบุลำไส้ของอาสาสมัครเหล่านี้ ปรากฏผลเป็นที่น่าตกใจว่า อาสาสมัครเหล่านี้ทั้ง 100% มีเยื่อบุลำไส้บวมกันทั้งหมด ซึ่งแสดงถึงภาวะภูมิแพ้ของคนไทยต่อการดื่มนม เพียงแต่คนบางคนแสดงอาการด้วยภาวะท้องเสีย แต่บางคนก็ถ่ายเป็นปกติด้วยซ้ำไป ทั้งๆที่เยื่อบุลำไส้บวมอยู่อย่างนั้น
นพ.เอส. ซี. ทรูเลิฟ ในวารสาร British Medical Journal ปี 1961 และงานของ ดี.โจเซฟ ซักคา ในวารสาร Annaul of allergy พฤษภาคม 1971 กล่าวไว้ชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของการดื่มนมกับการเกิดลำไส้อักเสบจากภาวะภูมิแพ้
กลไกการแพ้นมวัวมีความเป็นไปได้หลายประการ เช่นแพ้แลกโตสในนม ซึ่งคนเอเชียร้อยละ 80 ไม่มีน้ำย่อยตัวนี้ แพ้แบบนี้จะแสดงด้วยอาการท้องเสีย แต่มักเป็นอยู่ไม่นาน ร่างกายจะพยายามสร้างเอมไซม์ออกมาเอง แต่แพ้อีกกรณีหนึ่ง คือ แพ้เคซีนในนม ซึ่งจะเกิดการอาการแพ้มากน้อยตามแต่ละบุคคล (Kushi, Michio. The Book of Macrobiotics. Japan Publication Inc., New York, 1992) เคซีนนี้นักวิชาการบางคนอาจบอกว่า เป็นโปรตีนธรรมดา จะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนไปหมด แท้ที่จริงแล้วโปรตีนแต่ละแหล่ง ใช่ว่าจะถูกย่อยและดูดซึมไปใช้ได้หมด มันจะมีบางส่วนที่ย่อยและดูดซึมไปใช้ได้ แต่มีบางส่วนที่ตกค้างอยู่ เรียกตามศัพท์ทางโภชนาการว่า Net Protein Utilization เนื้อสัตว์มี NPU 67% แปลว่ามีอีก 23% ที่ดูดซึมไม่ได้ นมมี NPU 82% แปลว่ามี 18% ที่ดูดซึมไปใช้ไม่ได้จะไปจับกับน้ำดีเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ย่อยสลาย ทำให้เกิดการบูดเน่า สารตัวนี้ยังเป็น immune complex ที่กระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉพาะถิ่นขึ้นที่เยื่อบุลำไส้ของคนเรา
ทีนี้ในบางคนที่มีอาการท้องผูก เพราะนิสัยของคนที่กินเนื้อสัตว์ นมเนย มักไม่ค่อยกินอาหารเส้นใย อุจจาระที่แข็ง จะครูดผ่านเยื่อบุลำไส้ทำให้สารประกอบโปรตีนเหล่านี้หลุดเข้าสู่ร่างกาย ก่อให้เกิดภูมิแพ้ตามมาอีก อาการแพ้นมเฉพาะที่ ในทางเดินอาหารในบางคนอาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ส่วนภูมิแพ้ที่เกิดจากการดูดซึมสารภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกายก็แสดงอาการด้วยการคัดจมูก เป็นหวัดตลอดปี หอบหืด หรือ ผื่นแพ้ผิวหนัง เกิดขึ้นได้ง่ายในเด็ก และผู้ใหญ่ก็มีได้
3. มีข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา โดย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่ามีความสำพันธ์ระหว่าง ฮอร์โมน Insulin like growth factor 1 (IGF-1) กับ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และนักวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติของอเมริกาพบว่า IGF-1 มีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งในเด็ก, มะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด, มะเร็งตับอ่อนและมะเร็งต่อมลูกหมาก และยังมีนักวิจัยอื่นๆพบอีกว่า IGF-1 มีความสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม
โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยืนยันผลว่า ระดับ IGF-1 ในเลือดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยพบว่า คนที่มีระดับ IGF-1 ในเลือดระหว่าง 300-500 ng/ml เพิ่มความเสี่ยงเป็น 4 เท่าในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ถ้าเทียบกับคนที่มีระดับ IGF-1 อยู่ระหว่าง 100 -185 ng/ml
บันทึก #2 9 ก.ค. 2553, 14:03:45
"นมวัว"
น้ำนม คืออาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เพิ่งเกิด ในน้ำนมจะมีสารอาหารซึ่งให้พลังงานที่มีความจำเป็นในการเจริญเติบโตและยังมีภูมิคุ้มกันโรคซึ่งป้องกันการติดเชื้อ ปกติแม่วัวจะผลิตน้ำนมประมาณ 1,000 ลิตร สำหรับลูกวัว 1 ตัว แต่เมื่อมนุษย์มีความต้องการที่จะบริโภคน้ำนมเป็นอาหารจึงได้มีการจัดการเกี่ยวกับฟาร์มโคนม เลี้ยงดูให้อาหารจนปัจจุบันแม่วัวผลิตน้ำนมได้มากกว่า 6,000 ลิตร สำหรับลูกวัว 1 ตัวหรืออาจจะมากกว่า 14,000 ลิตรก็ได้
วัวสาวจะมีระบบสืบพันธุ์สมบูรณ์เมื่ออายุ 7 - 8 เดือน แต่จะยังไม่ผสมพันธุ์จนกระทั่งอายุ 15 - 18 เดือน (ก่อนอายุ 2 ปี) ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 9 เดือน (265 - 300 วัน) ดังนั้น วัวสาวคลอดลูกตัวแรกเมื่ออายุ 2 - 2.5 ปี อีก 1 - 2 เดือน ต่อมาหลังคลอดวัวก็จะถูกผสมพันธุ์อีกครั้ง หลังจากวัวตั้งท้องได้ 5 ครั้ง แล้วก็จะถูกฆ่าเป็นอาหารต่อไป"
จากข้อความดังกล่าวจะทำให้น่าคิดต่อไปว่าการกระตุ้นให้วัวผลิตนมมากขึ้นในอุตสาหกรรมนมวัว จำเป็นต้องให้ฮอร์โมนกระตุ้นเพื่อให้วัวผลิตนมมากขึ้น เพื่อให้อุตสาหกรรมอยู่ได้ไม่ขาดทุน
4.และจริงๆแล้วนม ก็ไม่ใช่อาหารหลักของคนไทยมาแต่เดิมนะครับ ลองไปถามคุณพ่อคุณแม่หรือปู่ย่าตายายดู จะพบว่าประเทศไทยเพิ่งรู้จักการบริโภคนมวัวเมื่อประมาณ 40กว่าปีมานี้เองครับ ก่อนปี 2500 ประเทศไทยยังไม่มีใครนิยมดื่นนมวัวกันเลย
ดังหลักฐานจากที่ ศ.นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว กล่าวในปฐกถาเกียรติยศ "วัฒนธรรมกินอยู่อย่างไทย ต้านภัยเศรษฐกิจ" ท่านกล่าวอีกว่า "ปีพศ. 2500 บริษัทจำหน่ายนมวัวและบริษัทน้ำอัดลมต่างก็เข้ามาในประเทศไทยทำการแจกจ่ายนมและน้ำอัดลมให้แก่เด็กนักเรียนได้รับประทานฟรี โดยไม่เสียเงินอยู่เป็นเวลา 6 เดือน แล้วเริ่มขายกันในหมู่ชน จนเป็นประเพณีใหม่ แม้ในวัดก็มีการถวายขวดน้ำอัดลมพร้อมหลอด .... ปีนั้น ไทยร่วมมือกับ USOM ตรวจหาระดับโคเลสเตอรอลทั่วทุกภาคของประเทศไทย โคเลสเตอรอลในคนไทยมีค่าเฉลี่ยเพียง 150 มก/ดล. ปัจจุบันการเปลี่ยนไปกินแบบตะวันตก ทำให้ศัลยแพทย์ต้องผ่าเอานิ่วในถุงน้ำดีออกกันทุกวัน" (เสม พริ้งพวงแก้ว, กินข้าวกล้อง ไม่ต้องกินยา กินถั่วงาปลา ไม่ต้องพึ่งพานม (วัว), ชมรมอยู่ร้อยปี-ชีวีเป็นสุข, ตุลาคม 2541.)
