วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เศษส่วนและทศนิยม

เศษส่วน
เศษ คือ การแสดงจำนวนที่ต้องการ
ส่วน คือ การแสดงจำนวนที่แบ่งออกทั้งหมด
เศษส่วน คือ ส่วนหนึ่งของจำนวนทั้งหมด
เศษส่วนแบ่งได้เป็น 4 ชนิด
1. เศษส่วนแท้ คือ เศษส่วนที่มีจำนวนเศษน้อยกว่าส่วน
2. เศษส่วนเกิน คือ เศษส่วนที่มีจำนวนเศษมากกว่าหรือเท่ากับส่วน หรือ เศษส่วนที่มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับหนึ่ง
3. เศษคละ คือ เศษส่วนที่มีจำนวนเต็มและเศษส่วนแท้คละกัน
4. เศษส่วนซ้อน คือเศษส่วนที่มีจำนวนเศษ หรือจำนวนส่วนหรือทั้งสองเป็นเศษส่วน
 
การหาเศษส่วนที่มีจำนวนเท่ากัน มีหลักการดังนี้
1. การคูณตัวเศษและตัวส่วนด้วยจำนวนเดียวกัน
ตัวอย่าง 1/2  X  3/3  =  3/6  ดังนั้น  1/2  =  3/6
2. การหารเศษส่วนและตัวส่วนด้วยจำนวนเดียวกัน
ตัวอย่าง  10/25 / 5/5  =  2/5  ดังนั้น  10/5  =  2/5

การบวกและการลบเศษส่วน
1.หากตัวส่วนมีจำนวนเท่ากันแล้ว ให้นำตัวเศษบวกหรือลบกันได้เลย ตัวส่วนให้คงเดิม
ตัวอย่าง
3/2 + 1/2  =  4/2  =  2
4/5  -  1/5  =  3/5
2. หากตัวส่วนไม่เท่ากัน ให้ทำตัวส่วนให้เท่ากันก่อนแล้วจึงนำมาบวกหรือลบกัน โดยใช้หลักการหา ค.ร.น. ของตัวส่วน เมื่อส่วนเท่ากันแล้วจึงบวกลบเฉพาะตัวเศษ ตัวส่วนให้คงเดิม
ตัวอย่าง
4/5  +  1/2 
ต้องหา ค.ร.น. ของ 5 และ 2 ก่อน นั่นคือ 10
4/5  +  1/2  =  (4/5  X  1/2) + (1/2  X 5/5) 
                 =  8/10 + 5/10
                 =  13/10

ข้อสังเกต : การบวกลบตัวเศษมีหลักการเดียวกันกับการบวกลบจำนวนเต็ม ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะมีค่าติดลบ

การคูณเศษส่วน
การคูณเศษส่วนมีหลัก คือ นำตัวเศษคูณกับตัวเศษ และตัวส่วนคูณกับตัวส่วน 
(เลขจำนวนเต็มมีส่วนเป็น 1 เสมอ)
ตัวอย่าง 
3 X 3/10  =  3/1  X  3/10
               =  9/10

2/3  X  3/4  =  6/12  
                  =  1/2
การหารเศษส่วน
การหารเศษส่วนมีหลักคือ ให้เปลี่ยนเครื่องหมายหารเป็นเครื่องหมายคูณ และกลับเศษเป็นส่วน จากนั้นให้คิดแบบวิธีคูณเศษส่วน (เศษคูณเศษ ส่วนคูณส่วน)
ตัวอย่าง
2/7  หาร  3/5   =   2/7  คูณ  5/3
                      =   10/21

3/5  หาร  5/4   =  3/5  คูณ  5/4
                      =  15/20
                      =  3/4

เศษส่วนกับทศนิยม

- เศษส่วนกับทศนิยมมีความสัมพันธ์กัน เราสามารถเขียนเศษส่วน

ให้เป็นในรูปทศนิยมได้ หรือเขียนจำนวนที่อยู่ในรูปทศนิยมให้เป็นเศษส่วนได้
- จำนวนใด ๆ ก็ตาม ถ้าเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนคือ เมื่อ a และ b เป็น

จำนวนเต็มที่ b ≠ 0 เราจะเรียกจำนวนนั้นว่า จำนวนตรรกยะ(rational number)

เช่นจำนวนที่อยู่บนจุด A และจุด B ดูรูป



- เราสามารถเขียนเศษส่วนจำนวนใด ๆ ให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เช่น

เขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น 0.2

เขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น 0.32

เขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น 0.4

เขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น 3.4

เขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น เป็นต้น


@ หลักการเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปของทศนิยมสำหรับเศษส่วน

