กระบวนทัศน์ของ “จิตศึกษา” ประกอบด้วย
1. การใช้จิตวิทยาเชิงบวก
2. การสร้างชุมชนและวิถีของชุมชน
3. การจัดกระทำผ่านกิจกรรมและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเริ่มต้นในปีแรกๆ นั้น กระบวนการจิตศึกษาในโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมเด็กให้สงบ ผ่อนคลาย และให้กลับมารู้เนื้อรู้ตัวก่อนเรียนทุกวัน
หลังจากการดำเนินกระบวนการจิตศึกษาได้หนึ่งปี พบว่า เด็กทุกคนสงบได้ง่ายขึ้น จิตใจที่สงบก็จะนำมาซึ่งการรับฟังกันได้ลึกซึ้ง เกิดการใคร่ครวญ สามารถรับรู้และเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ หรือสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
หลัง จากนั้นโรงเรียนจึงได้พัฒนากระบวนการและกิจกรรมขึ้นมาเป็นลำดับ จนปัจจุบันพบว่า เมื่อครูใช้กระบวนการจิตศึกษาเพื่อขัดเกลาเด็ก ในขณะเดียวกันนั้นครูก็ได้ขัดเกลาความฉลาดด้านในของตนเองไปด้วย "จิตศึกษา" จึงกลายเป็นส่วนสำคัญของโรงเรียนในการพัฒนาครู เพื่อยกระดับจิตวิญญาณครูให้มี "หัวใจของความเป็นครูอย่างแท้จริง"
ส่วนในตัวเด็ก กระบวนการจิตศึกษาได้ยก ระดับความฉลาดด้านจิตวิญญาณ และความฉลาดด้านอารมณ์ ให้เห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง การน้อมนำของสิ่งที่ดีงามเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมของนักเรียน ให้อยู่ในภาวะคลื่นสมองต่ำเพื่อให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้
ที่มา :http://lamplaimatpattanaschool.blogspot.com/2012/02/blog-post.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น