ในปี 2538 มีงานวิจัย "การศึกษาระดับคลอเลสเตอรอลในกลุ่มนักเรียน โรงเรียนเอกชน เชียงใหม่" ของ นพ.ประสงค์ เทียนบุญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2538 พบว่า เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง 25% ของประชากร ขณะที่เด็กโตอายุ 6-15 ปี มีคลอเลสเตอรอลสูง 70% ของประชากร (ในเด็กถือเอาตัวเลข 170 มก./ดล. เป็นเกณฑ์)
ถ้าถามว่าเด็กโตกินอะไรจึงไขมันสูง คำตอบคือกินฟาสต์ฟู้ด และดื่มนมวัว ส่วนเด็กเล็กล่ะ ไขมันเลือดสูงจากอะไร คำตอบก็คือ การดื่มนมวัวนั่นเอง ดังเราจะเห็นว่าทุกวันนี้มีหลายๆครอบครัวที่นิยมให้ลูกดื่มนมต่างน้ำ
มีข้อเตือนใจว่า เด็กๆเหล่านี้ถ้าไม่รีบลดระดับไขมันในเลือดลงภายในระยะเวลา 15 ปี ใขมันเหล่านั้นจะจับคราบอยู่ในหลอดเลือดทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัวถาวร ผลคือ เมื่อโตขึ้นก็กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ความดันเลือดสูงทันที(นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล, คู่มือละเลิกการดื่มนม เหตุผล 15 ประการ คนไทยรุ่นใหม่ ไม่ต้องดื่มนมวัว, สำนักพิมพ์รวมทรรศน์ , 2545.)
อีกหลักฐานหนึ่งที่อ้างถึงว่านมวัวไม่ใช่สิ่งที่เราบริโภคกันแต่เดิมคือ หลักฐาทางประวัติศาสตร์จากบันทึกของนพ.มัลคอล์ม สมิธ เรื่อง"หมอฝรั่งในวังสยาม" หมอสมิธเป็นแพทย์ชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเป็นหมอหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เขียนบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า "...ชาวสยามไม่ดื่มนมวัวทุกรูปแบบ การเลี้ยงปศุสัตว์ทุกรูปแบบไม่เป็นที่รู้จักกันในเอเชียตะวันออก ชาวจีน ญี่ปุ่น และอันโดจีน ไม่เคยแตะต้องนมเลย ตั้งแต่หย่านม กระนั้นก็ตาม พละกำลังและความแข็งแรงของร่างกายโดยทั่วไป ไม่ได้ด้อยกว่าพวกยุโรป" (พิมาน แจ่มจรัส, หมอฝรั่งในวังสยาม, สำนักพิมพ์รวมทรรศน์, 2542.)