เป็นจำนวนบวก แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ

กรณีที่ 1) กรณีที่เศษส่วนนั้น ๆ มีส่วนเป็น 10,100,1000,...เช่น

1. เขียนในรูปทศนิยมเป็น 0.2

2. เขียนในรูปทศนิยมเป็น 0.02

3. เขียนในรูปทศนิยมเป็น 0.002 ได้ทันที

- จากข้อ 1. - 3. ให้พิจารณาจำนวนตำแหน่งของทศนิยม ถ้าส่วน 10

ทศนิยม 1 ตำแหน่ง ถ้าส่วน 100 ทศนิยม 2 ตำแหน่ง และถ้า

ส่วนด้วย 1000 ทศนิยม 3 ตำแหน่ง ฯลฯ

- นั้นคือจำนวนตำแหน่งของทศนิยมจะเท่ากับจำนวนเลข 0


กรณีที่ 2) กรณีที่ตัวส่วนไม่เป็นไปตามข้อ 1) คือไม่ได้ ส่วน 10

ส่วน 100 หรือส่วน 1000 ฯลฯ ให้ดำเนินการดังนี้

2.1 ให้เราหาจำนวนใด ๆ ที่มาคูณกับส่วนแล้วส่วนกลายเป็นส่วน10 ส่วน 100

หรือส่วน 1000 ให้ได้ โดยดำเนินการดังนี้คือ

2.1.1 กรณีเศษเป็นส่วนแท้

=> - เอา 2 มาคูณทั้งเศษและส่วนเพื่อไม่ให้

ค่าเปลี่ยนไปต้องคูณทั้งเศษและส่วน

=> = = = 0.75 - เอา 25 มาคูณทั้งเศษและส่วนเพื่อไม่ให้ค่าเปลี่ยนไปต้องคูณทั้งเศษและส่วน


2.1.2 ในกรณีที่เศษส่วนเป็นเศษส่วนจำนวนคละให้ดำเนินการดังตัวอย่างนี้

=> = 2+ = 2+

= 2+ = 2+0.75 = 2.75

ตอบ 2.75


=> จะสังเกตุได้ว่าจำนวนเต็มคือ 2 จะไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับเศษส่วนเลยเราจะ

เอามาบวกเข้าเมื่อดำเนินการกับเศษส่วนจบแล้วเท่านั้น


2.2 กรณีที่ไม่สามารถหาจำนวนใด ๆ มาคูณแล้วเป็นไปตามข้อ 2.1 คือทำส่วนให้

กลายเป็นส่วน10,ส่วน 100และส่วน 1000 ได้ ให้ดำเนินการเอาตัวส่วนไปหาร

เศษแบบตั้งหารดังตัวอย่างข้างล่างนี้

2.2.1 กรณีหารลงตัว





2.2.2 กรณีที่เป็นทศนิยมซ้ำ

- กรณีที่เป็นทศนิยมซ้ำ หมายถึงเราจะหารไปเรื่อย ๆ ก็จะซ้ำกัน

ไปเรื่อย ๆ อาจจะซ้ำตำแหน่งเดียว สองตำแหน่ง สามตำแหน่ง

แล้วแต่เศษส่วน ที่เราจะแปลง ซึ่งเราเรียกทศนิยมนี้ว่า ทศนิยมซ้ำ

ดังตัวอย่างเช่น

1. กรณีซ้ำสองหลักเช่น

2. กรณีซ้ำสามหลักเช่น

ฯลฯ

ตัวอย่างกรณีซ้ำหนึ่งหลัก เช่น



คำตอบคือ 0.666.... หรือเขียนแทนด้วย



- อ่านว่า ศูนย์จุดหก หก ซ้ำ


หลักการเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปของทศนิยมสำหรับเศษส่วน

เป็นจำนวนลบ

- ในกรณีที่เศษส่วนเป็นจำนวนลบ ( - ) ทศนิยมจะเป็นจำนวนลบด้วย ส่วน

วิธีการแปลงเศษส่วนเป็นทศนิยมดำเนินการเช่นเดียวกับเศษส่วนที่เป็น

จำนวนบวก ตัวอย่างเช่น

เขียนในรูปทศนิยมเป็น -0.3

= -1+ = -1+0.3 = -1.3

เขียนในรูปทศนิยมได้ = -1.3

สรุปง่าย ๆ คือ ยกเครื่องหมายลบ( - ) ออกมาแล้วดำเนินการแปลง

เหมือนกันกับจำนวนที่เป็นบวก คือเหมือน การณีที่ 1) หรือ กรณีที่ 2)

เมื่อได้คำตอบแล้วก็ติดเครื่องหมายลบเข้าไป
หลักการเขียนทศนิยมกลับมาเป็นเศษส่วน

- เราสามารถที่จะแปลงทศนิยมให้เป็นเศษส่วนได้เช่นเดียวกับการ

แปลงเศษส่วนเป็นทศนิยม เช่น

1) - 0.3 เขียนในรูปเศษส่วนได้ =

2) 0.45 เขียนในรูปเศษส่วนได้ =

3) 1.105 เขียนในรูปเศษส่วนได้ =

- จะเห็นได้ว่าทศนิยมที่แปลงกลับไปเป็นเศษส่วน ตัวส่วนจะมีเลขศูนย์ ที่ต่อท้ายเลข 1 เท่ากับจำนวนตำแหน่งของทศนิยม อย่างในข้อ 3 มีทศนิยม สามตำแหน่งตัวส่วนก็จะเป็น 1000 ลองดูต่อที่ข้อ 2

และข้อ 1 ประกอบ


ขอบคุณที่มา / อ้างอิง : หนังสือเรียนเก่งง่ายนิดเดียว 
                                 http://203.172.205.25/ftp/intranet/mc41/education/m2/m2_05/content05.1.htm



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น