วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Six thinking hats วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด 6 ใบ

Six thinking hats การจัดการความรู้, จุดประกายคิด, ทรัพยากรบุคคล ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน เป็นปรมาจารย์ทางด้านการคิดชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วโลก เขาได้ศึกษาและคิดค้นวิธีคิด (Thinking Method) เพื่อช่วยให้มนุษย์มีการคิดที่มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ และครอบคลุม รอบด้านยิ่งขึ้นเดอ โบ โน เกิดเมื่อปี ค.ศ.1935 จบการศึกษาทางด้านการแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เขามีความ สนใจเรื่องการทำงานของสมอง และใช้เวลาค้นคว้าในเรื่องทักษะการคิดมาเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี โดย เดอ โบ โน ไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดในรูปแบบเดิม ที่คนเรามักนิยมทำกันเมื่อถกเถียงหรืออธิบายหาเหตุผล (นั่นคือเอาข้อเท็จจริง อารมณ์ หรือเหตุผลส่วนตัว มาปะปนกันในการถกเถียงเพื่อหวังเป็นผู้ชนะ)เดอ โบ โน เชื่อว่าวิธีการคิด การหาเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นวิธีที่ผิดและเสียเวลา ดังนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 1970 เขาจึงเสนอวิธีคิดแบบ Six Thinking Hats หรือ การคิดแบบหมวก 6 ใบ ขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสนหมวกแห่งความคิด 6 ใบ หรือการคิด 6 ด้าน ประกอบด้วย? หมวกสีขาว หมายถึงข้อมูลข่าวสาร ? หมวกสีแดง หมายถึงอารมณ์ความรู้สึก? หมวกสีดำ หมายถึงการตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัย? หมวกสีเหลือง หมายถึงการมองในแง่ดีเต็มไปด้วยความหวัง ? หมวกสีเขียว หมายถึงการ คิดอย่างสร้างสรรค์ ? หมวกสีฟ้า หมายถึงการสามารถควบคุมความคิดทั้งหมดให้มองเห็นภาพรวมของการคิดดร.เดอ โบ โน ได้ยกตัวอย่างการนำวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ มาใช้ในการบริหารองค์กรเช่น ในการประชุมแทนที่ทุกคนจะตั้งป้อมหาเหตุผล มาหักล้างกันผู้บริหารอาจเริ่มให้ทุกคนสวม ?หมวกสีขาว? คิด ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของแต่ละคนออกมา ไม่ต้องวิเคราะห์หรือ ถกเถียงกันว่าข้อมูลของใครดีกว่ากัน ต่อมาถึงขั้นตอนการคิดแบบ ?หมวกสีแดง? ทุกคนสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกในเรื่องนั้นได้อย่าง เต็มที่ จากนั้นเป็น ?หมวกสีดำ? ขั้นตอนของการใช้เหตุผลวิพากษ์ วิเคราะห์ ตั้งข้อสงสัย ข้อควรระวัง ตามด้วย ?หมวกสีเหลือง? ซึ่งเป็นสีของความหวัง ที่ทุกคนจะหาแง่มุมด้านบวกของประเด็นนี้ (แม้คนไม่เห็นด้วยก็ต้องพยายามหาข้อดีของประเด็นนั้น) เมื่อถึงช่วง ของ ?หมวกสีเขียว? จะเป็นโอกาสที่ทุกคนต้องแสดงความคิดสร้างสรรค์ กล่าวคือหาทางออก หรือแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ลำดับสุดท้ายเมื่อทุกคนสวม ?