วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Six thinking hats วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด 6 ใบ

Six thinking hats การจัดการความรู้, จุดประกายคิด, ทรัพยากรบุคคล ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน เป็นปรมาจารย์ทางด้านการคิดชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วโลก เขาได้ศึกษาและคิดค้นวิธีคิด (Thinking Method) เพื่อช่วยให้มนุษย์มีการคิดที่มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ และครอบคลุม รอบด้านยิ่งขึ้นเดอ โบ โน เกิดเมื่อปี ค.ศ.1935 จบการศึกษาทางด้านการแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เขามีความ สนใจเรื่องการทำงานของสมอง และใช้เวลาค้นคว้าในเรื่องทักษะการคิดมาเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี โดย เดอ โบ โน ไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดในรูปแบบเดิม ที่คนเรามักนิยมทำกันเมื่อถกเถียงหรืออธิบายหาเหตุผล (นั่นคือเอาข้อเท็จจริง อารมณ์ หรือเหตุผลส่วนตัว มาปะปนกันในการถกเถียงเพื่อหวังเป็นผู้ชนะ)เดอ โบ โน เชื่อว่าวิธีการคิด การหาเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นวิธีที่ผิดและเสียเวลา ดังนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 1970 เขาจึงเสนอวิธีคิดแบบ Six Thinking Hats หรือ การคิดแบบหมวก 6 ใบ ขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสนหมวกแห่งความคิด 6 ใบ หรือการคิด 6 ด้าน ประกอบด้วย? หมวกสีขาว หมายถึงข้อมูลข่าวสาร ? หมวกสีแดง หมายถึงอารมณ์ความรู้สึก? หมวกสีดำ หมายถึงการตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัย? หมวกสีเหลือง หมายถึงการมองในแง่ดีเต็มไปด้วยความหวัง ? หมวกสีเขียว หมายถึงการ คิดอย่างสร้างสรรค์ ? หมวกสีฟ้า หมายถึงการสามารถควบคุมความคิดทั้งหมดให้มองเห็นภาพรวมของการคิดดร.เดอ โบ โน ได้ยกตัวอย่างการนำวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ มาใช้ในการบริหารองค์กรเช่น ในการประชุมแทนที่ทุกคนจะตั้งป้อมหาเหตุผล มาหักล้างกันผู้บริหารอาจเริ่มให้ทุกคนสวม ?หมวกสีขาว? คิด ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของแต่ละคนออกมา ไม่ต้องวิเคราะห์หรือ ถกเถียงกันว่าข้อมูลของใครดีกว่ากัน ต่อมาถึงขั้นตอนการคิดแบบ ?หมวกสีแดง? ทุกคนสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกในเรื่องนั้นได้อย่าง เต็มที่ จากนั้นเป็น ?หมวกสีดำ? ขั้นตอนของการใช้เหตุผลวิพากษ์ วิเคราะห์ ตั้งข้อสงสัย ข้อควรระวัง ตามด้วย ?หมวกสีเหลือง? ซึ่งเป็นสีของความหวัง ที่ทุกคนจะหาแง่มุมด้านบวกของประเด็นนี้ (แม้คนไม่เห็นด้วยก็ต้องพยายามหาข้อดีของประเด็นนั้น) เมื่อถึงช่วง ของ ?หมวกสีเขียว? จะเป็นโอกาสที่ทุกคนต้องแสดงความคิดสร้างสรรค์ กล่าวคือหาทางออก หรือแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ลำดับสุดท้ายเมื่อทุกคนสวม ?