วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ระบบจำนวนเต็ม

จำนวนเต็มแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ  จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ และจำนวนเต็มศูนย์
   จำนวนเต็มบวก เช่น 1,2,3,4,5,6,7,8,...
   จำนวนเต็มลบ เช่น -1,-2,-3,-4,-5,-6,-7,-8,...
   จำนวนเต็มศูนย์ ได้แก่ 0

ระบบจำนวนเต็มที่จะนำมาแบ่งปันในวันนี้คือ
1. จำนวนเต็ม
2. การบวกจำนวนเต็ม
3. การลบจำนวนเต็ม
4. การคูณจำนวนเต็ม
5. การหารจำนวนเต็ม
6. สมบัติของจำนวนเต็มจำนวนเต็ม




เมื่อเราพิจารณาบนเส้นจำนวน จะเห็นว่า
จำนวนเต็มบวกหรือจำนวนนับ ได้แก่ 1 , 2 , 3 , 4 , ...
จำนวนเต็มลบ ได้แก่ -1 , -2 , -3 , -4 , ...
ศูนย์ ซึ่งไม่เป็นจำนวนเต็มบวกและจำนวนเต็มลบ

จำนวนเต็มบวก คือ จำนวนนับ ตั้งแต่ 1 และเพิ่มทีละหนึ่ง เป็นต้นไปไม่สิ้นสุด ได้แก่ 1 , 2 , 3 , 4 ,...
ดังนั้น 1 จึงเป็นจำนวนเต็มบวกที่น้อยที่สุด แต่ไม่สามารถหาจำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดได้

จำนวนเต็มลบ หมายถึง จำนวนนับ ตั้งแต่ -1 และลดลงทีละหนึ่ง เป็นต้นไปไม่สิ้นสุด ได้แก่ -1 , -2 , -3 , -4 ,... จำนวนลบที่มากที่สุดคือ -1
ศูนย์ เขียนแทนด้วย 0

การบวกจำนวนเต็ม





การบวกจำนวนเต็มชนิดเดียวกัน

หลักการ คือ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มนั้นมาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามชนิดของจำนวนที่นำมาบวกกัน

1. การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มบวก

ตัวอย่างที่ 10 + 12 = ?

ค่าสัมบูรณ์ของ 10 หรือ |10| = 10

ค่าสัมบูรณ์ของ 12 หรือ |12| = 12

ดังนั้น |10| + |12| = 10 + 12 = 22

นั่นคือ 10 + 12 = 22

2. การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ

หลักการ คือ นำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจำนวนเต็มลบ

ตัวอย่างที่ (-15) + (-20) =

ค่าสัมบูรณ์ของ -15 หรือ |-15| = 15

ค่าสัมบูรณ์ของ -20 หรือ |-20| = 20

ดังนั้น |15| + |20| = 15 + 20 = 35

แต่ผลลัพธ์ที่ได้ต้องเป็นจำนวนเต็มลบ ดังนั้น (-15) + (-20) = -35

สรุป

1. การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มบวก คือ การนำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวก

2. การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ คือ การนำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มลบ

การบวกจำนวนเต็มต่างชนิดกัน

หลักการ คือ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มทั้งสองนั้นมาลบกันและผล ลัพธ์จะเป็น จำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มาก

ตัวอย่างที่ -9 + 5 = ?

ค่าสัมบูรณ์ของ -9 หรือ |-9| = 9

ค่าสัมบูรณ์ของ 5 หรือ |5| = 5

นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าเป็นตัวตั้งแล้วลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า

จะได้ |-9| - |5| = 9 – 5= 4

ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มลบ

ตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า ดังนั้น (-9) + 5 = -4

สรุป การบวกจำนวนเต็มต่างชนิดกัน คือการนำเอาจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่าเป็นตัวตั้ง

แล้วลบส่วนที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นจำนวนเต็มบวก หรือจำนวนเต็มลบ ตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า

การลบจำนวนเต็ม

การลบจำนวนเต็มมีข้อตกลงดังนี้

ตัวตั้ง – ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ

เมื่อ a และ b แทนจำนวนเต็มใด ๆ a – b = a + จำนวนตรงข้ามของ b

หรือ a - b = a + (-b)

ถ้าเราพิจารณาผลลัพธ์ของ 5 - 3 และ 5 + ( -3 )

เราจะพบว่า 5 - 3 = 2 และ 5 + ( -3 ) = 2

นั้นคือ 5 - 3 = 5 + (-3)

แสดงว่า การลบจำนวนเต็มเราสามารถหาได้ในรูปของการบวก

ถ้าเราสังเกต 3 และ -3 เราจะเห็นว่า จำนวนดังกล่าวเป็นจำนวนตรงข้ามซึ่งกันและกัน

จึงสรุปได้ว่า

ตัวตั้ง - ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ

หมายเหตุ การเปลี่ยนรูปแบบในการลบจำนวนเต็มในรูปของการบวก

การคูณจำนวนเต็ม


1. การคูณจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มบวก

3 x 3 = ?