หมวกสีฟ้า? จะเป็นการมองภาพรวมหาบทสรุป และสำรวจความคืบหน้าของการคิดหรือการอภิปราย ที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ต้นขั้นตอนการคิดแบบหมวก 6 ใบ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าต้องเริ่มคิดที่หมวกสีขาวก่อนแล้วจึงไปจบลงที่หมวกสี ฟ้า แต่สามารถใช้ความคิด แบบหมวกสีใดก่อนก็ได้ หรือคิดกลับไปกลับมายังหมวกสีใดกี่รอบก็ได้ตามต้องการ ที่สำคัญคือควรคิดให้ครบถ้วนทั้ง 6 แบบ เพื่อความ สมบูรณ์ในการคิดรอบด้านวิธีการคิดแบบหมวก 6 ใบ จะทำให้เกิดการโต้เถียงในที่ประชุมน้อยลงเพราะไม่นำความคิดหลากหลายด้านมา ปะปนกัน ทำให้ช่วยประหยัด เวลาได้มาก ดังกรณีตัวอย่างบริษัท ไอ บี เอ็ม ที่นำวิธีคิดแบบนี้มาใช้ สามารถลดเวลาในการประชุมแต่ละครั้งได้ถึง 75%ด้วยเหตุที่เป็นวิธีการที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และใช้ได้ผลดี จึงมีองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลก นำเครื่องมือการคิดดังกล่าวไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการพัฒนาองค์กร เช่น บริษัทดูปองท์ ไอบีเอ็ม บริติซแอร์เวย์ องค์การโทรศัพท์ และคมนาคมแห่งญี่ปุ่น (NTT) เป็นต้นนอกจากจะมีการนำไปใช้ในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนแล้ว หลายประเทศทั่วโลกยังได้นำการคิดแบบหมวก 6 ใบ ไปฝึกทักษะการ คิดของนักเรียนในโรงเรียนเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย อิสราเอล สวีเวน และสิงคโปร์ เป็นต้น ในบางประเทศ เช่น เวเนซูเอลา กฎหมายการศึกษาได้กำหนดให้ครูทุกคนต้องผ่านการฝึกหลักสูตรการคิดแบบหมวก 6 ใบ ก่อนจึงเข้าเป็นครูได้สำหรับประเทศไทย ได้มีเอกชนจัดตั้งศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Center) ตามแนวทางของเดอ โบโน ขึ้นโดยเปิดอบรม หลักสูตรการคิดแบบหมวก 6 ใบ ผู้ที่มาเข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ เป็นผู้บริหารหรือพนักงานขององค์การธุรกิจเอกชนที่สนใจนำทักษะการ คิดดังกล่าวไปพัฒนาตนเองและองค์การ สำหรับนำไปใช้ในโรงเรียนในประเทศไทย ยังไม่มีโรงเรียนใดนำไปรวมในหลักสูตรการเรียน การสอนโดยตรง แต่จะเป็นไปในรูปแบบที่ครูซึ่งสนใจโดยส่วนตัว นำไปทดลองใช้กับลูกศิษย์ตนในโรงเรียนหนึ่งในตัวอย่างของครูไทยที่ได้นำวิธี คิดแบบหมวก 6 ใบไปให้นักเรียนฝึกฝนความคิดตามแนวทางนี้คือ อาจารย์ชาตรี สำราญ ครูต้นแบบสาขาภาษาไทยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2541 แห่งโรงเรียนคุรุชนพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดยะลาอาจารย์ชาตรีได้ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการฝึกทักษะการคิด แบบหมวก 6 ใบ แก่เด็กนักเรียน โดยกิจกรรมง่ายที่สุดที่สามารถ นำมาใช้ได้ คือการมอบหมายให้นักเรียนอ่านข่าวหรือบทความจากหนังสือพิมพ์ แล้วนำมาร่วมกันสรุปความคิดโดยตั้งคำถามแบบหมวก 6 ใบ สมมุติว่า ตัวอย่างสถานการณ์ข่าวที่นำมาให้ร่วมวิจารณ์คือ ?ตำรวจทางหลวงจับพ่อค้ายาบ้า ขณะนำยาบ้ามาจากเชียงราย เพื่อส่งขายลูกค้าที่กรุงเทพฯ ได้ยาบ้าจำนวน 25,800 เม็ด?อาจารย์ชาตรีให้เด็กนักเรียนแต่ละคนอ่านข่าว และเขียนแสดงความคิดเห็นลงในกระดาษ หรือให้ร่วมกันอภิปรายโดยใช้การคิดแบบหมวก 6 ใบ เป็นรูปแบบการแสดงความคิดเห็นหมวกสีขาว ครูช่วยตั้งประเด็นคำถาม มุ่งหาข้อมูลจริงที่ปรากฏในข่าว ทั้งนี้ครูต้องระวังมิให้ข้อคิดเห็นของตนปนเข้าไปในคำถาม ครูอาจถามว่าข้อมูลหลักๆ ในข่าวนี้มีอะไรบ้างการคิดแบบหมวกสีขาว นักเรียนต้องตอบตามข้อมูลที่ปรากฏเช่น ?