หลักฐานอีกประการหนึ่งน่าจะอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ใครที่เคยเห็น "พระแสงดาบคาบค่าย" และ "พระมาลาเบี่ยง" ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็คงจะรู้สึกว่าพระวรกายของสมเด็จพระนเรศวรน่าจะแข็งแรงกำยำสักปานใด และถ้าเราได้เห็นขนาดของหอก ดาบ โล่แขนที่บรรพบุรุษได้กำมั่นในมือทั้งสอง เพื่อกอบบ้านกู้เมืองมาแต่โบราณ ก็คงได้ภาพประทับใจอย่างเดียวกันว่า แท้ที่จริงบรรพบุรุษไทย รูปร่างสูงใหญ่ กำยำแข็งแรงมาแต่ไหนแต่ไร
เราคนไทยโชคดีครับ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ประเทศของเราอุดมสมบรูณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหาร ไม่เหมือนต่างประเทศ ไม่ว่าจะอเมริกา หรือยุโรป ประเทศพวกนั้นเค้าเจริญกว่าเราก็จริง แต่เค้าค่อนข้างขาดแคลนอาหารครับ ผักสด ผลไม้สดที่นั่นจะแพงมากๆ และขาดแหล่งอาหารที่มีแคลเซียมครับ แหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูงของคนอเมริกันและยุโรปนั้นต้องพึ่งพานมวัวหรือผลิตภัณฑ์จากนมเป็นหลักครับ แต่คนไทยไม่ใช่ ดังตารางข้างล่างนี้
บันทึก #3 9 ก.ค. 2553, 14:04:07
ข้อมูลเทียบปริมาณแคลเซียมในอาหาร กับในนมวัว (มิลลิกรัม/100 กรัมของอาหาร)
จากข้อมูลด้านบนนี้จะเห็นได้ว่า คนไทยสามารถได้รับแคลเซียมจากอาหารได้หลากหลาย และไม่จำเป็นต้องพึ่งพานมวัวแต่อย่างใด แหล่งแคลเซียมในนมนั้นจัดว่ามีน้อยมาก ถ้าเทียบกับอาหารไทยอย่างอื่นครับ(ถ้าเทียบเป็นฟุตบอล แคลเซียมในนมวัว นี่ก็อยู่ท้ายตารางเหลือเกินจนแทบจะตกชั้นอยู่แล้ว) แต่ที่ทุกวันนี้แนะนำให้กินนมกันปาวๆ ก็น่าจะมาจากการลอกข้อมูลมาจากฝรั่งทั้งดุ้น เนื่องจากแถบยุโรปและอเมริกานั้น นมวัวนั้นเป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญของเค้าเลยทีเดียวครับ แต่คนไทยเราโชคดีและแต่โบราณมาเราก็ไม่เคยดื่มนมวัวมาก่อน เพิ่งดื่มกันมาไม่กี่สิบปีนี้เองครับ ยังมีข้อมูลด้านลบเกี่ยวกับนมอีกเยอะมากๆ
แล้วอย่างนี้ควรหรือไม่ที่ "รักใครให้ดื่มนม" หรือควรจะบอกว่า "รักใครไม่ดื่มนม" ดีครับ ลองไปหาหนังสือเหล่านี้มาดูได้ครับ
1. นม-มัจจุราชเงียบ
2. นม มิตรแท้หรือศัตรูสุขภาพ
3. กินข้าวกล้องไม่ต้องกินยา กินถั่วงาปลา ไม่ต้องพึ่งพานม(วัว)
4. คู่มือละเลิกการดื่มนม-เหตุผล 15 ประการที่คนไทยรุ่นใหม่ ไม่ต้องดื่มนมวัว
อันตรายจากนมวัวที่คุณคาดไม่ถึง