โดยที่ 3 x 3 หมายถึง 3 + 3 + 3 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 9

สรุป การคูณจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มบวก มีผลคูณเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น

2. การคูณจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ

การคูณจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ ผลคูณเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของจำนวนทั้งสองนั้น

3. การคูณจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มบวก

การหาผลคูณของจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มบวก ให้ใช้สมบัติการสลับที่แล้วใช้วิธีการเดียวกับการคูณจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ

ดังนั้น การคูณของจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มบวก ผลคูณจะเป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของจำนวนทั้งสองนั้น

4. การคูณจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ

การหาผลคูณของจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ ให้ใช้สมบัติการสลับที่แล้วใช้วิธีการเดียวกับการคูณจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มบวก

ดังนั้น การคูณของจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ ผลคูณจะเป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของจำนวนทั้งสองนั้น


การหารจำนวนเต็ม

เรื่อง การหารจำนวนเต็ม

เมื่อ a , b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆที่ b ไม่เท่ากับ 0

ถ้า a ÷ b = c แล้ว a = b x c และ ถ้า a = b x c แล้ว a ÷ b = c

ซึ่งในทางคณิตศาสตร์อาจเขียน a ÷ b แทนด้วย

1. การหารจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก

หลักการ การหารจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็มบวก

2. การหารจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบหรือการหารจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวก

หลักการ การหารจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบหรือการหารจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวก ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มลบ

3. การหารจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ

หลักการ การหารจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวก

สมบัติของจำนวนเต็ม

เรื่อง สมบัติของจำนวนเต็ม

สมบัติของจำนวนเต็มเกี่ยวกับการบวกและการคูณ

1.สมบัติปิด(Closure Property)

1.1 สมบัติปิดของการบวก ให้ a และ b เป็นจำนวนเป็นจำนวนเต็มใดๆแล้ว a+b เป็นจำนวนเต็ม

เช่น 5 จำนวนเต็ม

-10 เป็นจำนวนเต็ม

5+(-10)=-5 เป็นจำนวนเต็ม

1.2 สมบัติปิดการคูณ

ให้ a และ b เป็นจำนวนเป็นจำนวนเต็มใดๆแล้ว a×b เป็นจำนวนเต็ม

เช่น 5 จำนวนเต็ม

-10 เป็นจำนวนเต็ม

5× (-10)=-50 เป็นจำนวนเต็ม

2.สมบัติการสลับที่(Commutative Property)

2.1 สมบัติการสลับที่การบวก ให้ a และ b เป็นจำนวนเป็นจำนวนเต็มใดๆแล้วa+b=b+a

เช่น 12+(-5)=7 (-5)+12=7

ดังนั้น 12+(-5)= (-5)+12

2.2 สมบัติการสลับที่การคูณ

ให้ a และ b เป็นจำนวนเป็นจำนวนเต็มใดๆแล้ว a×b=b×a

เช่น 8 × (-3) =-24 (-3) × 8 =-24

ดังนั้น 8 × (-3)= (-3) × 8

3.สมบัติการเปลี่ยนหมู่(Associative Property)

3.1 สมบัติการเปลี่ยนหมู่การบวก

ให้ a,b และ c เป็นจำนวนเป็นจำนวนเต็มใดๆแล้ว (a+b)+c=a+(b+c)

นั่นคือ การบวกอาจหาผลลัพธ์จากกลุ่มใดก่อนก็ได้

เช่น [5+(-9)]+8 = (-4)+8 = 4

5+[(-9)+8] = 5+(-1) = 4

ดังนั้น [5+(-9)]+8 = 5+[(-9)+8]

3.2 สมบัติการเปลี่ยนหมู่การคูณ

ให้ a,b และ c เป็นจำนวนเป็นจำนวนเต็มใดๆแล้ว (a×b) ×c=a× (b×c)

นั่นคือ การคูณอาจหาผลลัพธ์จากกลุ่มใดก่อนก็ได้

เช่น [5×(-3)]×(-4) = (-15)×(-4)=60

5×[(-3)×(-4)] = 5×12 =60

ดังนั้น [5×(-3)]×(-4) = 5×[(-3)×(-4)]

4.เอกลักษณ์(Identity)
เอกลักษณ์การบวกในทางคณิตศาสตร์มูลฐานคือศูนย์ เขียนแทนด้วย 0 จะได้ว่า0 + 5 = 5 = 5 + 0
ดังนั้นสำหรับจำนวน n ใดๆ  0 + n = n = n + 0

5.สมบัติการแจกแจง(Distributive Property) ตัวอย่างเช่น 2 × (1 + 3) = (2 × 1) + (2 × 3) = 8

แบบฝึกหัดเรื่องระบบจำนวนเต็ม ชุดที่ 1

แบบฝึกหัดเรื่องระบบจำนวนเต็ม ชุดที่ 2
เชิญชวนเด็กๆเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
1. 25+(-5) มีค่าเท่ากับข้อใด

A. 30

B. -20

C. -30

D. 20

2. (-35) + (-28) มีค่าเท่ากับข้อใด

A. -7

B. 7

C. -63

D. 63

3. (-100) +25 + (-20) มีค่าเท่ากับข้อใด

A. -95

B. -145

C. -120

D. 95

4. -20-25-32 มีค่าเท่ากับข้อใด

A. 77

B. -37

C. -45

D. -77

5. -30+14-50 มีค่าเท่ากับข้อใด

A. -66

B. -94

C. 66

D. 94

6. (45-50)+(-5)-10 มีค่าเท่ากับข้อใด

A. -30

B. 30

C. 20

D. -20

7. 90-100 มีค่าเท่ากับข้อใด

A. -10

B. 10

C. 25

D. ถูกทุกข้อ

8. 100-200+30-40 มีค่าเท่ากับข้อใด

A. -110

B. 100

C. -200

D. -370

9. 500+500 มีค่าเท่ากับข้อใด

A. 100

B. 0

C. 1000

D. 10000

10. -200-30-50+27 มีค่าเท่ากับข้อใด

A. -253

B. -307

C. 307

D. 253

แบบฝึกหัดเรื่องระบบจำนวนเต็ม ชุดที่ 3
เชิญชวนเด็กๆเลือกคำตอบที่ถูกต้อง

1. สมบัติในข้อใด ที่ไม่สามารถนำมาใช้ในการบวกจำนวนเต็มได้

ก. สมบัติเปิด
ค. สม บัติการสลับที่
ข. สมบัติปิด 
ง. สมบัติการเปลี่ยนหมู่

2. ผลลัพธ์ของ (- 5) + (- 10) เท่ากับข้อใด

ก. 5 
ค. 15
ข. -5 
ง. -15

3. ผลลัพธ์ของ (- 3) + [(- 4) + (- 6)] เท่ากับข้อใด

ก. - 9 
ข. - 13
ค. - 10
ง. - 15


4. การเขียนการลบให้อยู่ในรูปการบวกข้อใดถูกต้อง

ก. 10 – 8 = 10 – (+ 8)                      ค. (- 5) – (- 12) = (- 5) + (- 12)

ข. 7 – 11 = 7 + (- 11)                       ง. 9 – (- 15) = 9 + (- 15)

8. กำหนดให้ ( -4) – a = -10 จงหาจำนวนเต็มที่แทนใน a แล้วทำให้ประโยคเป็นจริง

ก. a มีค่าเท่ากับ - 6                          ค. a มีค่าเท่ากับ - 14

ข. a มีค่าเท่ากับ 6                            ง. a มีค่าเท่ากับ 14

5. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้

1. 13 – (- 6) มีค่าเท่ากับ 20

2. (-3) – (- 12) มีค่าเท่ากับ 9

3. (- 5) – 10 มีค่าเท่ากับ - 15

ข้อใดถูกต้อง

ก. ข้อ 1 และ 2 ค. ข้อ 2 และ 3

ข. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1, 2 และ 3

6. [(- 2) x (-3) ] x (- 6) มีค่าเท่ากับเท่าใด

ก. -36                         ค. -86

ข. 36                          ง. 86

7. ตุ๊กตามีเงินอยู่ 5 บาท และใหม่มีเงินอยู่ 25 บาท อยากทราบว่าถ้าดอนมีเงินเป็น 2 เท่าของใหม่ดอนจะมีเงินกี่บาท

ก. 30 บาท                              ค. 125 บาท

ข. 50 บาท                              ง. 155 บาท

8. (-17) x n = 51 n มีค่าเท่ากับเท่าไร

ก. 3                                       ค. 6

ข. (- 3)                                   ง. (- 5)

9. (- 10) + (- 10) + (- 10) + (- 10) + (- 10) ถ้าเขียนให้อยู่ในรูปการคูณได้เท่ากับข้อใด

ก. 5 x (- 10)                          ค. 100 x 100 x 10

ข. 10 x 10 x 10 x 10 x 10       ง. 100 x 10 x 10 x 10

10. 108 ÷ (- 90) มีค่าเท่ากับข้อใด

ก. - 1.10                               ค. 1.10

ข. - 1.2                                 ง. 1.2

11. (- 16) ÷ b = - 4 b มีค่าเท่ากับเท่าไร

ก. 4                                      ค. 8

ข. - 4                                    ง. - 8

12. มาลีมีหุ้น 20/5 และจำปามีหุ้น -30/-5 อยากทราบว่ามาลีกับจำปาใครมีหุ้นมากกว่ากัน

ก. มาลีมีหุ้นมากกว่าจำปา

ข. จำปามีหุ้นมากกว่ามาลี

ค. มาลีกับจำปลามีหุ้นเท่ากัน

ง. มาลีมีหุ้นน้อยกว่ามาลีอยู่ 1 หุ้น

13.  จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้

1) 15 ÷ a = - 5 ดังนั้น a มีค่าเท่ากับ - 3

2) 48 ÷ 12 = b ดังนั้น b มีค่าเท่ากับ 6

3) c ÷ 9 = 9 ดังนั้น c มีค่าเท่ากับ 81

ข้อใดสรุปได้ถูกต้องที่สุด

ก. ข้อ 1 และข้อ 2                  ค. ข้อ 2 และข้อ 3

ข. ข้อ 1 และข้อ 3                  ง. ข้อ 1 , 2 และข้อ 3

แบบทดสอบชุดที่ 3
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว

1. จำนวนในข้อใดแทนจำนวนลบสิบห้า
ก. - 15                                  ข. 15
ค. - 13                                  ง. 13
2. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดไม่จริง
ก. ศูนย์เป็นจำนวนเต็ม                  ข. จำนวนเต็มลบเป็นจำนวนเต็ม
ค. จำนวนเต็มเป็นจำนวนนับ          ง. จำนวนเต็มบวกเป็นจำนวนนับ

3. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
ก. 0 เป็นจำนวนเต็มบวก               ข. 7 เป็นจำนวนนับ
ค. 0.7 เป็นจำนวนเต็มบวก            ง. -0.7 เป็นจำนวนเต็มลบ

4. จำนวนเต็มใดมีค่ามากกว่า 0
ก. - 1.5                                      ข. -1
ค. 10                                         ง. -10
5. จำนวนใดมีค่าน้อยกว่า -9
ก. -11                                        ข. -1
ค. - 8                                         ง. -7
6. จำนวนในข้อใดไม่เข้าพวก
ก. -11                                        ข. 1
ค. -8                                          ง. -21
7. ตั้งแต่ - 30 ถึง 50 มีจำนวนเต็มทั้งหมดกี่จำนวน
ก. 80                                         ข. 81
ค. 50                                         ง. 30

8. จำนวนอีกสามจำนวนที่ต่อจาก -15, -9, -3 คือจำนวนในข้อใด
ก. -21, -27, -33                          ข. 3, 9, 15
ค. 0, 6, 12                                 ง. 5, 11, 17

9. ควรใส่เครื่องหมาย > ลงในช่องว่างของข้อใด
ก. 5………..8                           ข. (-12)………(-10)
ค. (-4)……..5                           ง. 1……………(-9)

10. จำนวนในข้อใดเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก
ก. –4, -5, -8                             ข. 3, -7, 4
ค. –5, 0, 3                                ง. –4, -3, -5...

ขอบคุณที่มา/อ้างอิง : http://archive.wunjun.com/mathyorpor/10/141.html
                                https://sites.google.com/site/janjirajangmak/
                                http://www.thaigoodview.com/node/107952

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น