ตำรวจทางหลวงจับพ่อค้ายาบ้า? ได้ยาบ้าจำนวน 25,8700 เม็ด ? หรือ พ่อค้ายาบ้ารายใหญ่? หรือ ?ได้ยาบ้าจำนวนมหาศาล ถึง 25,800 เม็ด? จะเป็นข้อความที่เกินเลยความเป็นจริง เพราะบางข้อความ ที่ปรากฏคือ ?รายใหญ่? และ ?มหาศาล? นั้น เป็นความคิดเห็นเพิ่มเติมส่วนตัวไม่มีในเนื้อข่าว ผิดจุดประสงค์ของคิดแบบหมวกสีขาว ซึ่งครูต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงความแตกต่างดังกล่าวหมวกสีแดง นอกจากเหตุผลแล้ว ธรรมชาติของคนยังประกอบด้วยอารมณ์ ความรู้สึก กระทั่งลางสังหรณ์ที่อธิบายด้วยเหตุผลได้ยาก อาจกล่าวได้ว่าหมวกสีแดงตรงข้ามกับหมวกสีขาว ขณะที่หมวกสีขาวเสนอข้อมูลที่เป็นจริงที่เกิดขึ้น และไม่สนใจข้อมูลความจริง แต่สนใจ อารมณ์ความรู้สึกของตนที่มีต่อข้อมูลนั้นๆครูต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดง ความรู้สึกภายในออกมา เพราะอารมณ์ความรู้สึกเป็นส่วนสำคัญยิ่งของกระบวนการคิด แม้คนเรา พยายามคิดโดยปราศจากอารมณ์ หรืออคติแต่สุดท้ายทางเลือกหรือการตัดสินใจที่ได้ทักขึ้นอยู่กับอารมณ์ของคน อยู่มาก ดังนั้นจุดมุ่งหมาย ของการคิดแบบหมวกสีแดง ก็เพื่อเปิดโอกาสให้คนแต่ละคนได้เผยอารมณ์ความรู้สึกและข้อมูลเหตุผลมาปะปน กันจนเกิดความสับสน ในการคิดถึงตอนนี้นักเรียนจะแสดงความคิดในบทบาทสวมหมวกสีแดง ครูอาจถามนำนักเรียนว่า นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อข่าวที่อ่าน เมื่อเด็กสวม หมวกแสดงความคิดสีแดงเด็กอาจใส่อารมณ์พูดออกมาว่า ?พ่อค้าพวกนี้ไม่กลัวบาป? ?พ่อค้าพวกนี้ใจร้ายฆ่าคนทั้งเป็น? หรือ ?น่าจะยิงเป้าเสียให้รู้แล้วรู้รอด? เมื่อเด็กแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาแล้ว ครูจะได้สังเกตเห็นและชี้ให้เด็กมองเห็นว่านี่คืออารมณ์ที่มีอยู่ ในตัวมนุษย์ที่มักมีผลต่อกระบวนการคิดของคนเรา เมื่อเด็กรู้เท่าทันก็จะไม่นำอารมณ์ความรู้สึกไปปะปนกับข้อมูลความจริงส่วน อื่นหมวกสีดำ เป็นการพิจารณาหรือใช้วิจารณญาณ ตั้งข้อสงสัยก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อลงไป การคิดแบบหมวกสีดำเป็นการคิดที่มีเหตุมีผล สนับสนุนดำเนินไปอย่างรอบครอบ และผู้คิดตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยครูอาจตั้งคำถามนำ เช่นมีผลประโยชน์ใดแอบแฝงเบื้องหลัง การค้ายาบ้าครั้งนี้หรือไม่ เมื่อได้รับคำถามเหล่านี้ เด็กๆ จะต้องคิดหาคำตอบมาตอบปัญหา เช่น เด็กอาจตอบว่า ถึงมีข่าวการจับกุมยาบ้า อยู่เป็นประจำ แต่ยาบ้าคงแพร่ระบาดอยู่ทุกหนทุกแห่งในประเทศไทย ทั้งนี้เป็นเพราะผู้มีอิทธิพลได้รับผลประโยชน์จากการค้ายาบ้าเป็นต้นหมวกสี เหลือง เหมือนกับหมวกสีดำตรงต้องอาศัยเหตุผลมาสนับสนุนความคิด แต่ขณะที่หมวกสีดำเป็นการตั้งข้อสงสัย (เรื่องราวเป็น เช่นนั้นจริงหรือมีสิ่งใดแอบแฝงหรือไม่) หมวกสีเหลืองจะคิดถึงในแง่บวก เต็มไปด้วยความหวัง แต่ความหวังนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของ ความเป็นเหตุผลด้วย หรืออาจพูดได้ว่าการคิดแบบหมวกสีเหลือง