นายแพทย์บรรจบ นักธรรมชาติบำบัดของไทยเผยว่า...."ผม ก็เหมือนกับ แพทย์คนอื่น ๆ ที่ร่วมส่งเสริม ให้คนไทย กินเนื้อ นม ไข่ ตั้งแต่เมื่อ ๒๕ ปีที่แล้ว ที่ผมจบใหม่ ๆ นั่นเป็นสมัยที่ ประชาชนส่วนใหญ่ ขาดโปรตีน และแคลอรี แต่ทุกวันนี้ ปัญหาสุขภาพ คนไทย เปลี่ยนไป คนไทย ตายด้วยโรค หัวใจ- หลอดเลือด เป็นอันดับแรก ๓๐% ของประชากร เป็นโรคอ้วน ๕๐% ของประชากร มีไขมันเลือดสูง โรคเหล่านี้ มีสาเหตุจาก การกินล้นเกิน และกินผิดส่วน แม้แต่ปัญหาสุขภาพ ของเด็ก เด็กอายุต่ำกว่า ๖ ปี ในโรงเรียนเอกชน มีโคเลสเทอรอลสูง ๒๕% เด็กวัย ๖-๑๕ ปี มีโคเลสเทอรอลสูง ๗๐% เนื่องจากเด็กๆ ดื่มนม กินฟาสต์ฟู้ด แบบตะวันตกนั่นเอง
....."ในอีกด้านหนึ่ง เรากำลังเจอ มรสุมเศรษฐกิจ ทราบไหมว่า ทุกวันนี้ เราเสียเงินตรา ซื้อนม จากต่างประเทศ ปีละ นับหมื่นล้านบาท ถ้าเรา ละเลิก การดื่มนมได้ อาศัยอาหารพื้นบ้าน ที่ให้คุณค่า ได้พอๆ กัน ก็ช่วยชาติ ได้อีกทางหนึ่ง นี่คือประเด็นใหม่ ในวันนี้ ที่ทำให้ผม ต้องยกมือ เสนอความเห็นว่า คนไทยวันนี้ ไม่จำเป็นต้องดื่ม นม (วัว)
....."ประเด็นแรก ที่คนไทย ไม่ควรดื่มนม คือ นม เพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคอ้วน ไขมันสูง โรคหัวใจหลอดเลือด ประเด็นนี้ ใช้สามัญสำนึก ตรองดู ก็รู้ นมวัว มาจากสัตว์ จึงมีโคเลสเทอรอล และกรดไขมันอิ่มตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคอ้วน ไขมันเลือดสูง โรคหัวใจหลอดเลือด งานวิจัยของ มูลนิธิ อุตสาหกรรมนม สหรัฐฯ ก็ยืนยันเรื่องนี้
....."ประเด็นที่ ๒ นม เพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคภูมิแพ้ ลำไส้ใหญ่อักเสบ ท้องเสียเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ หอบหืด
....."นม เพิ่มความเสี่ยงต่อ กลุ่มโรคภูมิแพ้ เรื่องนี้ ยืนยันด้วย งานวิจัยมากมาย กลไกของการแพ้ เป็นได้หลายสาเหตุ เช่นแพ้แล็กโตสในนม ซึ่งคนเอเชีย ๘๐% ไม่มีน้ำย่อยตัวนี้ แพ้แบบนี้ จะแสดงด้วย อาการท้องเสีย แต่มักเป็นอยู่ไม่นาน ร่างกาย จะสร้างเอมไซม์ ออกมาเอง
....."แต่แพ้อีกกรณีหนึ่ง คือแพ้เคซีน และ Beta lactoglobulin ในนม ซึ่งจะเกิด อาการแพ้ มากน้อย ตามแต่ละบุคคล นักวิชาการบางคน อาจบอกว่า เคซีน เป็นโปรตีนธรรมดา จะถูกย่อยเป็น กรดอะมิโน ไปหมด แท้ที่จริงแล้ว โปรตีน แต่ละแห่ง ใช่จะถูกย่อย และดูดซึม ไปใช้ได้หมด ภาษา โภชนาการ มีคำว่า Net Protein Utilization เนื้อสัตว์มี NPU ๖๗% แปลว่า มีอีก ๒๓% ที่ดูดซึมไม่ได้ นมมี NPU ที่ ๘๒% แปลว่ามี ๑๘% ที่ดูดซึมไม่ได้ จะถูก แบคทีเรีย ย่อยสลาย ทำให้เกิดสาร immune complex ก่อภูมิแพ้ตัวใหม่ ๆ ขึ้น คนที่ท้องผูก อุจจาระที่แข็ง จะครูดผ่าน เยื่อบุลำไส้ ทำให้ สารประกอบโปรตีน เหล่านี้ หลุดเข้าสู่ร่างกาย ก่อให้เกิด ภูมิแพ้ ต่อไป