หมวกสีฟ้า? จะเป็นการมองภาพรวมหาบทสรุป และสำรวจความคืบหน้าของการคิดหรือการอภิปราย ที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ต้นขั้นตอนการคิดแบบหมวก 6 ใบ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าต้องเริ่มคิดที่หมวกสีขาวก่อนแล้วจึงไปจบลงที่หมวกสี ฟ้า แต่สามารถใช้ความคิด แบบหมวกสีใดก่อนก็ได้ หรือคิดกลับไปกลับมายังหมวกสีใดกี่รอบก็ได้ตามต้องการ ที่สำคัญคือควรคิดให้ครบถ้วนทั้ง 6 แบบ เพื่อความ สมบูรณ์ในการคิดรอบด้านวิธีการคิดแบบหมวก 6 ใบ จะทำให้เกิดการโต้เถียงในที่ประชุมน้อยลงเพราะไม่นำความคิดหลากหลายด้านมา ปะปนกัน ทำให้ช่วยประหยัด เวลาได้มาก ดังกรณีตัวอย่างบริษัท ไอ บี เอ็ม ที่นำวิธีคิดแบบนี้มาใช้ สามารถลดเวลาในการประชุมแต่ละครั้งได้ถึง 75%ด้วยเหตุที่เป็นวิธีการที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และใช้ได้ผลดี จึงมีองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลก นำเครื่องมือการคิดดังกล่าวไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการพัฒนาองค์กร เช่น บริษัทดูปองท์ ไอบีเอ็ม บริติซแอร์เวย์ องค์การโทรศัพท์ และคมนาคมแห่งญี่ปุ่น (NTT) เป็นต้นนอกจากจะมีการนำไปใช้ในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนแล้ว หลายประเทศทั่วโลกยังได้นำการคิดแบบหมวก 6 ใบ ไปฝึกทักษะการ คิดของนักเรียนในโรงเรียนเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย อิสราเอล สวีเวน และสิงคโปร์ เป็นต้น ในบางประเทศ เช่น เวเนซูเอลา กฎหมายการศึกษาได้กำหนดให้ครูทุกคนต้องผ่านการฝึกหลักสูตรการคิดแบบหมวก 6 ใบ ก่อนจึงเข้าเป็นครูได้สำหรับประเทศไทย ได้มีเอกชนจัดตั้งศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Center) ตามแนวทางของเดอ โบโน ขึ้นโดยเปิดอบรม หลักสูตรการคิดแบบหมวก 6 ใบ ผู้ที่มาเข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ เป็นผู้บริหารหรือพนักงานขององค์การธุรกิจเอกชนที่สนใจนำทักษะการ คิดดังกล่าวไปพัฒนาตนเองและองค์การ สำหรับนำไปใช้ในโรงเรียนในประเทศไทย ยังไม่มีโรงเรียนใดนำไปรวมในหลักสูตรการเรียน การสอนโดยตรง แต่จะเป็นไปในรูปแบบที่ครูซึ่งสนใจโดยส่วนตัว นำไปทดลองใช้กับลูกศิษย์ตนในโรงเรียนหนึ่งในตัวอย่างของครูไทยที่ได้นำวิธี คิดแบบหมวก 6 ใบไปให้นักเรียนฝึกฝนความคิดตามแนวทางนี้คือ อาจารย์ชาตรี สำราญ ครูต้นแบบสาขาภาษาไทยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2541 แห่งโรงเรียนคุรุชนพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดยะลาอาจารย์ชาตรีได้ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการฝึกทักษะการคิด แบบหมวก 6 ใบ แก่เด็กนักเรียน โดยกิจกรรมง่ายที่สุดที่สามารถ นำมาใช้ได้ คือการมอบหมายให้นักเรียนอ่านข่าวหรือบทความจากหนังสือพิมพ์ แล้วนำมาร่วมกันสรุปความคิดโดยตั้งคำถามแบบหมวก 6 ใบ สมมุติว่า ตัวอย่างสถานการณ์ข่าวที่นำมาให้ร่วมวิจารณ์คือ ?ตำรวจทางหลวงจับพ่อค้ายาบ้า ขณะนำยาบ้ามาจากเชียงราย เพื่อส่งขายลูกค้าที่กรุงเทพฯ ได้ยาบ้าจำนวน 25,800 เม็ด?อาจารย์ชาตรีให้เด็กนักเรียนแต่ละคนอ่านข่าว และเขียนแสดงความคิดเห็นลงในกระดาษ หรือให้ร่วมกันอภิปรายโดยใช้การคิดแบบหมวก 6 ใบ เป็นรูปแบบการแสดงความคิดเห็นหมวกสีขาว ครูช่วยตั้งประเด็นคำถาม มุ่งหาข้อมูลจริงที่ปรากฏในข่าว ทั้งนี้ครูต้องระวังมิให้ข้อคิดเห็นของตนปนเข้าไปในคำถาม ครูอาจถามว่าข้อมูลหลักๆ ในข่าวนี้มีอะไรบ้างการคิดแบบหมวกสีขาว นักเรียนต้องตอบตามข้อมูลที่ปรากฏเช่น ?ตำรวจทางหลวงจับพ่อค้ายาบ้า? ได้ยาบ้าจำนวน 25,8700 เม็ด ? หรือ พ่อค้ายาบ้ารายใหญ่? หรือ ?ได้ยาบ้าจำนวนมหาศาล ถึง 25,800 เม็ด? จะเป็นข้อความที่เกินเลยความเป็นจริง เพราะบางข้อความ ที่ปรากฏคือ ?รายใหญ่? และ ?มหาศาล? นั้น เป็นความคิดเห็นเพิ่มเติมส่วนตัวไม่มีในเนื้อข่าว ผิดจุดประสงค์ของคิดแบบหมวกสีขาว ซึ่งครูต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงความแตกต่างดังกล่าวหมวกสีแดง นอกจากเหตุผลแล้ว ธรรมชาติของคนยังประกอบด้วยอารมณ์ ความรู้สึก กระทั่งลางสังหรณ์ที่อธิบายด้วยเหตุผลได้ยาก อาจกล่าวได้ว่าหมวกสีแดงตรงข้ามกับหมวกสีขาว ขณะที่หมวกสีขาวเสนอข้อมูลที่เป็นจริงที่เกิดขึ้น และไม่สนใจข้อมูลความจริง แต่สนใจ อารมณ์ความรู้สึกของตนที่มีต่อข้อมูลนั้นๆครูต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดง ความรู้สึกภายในออกมา เพราะอารมณ์ความรู้สึกเป็นส่วนสำคัญยิ่งของกระบวนการคิด แม้คนเรา พยายามคิดโดยปราศจากอารมณ์ หรืออคติแต่สุดท้ายทางเลือกหรือการตัดสินใจที่ได้ทักขึ้นอยู่กับอารมณ์ของคน อยู่มาก ดังนั้นจุดมุ่งหมาย ของการคิดแบบหมวกสีแดง ก็เพื่อเปิดโอกาสให้คนแต่ละคนได้เผยอารมณ์ความรู้สึกและข้อมูลเหตุผลมาปะปน กันจนเกิดความสับสน ในการคิดถึงตอนนี้นักเรียนจะแสดงความคิดในบทบาทสวมหมวกสีแดง ครูอาจถามนำนักเรียนว่า นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อข่าวที่อ่าน เมื่อเด็กสวม หมวกแสดงความคิดสีแดงเด็กอาจใส่อารมณ์พูดออกมาว่า ?พ่อค้าพวกนี้ไม่กลัวบาป? ?พ่อค้าพวกนี้ใจร้ายฆ่าคนทั้งเป็น? หรือ ?น่าจะยิงเป้าเสียให้รู้แล้วรู้รอด? เมื่อเด็กแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาแล้ว ครูจะได้สังเกตเห็นและชี้ให้เด็กมองเห็นว่านี่คืออารมณ์ที่มีอยู่ ในตัวมนุษย์ที่มักมีผลต่อกระบวนการคิดของคนเรา เมื่อเด็กรู้เท่าทันก็จะไม่นำอารมณ์ความรู้สึกไปปะปนกับข้อมูลความจริงส่วน อื่นหมวกสีดำ เป็นการพิจารณาหรือใช้วิจารณญาณ ตั้งข้อสงสัยก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อลงไป การคิดแบบหมวกสีดำเป็นการคิดที่มีเหตุมีผล สนับสนุนดำเนินไปอย่างรอบครอบ และผู้คิดตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยครูอาจตั้งคำถามนำ เช่นมีผลประโยชน์ใดแอบแฝงเบื้องหลัง การค้ายาบ้าครั้งนี้หรือไม่ เมื่อได้รับคำถามเหล่านี้ เด็กๆ จะต้องคิดหาคำตอบมาตอบปัญหา เช่น เด็กอาจตอบว่า ถึงมีข่าวการจับกุมยาบ้า อยู่เป็นประจำ แต่ยาบ้าคงแพร่ระบาดอยู่ทุกหนทุกแห่งในประเทศไทย ทั้งนี้เป็นเพราะผู้มีอิทธิพลได้รับผลประโยชน์จากการค้ายาบ้าเป็นต้นหมวกสี เหลือง เหมือนกับหมวกสีดำตรงต้องอาศัยเหตุผลมาสนับสนุนความคิด แต่ขณะที่หมวกสีดำเป็นการตั้งข้อสงสัย (เรื่องราวเป็น เช่นนั้นจริงหรือมีสิ่งใดแอบแฝงหรือไม่) หมวกสีเหลืองจะคิดถึงในแง่บวก เต็มไปด้วยความหวัง แต่ความหวังนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของ ความเป็นเหตุผลด้วย หรืออาจพูดได้ว่าการคิดแบบหมวกสีเหลือง คือการมองไปข้างหน้า ถามตนเองว่าถ้าทำสิ่งนี้แล้ว จะเกิดประโยชน์หรือ ผลดีอย่างไร ครูอาจตั้งคำถามเช่น ข่าวนี้สะท้อนปรากฎการณ์ด้านบวกอย่างไรบ้าง หรือควรทำเช่นไรเพื่อคลี่คลายสถานะการณ์การ ค้ายาบ้าในประเทศไทยเมื่อนักเรียนสวมหมวกความคิดสีเหลือง เด็กต้องหาเหตุผลด้านบวกมาแสดงเช่น ระยะนี้มีข่าวจับพ่อค้ายาบ้าได้บ่อยครั้งมากขึ้น เป็นเพราะ มีการรณรงค์ให้หลายฝ่ายร่วมมือกัน และผู้รักษากฎหมายเอาจริงเอาจังมากขึ้นในการปราบปราม ถ้าทุกฝ่ายเอาจริงเอาจังเพิ่มขึ้นอีก โดย คิดถึงประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ปัญหายาบ้าก็จะทุเลาเบาบางลงในที่สุดหมวกสีเขียว คือความคิดที่สร้างสรรค์ นำมาซึ่งทางเลือกใหม่และวิธีแก้ปัญหาใหม่ เด็กต้องตั้งข้อเสนอแนะความคิดหรือมุมมองใหม่ๆ ของตนออกมา หมวกสีเขียวต่างจากหมวกเหลืองและหมวกสีดำตรงที่ข้อเสนอแนะหรือแนวคิดแบบหมวก สีเขียวไม่ต้องมีเหตุผลที่หนักแน่น มาสนับสนุน เป็นเพียงการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นสำหรับการสำรวจตรวจสอบความเป็นไปได้ของแนวคิดนั้นต่อไป ครูอาจตั้งคำถาม เช่นอ่านข่าวเกี่ยวกับยาบ้านี้แล้ว นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางใดบ้างที่จะป้องกันไม่ให้ชุมชนของเรามีคนเสพย์และ ขายยาบ้าเด็กๆ จะร่วมกันคิดหาหนทางแก้ไข ที่แปลกแหวกแนวจากความคิดเก่าๆ ที่เคยมีผู้เสนอมา หน้าที่ครูคือต้องกระตุ้นให้เด็กกล้าแสดง ความคิดที่แปลกใหม่ เช่น เด็กๆ อาจเสนอความคิดเรื่องการรณรงค์ให้ชุมชนหรือหมู่บ้านของตนเป็นเขตปลอดยาบ้า โดยทุกบ้านต้องช่วยกันสอดส่องดูความเคลื่อนไหวของการซื้อขายยาบ้าในชุมชน อย่างจริงจัง ให้กลายเป็นชุมชน ?ปลอดยาบ้า? เพื่อเป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศ จากนั้นครูและนักเรียนจึงถกเถียงกันถึงความเป็นไปได้และวิธีการที่จะทำให้ เกิดผลต่อการ ปฏิบัติต่อไป เป็นต้นหมวกสีฟ้า เป็นหมวกคิดของการวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน หมวกสีฟ้าจะเป็นเหมือนประธานของที่ประชุมเป็นผู้บอกว่า เมื่อไรควรสวม หมวกสีใดหรือเปลี่ยนสวมหมวกสีใดหมวกสีอื่นๆ จะมุ่งคิดแบบหมวกสีฟ้า ผู้คิดจะมุ่งสังเกตกระบวนการคิดของตนโดยทั่วๆ ไป การคิดแบบหมวกสีฟ้าอาจครอบคลุม ประเด็นต่างๆ อาทิ ถึงตอนนี้เรากำลังคิดแบบใดอยู่ และคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว อะไรคือข้อสรุปที่ได้จากการทบทวนหลายรูปแบบ (หลายหมวกความคิด) และมีข้อน่าสังเกตหรือข้อท้วงติงใดบ้าง (เช่น กำลังหลงประเด็นอยู่หรือไม่ หรือใช้ความคิดแบบหมวกสีแดง มากไปหรือไม่)ครูอาจแนะนำนักเรียนให้ตั้งข้อสังเกตว่า พวกเขากำลังใช้เวลามากเกินกับการโต้เถียงในจุดใดจุดหนึ่งหรือไม่ หรือจนขณะนี้นักเรียนอภิปราย กันจนถึงแต่ทางเลือกเดียว นักเรียนควรพิจารณากันถึงทางเลือกอื่นๆ ด้วยหรือไม่ เป็นต้นการคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด 6 ใบ จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่างสร้างสรรค์ และสามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น