คือการมองไปข้างหน้า ถามตนเองว่าถ้าทำสิ่งนี้แล้ว จะเกิดประโยชน์หรือ ผลดีอย่างไร ครูอาจตั้งคำถามเช่น ข่าวนี้สะท้อนปรากฎการณ์ด้านบวกอย่างไรบ้าง หรือควรทำเช่นไรเพื่อคลี่คลายสถานะการณ์การ ค้ายาบ้าในประเทศไทยเมื่อนักเรียนสวมหมวกความคิดสีเหลือง เด็กต้องหาเหตุผลด้านบวกมาแสดงเช่น ระยะนี้มีข่าวจับพ่อค้ายาบ้าได้บ่อยครั้งมากขึ้น เป็นเพราะ มีการรณรงค์ให้หลายฝ่ายร่วมมือกัน และผู้รักษากฎหมายเอาจริงเอาจังมากขึ้นในการปราบปราม ถ้าทุกฝ่ายเอาจริงเอาจังเพิ่มขึ้นอีก โดย คิดถึงประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ปัญหายาบ้าก็จะทุเลาเบาบางลงในที่สุดหมวกสีเขียว คือความคิดที่สร้างสรรค์ นำมาซึ่งทางเลือกใหม่และวิธีแก้ปัญหาใหม่ เด็กต้องตั้งข้อเสนอแนะความคิดหรือมุมมองใหม่ๆ ของตนออกมา หมวกสีเขียวต่างจากหมวกเหลืองและหมวกสีดำตรงที่ข้อเสนอแนะหรือแนวคิดแบบหมวก สีเขียวไม่ต้องมีเหตุผลที่หนักแน่น มาสนับสนุน เป็นเพียงการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นสำหรับการสำรวจตรวจสอบความเป็นไปได้ของแนวคิดนั้นต่อไป ครูอาจตั้งคำถาม เช่นอ่านข่าวเกี่ยวกับยาบ้านี้แล้ว นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางใดบ้างที่จะป้องกันไม่ให้ชุมชนของเรามีคนเสพย์และ ขายยาบ้าเด็กๆ จะร่วมกันคิดหาหนทางแก้ไข ที่แปลกแหวกแนวจากความคิดเก่าๆ ที่เคยมีผู้เสนอมา หน้าที่ครูคือต้องกระตุ้นให้เด็กกล้าแสดง ความคิดที่แปลกใหม่ เช่น เด็กๆ อาจเสนอความคิดเรื่องการรณรงค์ให้ชุมชนหรือหมู่บ้านของตนเป็นเขตปลอดยาบ้า โดยทุกบ้านต้องช่วยกันสอดส่องดูความเคลื่อนไหวของการซื้อขายยาบ้าในชุมชน อย่างจริงจัง ให้กลายเป็นชุมชน ?ปลอดยาบ้า? เพื่อเป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศ จากนั้นครูและนักเรียนจึงถกเถียงกันถึงความเป็นไปได้และวิธีการที่จะทำให้ เกิดผลต่อการ ปฏิบัติต่อไป เป็นต้นหมวกสีฟ้า เป็นหมวกคิดของการวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน หมวกสีฟ้าจะเป็นเหมือนประธานของที่ประชุมเป็นผู้บอกว่า เมื่อไรควรสวม หมวกสีใดหรือเปลี่ยนสวมหมวกสีใดหมวกสีอื่นๆ จะมุ่งคิดแบบหมวกสีฟ้า ผู้คิดจะมุ่งสังเกตกระบวนการคิดของตนโดยทั่วๆ ไป การคิดแบบหมวกสีฟ้าอาจครอบคลุม ประเด็นต่างๆ อาทิ ถึงตอนนี้เรากำลังคิดแบบใดอยู่ และคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว อะไรคือข้อสรุปที่ได้จากการทบทวนหลายรูปแบบ (หลายหมวกความคิด) และมีข้อน่าสังเกตหรือข้อท้วงติงใดบ้าง (เช่น กำลังหลงประเด็นอยู่หรือไม่ หรือใช้ความคิดแบบหมวกสีแดง มากไปหรือไม่)ครูอาจแนะนำนักเรียนให้ตั้งข้อสังเกตว่า พวกเขากำลังใช้เวลามากเกินกับการโต้เถียงในจุดใดจุดหนึ่งหรือไม่ หรือจนขณะนี้นักเรียนอภิปราย กันจนถึงแต่ทางเลือกเดียว นักเรียนควรพิจารณากันถึงทางเลือกอื่นๆ ด้วยหรือไม่ เป็นต้นการคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด 6 ใบ จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่างสร้างสรรค์ และสามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเขียนรายงานทำอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร

รูปแบบของรายงาน
    ส่วนประกอบตอนต้น
    ส่วนเนื้อเรื่อง
        หน้าปกรายงาน ควรเขียนด้วยรายมือตัวบรรจง ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา
        คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้
        คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน
        สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน
        บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ
        ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ
        ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่
    อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง
    เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง

    ส่วนประกอบตอนท้าย
        บรรณานุกรม คือ รายชื่อสิ่งพิมพ์ตลอดจนวัสดุอ้างอิงทุกชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการทำรายงาน พิมพ์ไว้ ตอนท้ายสุดของรายงาน การเขียนบรรณานุกรม ต้องบอกชื่อสกุลผู้แตง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า
        ภาคผนวกหรืออภิธานศัพท์ คือ ส่วนที่นำมาเพิ่มเติมท้ายรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

กระบวนการเขียนรายงาน
รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้

ขั้นตอนการเขียนรายงาน มีดังนี้

1.    การเลือกเรื่องและตั้งชื่อเรื่อง เรื่องที่เลือกมา ศึกษา ควรเป็นเรื่องที่เสริมความรู้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง ขอบเขต ที่เลือกควรเหมาะสมกับเวลาในการค้นคว้าและการเขียนรายงาน


2.    การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง จะ ต้องมีจุดมุ่งหมายและเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เพื่ออะไร มีขอบเขตเพียงใด เช่น หากจะเขียนรายงานเรื่องพิธีมงคลโกนจุกอาจกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขต ดังนี้
          จุดมุ่งหมาย : การศึกษาประเพณีไทยโบราณ
           ขอบเขต : ความเป็นมาและงานพิธีโกนจุก

3. การเขียนโครงเรื่อง โครงเรื่อง คือ กรอบ ของเรื่องที่ใช้เป็น แนว ในการเขียนรายงานโครงเรื่องประกอบด้วย
    บทนำหรือความนำซึ้งมีหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย ควรตั้งชื่อให้กะทัดรัด ใจความครอบคลุมเนื้อหา

4. การเขียนเนื้อหา ได้จากการค้นคว้า จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจากการอ่าน การฟัง การสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ ที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ แต่ไม่ใช่การคัดลอกหรือตัดต่อ ผู้เขียนเรียบเรียงด้วยสำนวนของตนเอง สำนวนภาษาควรอ่านเข้าใจง่าย ใช้คำที่เหมาะสม ประโยคกะทัดรัด

5. บทสรุป คือสรุปผลการศึกษาค้นคว้า มีการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะ ( ถ้ามี )

6. การอ้างถึง หมายถึงการบอกให้ทราบว่าข้อความที่ใช้ในการเขียนรายงานมาจากแหล่งใด เพื่อผู้อ่านจะได้ตรวจสอบหรือติดตาม


การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษา ค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้ เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง


ขอบคุณที่มา : http://blog.eduzones.com/poonpreecha/81823

ภาคผนวก

ภาคผนวกคือ ส่วนที่เพิ่มเติมจากรายงานเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีขี้น เช่น สถิติ รูปภาพ แบบสอบถาม ฯลฯ