."ประเด็นที่ ๓ นม อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคกระดูกผุ ประเด็นนี้ เป็นเรื่องแปลกใหม่ ที่ชวนคิด เรามักคิดว่า นมเป็นแหล่งของ แคลเซียม ย่อมจะดี สำหรับป้องกัน โรคกระดูกผุ แต่แท้ที่จริง อาหาร ที่มี แคลเซียม ต่อ ฟอสฟอรัส ในอัตราส่วน ๒ : ๑ หรือมากกว่านั้น จึงจะดี เช่น นมแม่ มี แคลเซียม ต่อ ฟอสฟอรัส ๒.๓๕ : ๑ ถือว่า ดีกับทารก ส่วนนมวัว มี แคลเซียม ต่อ ฟอสฟอรัส ๑.๒๗ : ๑ ฟอสฟอรัสที่สูงเกิน จะกระตุ้นให้ พาราไทรอยด์ หลั่งฮอร์โมน ดึงแคลเซียม จากกระดูก ไปสมดุลกับ ฟอสฟอรัส นี่เป็นข้อคิด จาก นายแพทย์ แฟรงก์ ออสกี หัวหน้าฝ่าย กุมารเวช ศูนย์การแพทย์ อัพเสท มหาวิทยาลัย นิวยอร์ก
....."นอกจากนี้ ภาวะโปรตีนล้นเกิน จะก่อให้เกิด การสูญเสียแคลเซียม ออกทางปัสสาวะ ทุกวันนี้ คนไทย กินเนื้อสัตว์ ซึ่งมี ฟอสฟอรัส สูงกว่า แคลเซียม ๘-๒๐ เท่า การดื่มนม เพิ่มเข้าไปอีก ก็ยิ่ง ซ้ำเติมภาวะ สูญเสียแคลเซียม จากกระดูกได้
....."สี่ประเทศ ที่ดื่มนม มากที่สุดในโลก ได้แก่ สหรัฐฯ สวีเดน ฟินแลนด์ และ สหราชอาณาจักร กลับมีแนวโน้ม โรคกระดูกผุ สูงขึ้นทุกปี ตรงกันข้ามกับ ประเทศที่ดื่มนมน้อย เช่นใน แอฟริกา โรคกระดูกผุ กลับไม่ปรากฏ กรณีศึกษา ผู้หญิงบันดู ในแอฟริกา ซึ่งกินโปรตีน ไม่ถึงครึ่ง ของชาวอเมริกัน ทั้งสูญเสีย แคลเซียม ด้วยการ ให้นมลูก ถึง ๑๐ คน ตลอดชีวิตของเธอ แต่ปรากฏว่า โรคกระดูกผุ กลับพบน้อยมาก
....."ประเด็นต่อมา นม เพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคมะเร็ง งานวิจัย ทางระบาดวิทยา หลายชิ้น ยืนยันเรื่องนี้ เช่น นายแพทย์ไมเคิล ฮินด์ฮีด สถาบันวิจัย โภชนาการ แห่งชาติเดนมาร์ก ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ประเทศเดนมาร์ก ถูกปิดล้อม เขาเสนอให้ รัฐบาลของเขา เปลี่ยนแปลง ระบบ เกษตรกรรม จากเลี้ยงวัว มาปลูกข้าวไรย์ ข้าวสาลี ประชากร ก็ลดการ บริโภคนมลง ปรากฏว่า ช่วงสามปีจาก ค.ศ. ๑๙๑๔-๑๙๑๗ อัตราการเป็น มะเร็ง ของชาวเดนมาร์ก ลดลงถึง ๓๔ % เลยทีเดียว
....."อีกชิ้นหนึ่ง เป็นงานของ ตากาวา เขาศึกษา อาหาร ของคนญี่ปุ่น นับตั้งแต่ แพ้สงครามโลก ครั้งที่ ๒ อเมริกา เข้าไปส่งเสริมชีวิต แบบ ชาวอเมริกัน ด้วยเวลา ๒๕ ปี นับตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๕๐-๑๙๗๕ เขาพบว่า คนญี่ปุ่น ดื่มนมเพิ่มขึ้น ๑๕ เท่า กินเนื้อสัตว์ เพิ่มขึ้น ๗.๕ เท่า ลดการกิน ข้าว ลง ๗๐ % ผลก็คือ ผู้หญิงญี่ปุ่น ป่วยเป็น มะเร็งปอด เต้านม ลำไส้ใหญ่ เพิ่มขึ้นจากเดิม ๓๐๐ % กรณีเช่นนี้ กำลังเกิดขึ้นกับ คนไทยในปัจจุบัน
....."หลังสุด การประชุม ที่จัดโดย กองทุนวิจัย มะเร็งโลก (WCRF) และ สถาบัน มะเร็ง แห่งชาติสหรัฐฯ (AICR) ซึ่งรวบรวม ผลวิจัย นับพันๆ ชิ้น แล้วสรุป เมื่อปี ๑๙๙๗ นี้เองว่า มีปัจจัย เพิ่มความเสี่ยงต่อ มะเร็ง หลายอย่าง รวมทั้งนม และผลิตภัณฑ์นมเนย