ที่มา : http://www.รูปแบบรายงาน.com/

ตัวอย่างบรรณานุกรม

ตัวอย่างบรรณานุกรม

ตัวอย่างบรรณานุกรม มีรูปแบบดังนี้

ตัวอย่างบรรณานุกรม
ตัวอย่างบรรณานุกรม


ที่มา : http://www.รูปแบบรายงาน.com/

ตัวอย่างหน้าปกรายงาน


ตัวอย่างหน้าปกรายงาน


ภาพตัวอย่างหน้าปกรายงาน

ที่มา : http://www.รูปแบบรายงาน.com/

การเขียนคำนำรายงาน

การเขียนคำนำรายงาน
มีวิธีการเขียน ดังนี้
การเขียนคำนำรายงานนั้นในส่วนของย่อหน้าแรกเราควรเขียนเพื่อเกริ่นเนื้อเรื่องไปก่อนโดย
ยังไม่เข้าเนื้อเรื่อง แต่ควรพยายามพูดชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ หรือพูดที่มาที่ไป ก่อน เพื่อให้
ผู้อ่านอยากติดตามต่อ
ส่วนต่อมาควรกล่าวเริ่มเข้าเนื้อเรื่องของเราว่าเราจะทำรายงานเกี่ยวกับอะไร และมี
เรื่องอะไรบ้าง หรือพูดถึงเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ก็ได้ และตอนสุดท้ายก็ปิดท้ายว่าทำเพื่ออะไร
เพื่อประโยชน์กับใคร ที่จะได้มาอ่านบทความนี้
และก็อาจกล่าวขอบคุณอาจารย์ผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายงาน และปิดท้ายด้วย
การขอรับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้รายงานดีขึ้น
ลักษณะของการเขียนคำนำรายงานที่ดี ตามหลักของ ราชบัณฑิต บอกไว้ว่า
1. เขียนด้วยคำพังเพย หรือสุภาษิตที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
2. เขียนอธิบายความหมายของเรื่อง
3. เขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
4. เขียนด้วยการเล่าเรื่อง
5. เขียนด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
6. เขียนด้วยการอธิบายชื่่อเรื่อง
7. เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
8. เขียนด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะครับ

ขอบคุณคับ
ยังไงก็ลองเอาแนวคิดและวิธีไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเขียนคำนำรายงานที่ทำนะครับ

ที่มา : http://www.รูปแบบรายงาน.com/

ตัวอย่างคำนำรายงาน

ตัวอย่างคำนำรายงาน

รายงานเล่มนี้่่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….ชั้น…เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้
ในเรื่่อง……..และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่า  รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลัง
หาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา
ณ ที่นี้ด้วย

ผู้จัดทำ
 วันที่…………….


ที่มา : http://www.รูปแบบรายงาน.com/

การเขียนรายงานที่ดี

การเขียนรายงานที่ดี

ก่อนเราจะทำรายงานทุกครั้งเราควรวางแผนการทำก่อนให้ดี ทั้ง คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป เพื่อที่เราจะได้รายงานที่ออกมาดี และควรทำดังนี้
  1. วางโครงเรื่องว่าจะเขียนเรื่องใด และเรื่องนั้น เราจะเขียนหัวข้ออะไรบ้าง
  2. ศึกษาเนื้อเรื่องที่เราจะทำรายงาน ให้เข้าใจเรื่องนั้นให้ดีก่อน
  3. สรุปเนื้อหาจะต้องกระชับได้ใจความ
  4. ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของภาษา
  5. จัดรูปแบบหน้า เว้นขอบ บน ล่าง ซ้าย ขวา  และเรียงลำดับแต่ละหน้าให้ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนรายงาน
ที่มา : http://www.รูปแบบรายงาน.com/

การเขียนรายงาน

การจัดรูปแบบการเขียนรายงาน เรียงลำดับตามนี้

  1. หน้าปก
  2. หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
  3. หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
  4. คำนำ
  5. สารบัญ
  6. เนื้อเรื่อง
  7. บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง
  8. ภาคผนวก
  9. รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
  10. หน้าปกหลัง
การจัดหน้ากระดาษ ใช้กระดาษ A4 โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้
  • ซ้าย ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ขวา ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว
  • บน ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ล่าง ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว