วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

รักษาโรคมะเร็ง

มหาวิทยาลัยไถต้า ประเทศไต้หวัน นายแพทย์หวังเจิ่นอิ ผู้เชี่ ยวชาญด้านกระเพาะอาหารและลำไส้ได้บอกด้วยความปราถนาดีว่าให้กินผลไม้ ในช่วงที่เวลาท้องยังว่างนั่นก็คือก่อนอาหารนั่นเองและหลังอาหารให้ดื่ม เครื่องดื่มที่ร้อน เท่านี้ คนที่เป็นมะเร็งก็จะไม่ตายแล้วไม่ว่าท่านจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ซึ่งวิธีการรักษาได้ถูกค้นพบแล้ว


ศาสตราจารย์ นายแพทย์หวังเจิ่นอิ ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยไถต้าพูดต่อว่าการนำวิธีดังกล่าวมา ใช้นั้น สัมฤทธิ์ผลถึง 80% ซึ่งคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งมีโอกาสจะหาย ไม่ว่าท่านจะเชื่อ หรือไม่ก็ตาม ผมเชื่อว่าวิธีการรักษาได้ถูกค้นพบแล้ว

สำหรับผู้ที่บำบัดและรักษาด้วยวิธีที่ใช้อยู่โดยทั่วไปซึ่งสุดท้ายผู้ป่วย ต้องเสียชีวิตไปและข้าพเจ้ารู้สึกเสียดายเป็นอย่างยิ่ง หลังบำบัดมีคนไข้ไม่กี่คนที่สามารถอยู่รอดได้เกิน 5 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่รอดได้ 2-3 ปีเท่านั้น จึงถูกมองว่าการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปแล้วดูแล้วไม่น่าจะได้ผล ปกติ ผู้ป่วยไม่รับการรักษาใดใดทั้งสิ้น ผู้ป่วยก็สามารถอยู่รอดได้ถึง 2-3 ปีอยู่แล้ว การรักษาที่ใช้โดยทั่วไปนั้น คนไข้จะถูกบำบัดด้วยเคมีหรือระบบฉายแสง ซึ่งทำให้เซลที่ดีของคนไข้ พลอยได้รับพิษเข้าไปด้วย มีผลทำให้ร่างกายยิ่งอ่อนแอลง เซลจะไม่มีแรงต่อต้านอีด้วย จึงทำให้เชื้อแพร่กระจายเร็วขี้น และมีผลต่อการร่วมและการก่อกำเนิดปฎิกิริยาในด้านอื่นๆอีก

รับประทานผลไม้สด

เมื่อพูดรับประทานผลไม้สดก็จะนึกถึง ผลไม้หั่นเป็นชิ้นๆ เคี้ยวแล้วรีบกลืนลงท้อง ความจริงไม่ง่ายเช่นนั้น ถ้าต้องการกินที่ได้ผล ต้องพิถีพิถันในเวลารับประทานผลไม้ดังกล่าว อะไรคือการกินแบบถูกวิธี ? อย่ากินผลไม้หลังอาหาร ควรกินช่วงเวลาที่ท้องว่างเปล่าเท่านั้น เช่นนี้แล้ว ผลไม้ถึงจะได้บรรลุผลในการฆ่าเชื้อ และสามารถให้พลังงานแก่ร่างกาย รวมถึงลดความอ้วนได้อีกด้วยและมีผลต่อการร่วมและการก่อกำเนิดปฎิกิริยาใน ด้านอื่นๆอีก ผลไม้จึงจัดได้อาหารที่มีส่วนสำคัญต่อการดำรงชีวิต

ลองนึกภาพดู เรากินขนมปัง 2 แผ่น หลังจากนั้น กินผลไม้ 1 ชิ้น ตามหลักแล้ว ผลไม้จะผ่านผนังกระเพาะอาหารก่อนเข้าสู่ลำไส้ แต่กลับถูกกีดกันจากอาหารอื่นที่รับประทานก่อนหน้าที่จะรับประทานผลไม้ เมื่อผลไม้ที่กินเข้าไปได้ถูกผสมกับอาหารและน้ำย่อยที่เป็นกรดในกระเพาะ อาหารสรรพคุณผลไม้ก็ถูกเปลี่ยนไปด้วย

การรับประทานผลไม้ก่อนอาหาร

หลังอาหารแล้วรับประทานผลไม้ คุณคงเคยได้ยินคนบ่นว่า ทุกครั้งที่กินแตงโมก็จะสะอึก ถ้ากินทุเรียน ท้องจะจุก หากกินกล้วยหอม จะระบายอ่อนๆ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มาจากผลไม้และอาหารที่ที่เริ่มย่อยสลายผสมผสานจนเกิดแก๊สขี้น แต่ทว่า ถ้ารับประทานผลไม้ก่อนรับประทานอาหารก็จะไม่เกิดเหตุดังกล่าว ผมขาว ผมร่วงศรีษะล้าน เคร่งเตรียด นอนหลับน้อยจนขอบตาดำ เมื่อทานผลไม้ในขณะท้องว่าง ลักษณะดังกล่าวเบื้องต้น ก็จะจางหายไป

ดร. เฮ่อโป๋ ได้บอกผลวิจัยไว้ว่า เมื่อผลไม้เข้าสู่ร่างกายจะมีผลเป็นด่าง ดั่งเช่น ผลส้ม หรือมะนาวที่มีรสเปรี้ยวก็ตาม แต่ก็ล้วนเป็นอาหารที่มีความเป็นด่างนั่นเอง ประเด็นสำคัญ คือการรับประทานผลไม้ในเวลาที่ว่างเปล่า เพื่อให้ผลไม้ได้ช่วยเสริมความสวยงาม และอายุจะได้ยืนยาวนาน สุขภาพที่แข็งแรง มีพลามัยที่ดี มีความสุขและหุ่นดีอีกด้วย เมื่อคุณคิดจะดื่มน้ำผลไม้ ก็อย่าดื่มน้ำผลไม้กระป๋อง อย่านำผลไม้หรือน้ำผลไม้ไปอุ่นให้ร้อน เพราะจะเหลือเพียงรสชาติ คุณประโยชน์ที่ดีของผลไม้จะถูกทำลายสิ้น การรับประทานผลไม้ทั้งลูกย่อมดีกว่าดื่มน้ำผลไม้ แต่ถ้าต้องดื่มน้ำผลไม้ ต้องดื่มเป็นคำคำไปเพื่อให้น้ำลายได้คลุกเคล้ากันให้ทั่ว ก่อนดื่มลงไป คุณสามารถรับประทานผลไม้ 3 วัน ติดต่อกัน เพื่อชะล้างร่างกายให้สะอาด ผิวพรรณจะนวลผ่อง ผู้พบเห็นจะตื่นตาตื่นใจ

กีวี่

ผลเล็กแต่มากด้วยสรรพคุณ ประกอบด้วยสาร โปรตัสเซี่ยม แมกเนเซี่ยม วิตามินE และไฟเบอร์ มีวิตามินC เป็น 2 เท่าของผลส้ม

แอปเปิล

มีวิตามีC ต่ำ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยให้วิตามินCตื่นตัว ช่วยลดการเกิดมะเร็งในลำใส้โรคหัวใจและโรคลมชักจึงมีคำพังเพยที่ว่า “รับประทานแอบเปิลวันละผล แพทย์จะจน เพราะทุกคน สุขภาพดี”

สตรอเบอรี่

เสมือนหนึ่งเป็นผู้คุ้มกันปกป้องร่างกายเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี จึงได้รับฉายาว่า ราชาแห่งผลไม้ เพราะสารต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องมิให้เกิดมะเร็ง การแข็งตัวของเลือดที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดและสารอนุมูลอิสระ

ส้ม

รับประทานวันละ 2-4 ผล สามารถต่อต้านไข้หวัด ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันหรือสลายนิ่วในไตลดการเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำใส้

แตงโม

ประกอบด้วยน้ำถึง 95% :ซึ่งแก้กระหายได้ดี มีกลูตาไธโอนเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน มีตัวสำคัญของไลโคปีน สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน Cและโปแทสเซี่ยม

ฝรั่งและมะละกอ

มีวิตามิน C มากที่สุด ฝรั่งมีไฟเบอร์มากซึ่งแก้ท้องผูกได้ดี มะละกอ จะมีคาระตินส่งผลดีต่อดวงตา

เชื่อหรือไม่ ดื่มน้ำเย็นหลังอาหารก็จะเกิดมะเร็งได้ง่าย ดังนั้นหลังอาหารแล้วควรดื่มน้ำร้อน เพราะน้ำเย็นจะทำให้ไขมันที่กินเข้าไปแข็งตัว ซึ่งส่งผลเสียต่อการย่อย ไขที่แข็งตัว ทำปฎิกิริยากับกรดในกระเพาะ ทำให้ไขเป็นเกล็ดเล็ก ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมในลำใส้ และจะฝังในผนังของลำใส้ ก่อตัวเป็นไขมัน ก่อให้เกิดมะเร็งนั่นเอง

สุภาพสตรีต้องรู้ว่า การเป็นโรคหัวใจกำเริบมิได้เริ่มต้นมาจากอาการปวด ของไตด้านซ้ายมือ แต่กลับต้องระวังเมื่อเพดานปากล่าง มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง และการปวดหน้าอกอยู่เนืองๆ อาการที่ตามมาก็คือพะอืดพะอม เหงื่อออกมาก และ60%ของคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ มักกำเริบในช่วงเวลาที่หลับสนิท จนไม่ตื่นอีกเลย การเกิดอาการปวดเพดานล่าง
ของช่องปากจนตื่นขึ้น ต้องเอาใจใส่ และต้องยกระดับการเฝ้าระวังให้มากขึ้น หากเรามีความรู้ยิ่งมากเท่าไหร่ อัตราการมีชีวิตอยู่รอดก็มากขึ้นตาม

ขอบคุณที่มา : https://www.facebook.com/kittidet.wongmueng

วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557

การโอนหนี้กองทุนฟื้นฟู ไปใส่บัญชีแบงค์ชาติ

การโอนหนี้กองทุนฟื้นฟู ไปใส่บัญชีแบงค์ชาติ



- นสพ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 เมษายน 2557 มีการสัมภาษณ์ ดร ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าแบงค์ชาติ ท่านเปิดเผยว่าต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนัก จากภาคการเมือง 3 ครั้ง


- ครั้งที่ 1 ทางการเมืองต้องการนำเงินสำรองระหว่างประเทศ ออกไปตั้งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund)


- ครั้งที่ 2 การโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูมาไว้ที่แบงค์ชาติ


- ครั้งที่ 3 ความพยายามที่จะบีบให้แบงค์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบาย


- ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 นั้น เกิดขึ้นในช่วงที่ผมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ผมจึงขอถือโอกาสให้ข้อมูลเบื้องหลัง โดยจะพูดถึงเรื่องหนี้กองทุนฟื้นฟูก่อน


- กองทุนฟื้นฟู ก่อภาระต่องบประมาณของรัฐบาล


- หนี้กองทุนฟื้นฟู เกิดขึ้นในช่วงก่อนวิกฤตปี 2540 ในขณะนั้น ผู้ฝากเงินตื่นตระหนก จึงได้แห่ไปถอนเงินกันใหญ่ ทำให้สถาบันการเงินขาดสภาพคล่องอย่างกว้างขวาง ทั้งบริษัทเงินทุน และต่อมาปัญหาก็ลุกลามไปยังแบงค์พาณิชย์


- ธนาคารแห่งประเทศไทยตัดสินใจให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงิน เพื่อใช้จ่ายคืนผู้ฝากเงิน เป็นการประคับประคองสถานการณ์ โดยให้กู้เงินผ่านกองทุนเพื่อการฟื้นฟู


- การดำเนินการดังกล่าว ก็เพื่อช่วยเหลือผู้ฝากเงิน ให้ได้รับเงินฝากคืนโดยไม่เสียหาย เพราะในขณะนั้น ยังไม่มีระบบประกันเงินฝาก


- ต่อมารัฐบาลได้เข้าไปรับภาระหนี้ดังกล่าว แทนกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลขายให้แก่ประชาชน


- ทุกๆ ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจึงมีภาระต้องชำระดอกเบี้ยสำหรับหนี้ดังกล่าว เป็นเงินปีละหลายหมื่นล้านบาท


- การที่รัฐบาลไทย เข้าไปรับภาระจากการช่วยเหลือผู้ฝากเงินนั้น ก็เหมือนกับที่ประเทศอื่นๆ เขาทำกัน


- อย่างไรก็ดี เนื่องจากการชำระดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นภาระต่อนโยบายการคลัง จึงคาดว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา คงได้พยายามคิดเพื่อหาวิธี ที่จะลดภาระของรัฐบาลมาโดยตลอด แต่ยังหาวิธีที่เหมาะสมไม่ได้

- แนวคิดที่จะโอนหนี้กองทุนฟื้นฟู ใส่บัญชีแบงค์ชาติ

- เมื่อผมเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีคลังในเดือนสิงหาคม 2554 ผมได้พบกับ ดร. วีระพงษ์ รามางกูร ซึ่งเสนอแนวคิดให้โอนหนี้ดังกล่าว จากกระทรวงการคลัง ไปให้เป็นหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยแทน


- ผมได้ยกแนวคิดนี้หารือ ดร. ประสาร ในช่วงก่อนปลายปี 2554


- ดร. ประสารไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้ฐานะของธนาคารแห่งประเทศไทยทรุดลงอย่างหนัก จะทำให้ตัวเลขในบัญชี ขาดทุนเกินทุน (negative net worth) พุ่งขึ้นเป็นจำนวนเงินสูงกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าข่ายล้มละลาย


- สถาบันการเงินต่างประเทศ อาจจะหมดความเชื่อมั่น และอาจจะไม่ค้าขายทำธุรกิจกับธนาคารแห่งประเทศไทย


- นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าว จะมีผลทางเศรษฐกิจเท่ากับรัฐบาลบีบบังคับ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องพิมพ์เงินออกมา เพื่อแก้ปัญหานี้ ซึ่งจะทำให้ฐานะของประเทศ หมดความเชื่อถือไปด้วย


- เมื่อฟังดังนี้ ผมก็เห็นสอดคล้องกับ ดร. ประสาร


- ผมจำได้ว่าเย็นวันนั้น เมื่อกลับไปถึงบ้าน ผมได้เล่าเหตุการณ์ให้ภริยาฟัง และในการปรึกษาหารือกัน เราเห็นร่วมกัน ว่าผมจะไม่ยอม บังคับให้ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทำในสิ่งที่เป็นอันตรายแก่ประเทศอย่างเด็ดขาด

- หาทางช่วยเรื่องน้ำท่วม


- ในระหว่างนั้น ผมได้หารือกับ ดร. ประสารถึงความเป็นไปได้ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ (soft loan) เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน ที่ประสบปัญหาจากน้ำท่วมใหญ่ จะสามารถกู้เงินไปฟื้นฟูตนเองได้


- สำหรับการให้กู้ดอกเบี้ยต่ำพิเศษทำนองนี้ ในอดีตนานมาแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยดำเนินการเป็นปกติ โดยเน้นการให้กู้แก่ธุรกิจบางอย่าง ที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนเป็นพิเศษ


- ในอดีต การกระทำดังกล่าวนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถดำเนินการได้ โดยไม่มีผลต่อการบริหารนโยบายการเงินมากนัก เพราะในช่วงเวลานั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่เป็นหลัก


- แต่ภายหลัง เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยเปลี่ยนไปใช้กรอบเงินเฟ้อ การให้กู้ดอกเบี้ยต่ำพิเศษดังกล่าว อาจจะทำให้เกิดความยุ่งยาก ในการบริหารปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ


- ดังนั้น หลายปีมาแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เสนอ แก้ไขกฎหมาย ปิดช่องทางที่จะดำเนินการแบบนี้


- ผมพิจารณาแล้วเห็นว่า หากสมมุติธนาคารแห่งประเทศไทย จะเปิดให้มีการให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษอีกครั้งหนึ่ง ในด้านความยุ่งยากต่อการดำเนินนโยบายการเงินนั้น น่าจะบริหารจัดการได้ไม่ยากนัก เพราะปริมาณเงินที่จะให้กู้ เป็นจำนวนที่ไม่มากนัก


- ผลกระทบหลัก จะทำให้กำไรของธนาคารแห่งประเทศไทยลดลงเล็กน้อย


- อย่างไรก็ดี เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนั้น มีผลกระทบต่อประชาชนรายย่อยอย่างกว้างขวาง


- ภายหลังเมื่อน้ำลดลงไปแล้ว ผู้คนจำนวนมากจำเป็นจะต้องใช้เงินมหาศาล ในการซ่อมแซมบ้านและรถยนต์ รวมไปถึงกิจการขนาดย่อมและขนาดจิ๋วที่เครื่องมือหากินเสียหาย ก็จำเป็นต้องมีการใช้เงินเพื่อจัดหาใหม่หรือซ่อมแซม


- หากผู้คนเหล่านี้ ไม่สามารถกู้เงินจากระบบสถาบันการเงินได้ เขาก็ต้องไปกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้นอกระบบ ซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตราที่โหดร้าย จะทำให้ลูกหนี้จมปลักจนถอนตัวไม่ขึ้น


- ดังนั้น หากธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถเปิดโครงการดังกล่าว ก็จะเป็นการเปิดช่องให้ประชาชนกลุ่มนี้ สามารถเข้าถึงเงินทุนในระบบเพื่อนำไปแก้ปัญหาได้


- แต่จะทำได้ ต้องออกเป็นกฎหมายเฉพาะ

- นำไปสู่พระราชกำหนด

- ผมจึงได้ยกขึ้นหารือทั้ง ดร. ประสาร และ ม.ร.ว. จตุมงคล โสณกุล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย


- โชคดีที่ทั้งสองท่านเห็นคล้อยตามผม แต่ทั้งสองท่านขอตั้งเงื่อนไข ให้เขียนในกฎหมายให้ชัดเจนที่สุด ว่าเป็นการดำเนินการเฉพาะกิจ เนื่องจากเกิดสถานการณ์ที่ไม่ปกติจริงๆ เพื่อไม่ให้ทำบ่อยๆ


- นอกจากนี้ โครงการกู้ยืมดังกล่าว ควรจะกำหนดขอบเขต ช่วยเหลือเฉพาะรายย่อยเท่านั้น ซึ่งผมก็เห็นด้วยเช่นกัน


- ต่อมาในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2554 ผมได้แจ้งผลการเจรจาดังกล่าวแก่นายกยิ่งลักษณ์ ซึ่งนายกยิ่งลักษณ์ก็แสดงท่าที พอใจในนโยบายดังกล่าว ผมจึงประสานงานกับ ดร. ประสารเพื่อยกร่างพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้องเตรียมไว้


- อย่างไรก็ดี ในการยกร่างพระราชกำหนด soft loan ดังกล่าว ก็เกิดเหตุการณ์ที่ผมคาดไม่ถึง

- การสอดแทรกพระราชกำหนด

- ในวันที่ 27 ธันวาคม 2554 ก่อนหน้าการประชุมคณะรัฐมนตรีเพียงเล็กน้อย คุณอำพน กิตติอำพน ซึ่งเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มากระซิบแจ้งผมว่ามีปัญหาใหญ่เสียแล้ว


- คุณกิตติรัตน์ได้เซ็นหนังสือ เสนอเรื่องขอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติในวันนั้น ให้มีการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟู 1.14 ล้านล้านบาท จากกระทรวงการคลัง ไปให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย


- ในการเสนอเรื่องนี้ ทั้งที่เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังโดยตรง แต่คุณกิตติรัตน์กลับมิได้ปรึกษาหารือผมแม้แต่น้อย


- คุณกิตติรัตน์ได้เป็นผู้เสนอเรื่องดังกล่าวด้วยตนเองเอง โดยอาศัยตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงการคลัง


- แต่วิธีการเสนอเรื่องนั้น ก็ทำเป็นหนังสือสั้นๆ ใช้กระดาษเพียงสองแผ่น


- กระดาษสองแผ่นดังกล่าว ไม่มีการแสดงเหตุผลทางวิชาการ หรือผลกระทบต่อธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศแต่อย่างใด


- ในหนังสือดังกล่าว อ้างความเห็นจากการประชุมของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้าง อนาคตประเทศไทย (กยอ.) ซึ่ง ดร. วีระพงษ์เป็นประธาน และกล่าวว่า กยอ. ได้ลงมติให้เสนอเรื่องนี้แก่คณะรัฐมนตรี


- การอ้างอิง กยอ. นั้น ทำให้ผมเองงง เพราะผมเองก็มีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งใน กยอ. ดังกล่าว แต่ตัวผมไม่เคยได้รับแจ้ง ให้ไปร่วมประชุม กยอ. เพื่อพิจารณามติดังกล่าวแม้แต่น้อย และไม่ทราบว่ามีการประชุมที่กล่าวอ้างตั้งแต่เมื่อใด

- ถึงจุดที่ต้องแยกกันเดิน

- ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี คุณกิตติรัตน์ได้เดินข้ามโต๊ะมาหาผม แล้วคุยผมว่า ในการพูดคุยกับผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุม ขอให้ผมแสดงความเห็น ในลักษณะที่สอดคล้องกับเขา


- ผมก็แจ้งคุณกิตติรัตน์ไปว่า เรื่องการที่จะโอนหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไปไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ผมได้หารือกับ ดร. ประสารแล้ว เราทั้งสองเห็นพ้องกัน ว่าไม่สมควรดำเนินการ เพราะจะเป็นอันตรายต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และต่อประเทศ


- ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อถึงระเบียบวาระนี้ คุณกิตติรัตน์นำเสนอเรื่องด้วยตนเอง


- คุณกิตติรัตน์ได้อ้างว่า ในอดีตปี 2540 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะอ่อน รัฐบาลในขณะนั้นจึงไม่มีทางเลือก รัฐบาลต้องเข้าไปแบกรับหนี้ดังกล่าวไว้


- แต่บัดนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะแข็งแกร่งแล้ว รัฐบาลจึงควรจะโอนหนี้ดังกล่าวไปให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย


- อย่างไรก็ดี ในฐานะที่ผมยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผมไม่สามารถปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไปได้


- ผมจึงแจ้งคณะรัฐมนตรี ว่าข้อเสนอดังกล่าวมีปัญหามาก และมีประเด็นที่จำเป็นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะที่ผ่านมาผมได้เคยหารือกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ผู้ว่าการไม่เห็นด้วย คณะรัฐมนตรีจึงยังไม่สมควรอนุมัติเรื่องนี้


- แต่นายกรัฐมนตรีควรจะมอบหมาย ให้คุณกิตติรัตน์ไปนัดหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเคลียร์ประเด็นปัญหาต่างๆ ให้หมดสิ้นไปเสียก่อน


- เนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยประเพณีจะใช้มติเอกฉันท์เสมอ ดังนั้น เมื่อผมยืนยันเช่นนั้น นายกยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีทางเลือก และได้ขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่ผมเสนอ


- ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีดังกล่าว คุณกิตติรัตน์ได้แถลงแก่ผู้สื่อข่าว ว่าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ


- ในทางกลับกัน ผมแถลงแก่ผู้สื่อข่าวที่กระทรวงการคลัง ว่าคณะรัฐมนตรียังไม่อนุมัติ แต่ได้มอบให้คุณกิตติรัตน์ไปหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน


- เรื่องนี้ทำให้สื่อมวลชนตระหนัก ว่ามีความขัดแย้งระหว่างเราทั้งสองอย่างหนัก จากนี้จะแยกกันเดินเสียแล้ว

- ผลักภาระให้แบงค์

- ในสัปดาห์ต่อมา คุณกิตติรัตน์ได้จัดประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ


- เนื่องจากผมได้ทำใจไว้แล้ว ว่าจะไม่ยึดติดกับตำแหน่ง ผมจึงผนึกกำลังกับ ดร. ประสาร ยืนยันต่อที่ประชุมอย่างหนักแน่น ว่าการโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไปให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ทำไม่ได้ เพราะจะทำให้ประเทศได้รับความเสียหายอย่างหนัก


- ที่ประชุมถึงทางตัน และพยายามหาทางออกต่างๆ โดยเลขาธิการกฤษฎีกาได้พยายามช่วย โดยคิดหาวิธีพลิกแพลงทางกฎหมาย ว่าทำอย่างไร จึงจะไม่ต้องนับหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นหนี้สาธารณะ ซึ่งผมแจ้งว่ากระทำไม่ได้อีกเช่นกัน


- โชคดีที่ในวันนั้น ผมได้แว่บนึกถึงแนวคิดของ ประธานาธิบดีโอบามา ที่เพิ่งจะออกกฎหมาย เพื่อให้อำนาจรัฐบาล โอนภาระการอุ้มชูระบบสถาบันการเงินช่วงวิกฤต ไปให้แก่สถาบันการเงินที่เหลืออยู่


- ผมจึงได้เสนอที่ประชุม ว่าแทนที่จะผลักภาระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไปให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ควรกำหนดให้สถาบันการเงินที่เหลืออยู่ทั้งระบบ เป็นผู้เข้ามารับภาระดังกล่าวแทน โดยวิธีเก็บเบี้ยรายปีจากสถาบันการเงิน ตามขนาดเล็กใหญ่


- แนวคิดนี้ถือได้ว่าเป็นธรรม เพราะสถาบันการเงินที่ยังดำรงอยู่ได้ในขณะนี้ ก็เนื่องจากทางการเข้าไปรับภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ไว้ในอดีต


- สถาบันการเงินในปัจจุบัน จึงเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าวโดยตรง และสมควรเป็นผู้ที่เข้ามาร่วมรับภาระ นอกจากนี้ ในหลายปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินในไทยก็มีกำไรมากทุกปี


- ที่ประชุมพิจารณาแล้ว ไม่เห็นทางออกวิธีอื่น จึงได้มีมติเห็นด้วยตามข้อเสนอของผม และมอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกายกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป


- แนวทางที่ผลักภาระการแก้ปัญหาระบบในอดีต ไปให้แก่สถาบันการเงินที่เหลืออยู่ในปัจจุบันนั้น ผมได้ความคิดนี้ มาจากกฎหมายที่เพิ่งออกใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงก่อนหน้านั้นไม่นาน โดยประธานาธิบดีบาแรค โอมามา


- โอบามาเล็งเห็นว่า การที่รัฐบาลใช้เงินของผู้เสียภาษีทุกคนทั้งประเทศ ไปในการแก่ปัญหาระบบสถาบันการเงินนั้นไม่เป็นธรรม จึงได้ออกกฎหมาย เพื่อผลักภาระนี้ให้แก่สถาบันการเงิน เพื่อจะผลักต่อไป ให้แก่ลูกค้าอีกทอดหนึ่ง


- พูดภาษาง่ายๆ เงินแก้ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงิน ต้องมาจากกระเป๋าของผู้ฝากเงิน ลูกหนี้ และผู้ใช้บริการอื่นๆ ซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง ไม่ใช่เอาจากกระเป๋าของประชาชนทั้งประเทศ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นลูกค้าแบงค์หรือไม่


- ปรากฏว่า ภายหลังจากที่มีการประกาศแนวทางนี้ต่อสาธารณะไปแล้ว ผมได้เจอกับคุณกรณ์ จาติกวณิช ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อนหน้าผม


- คุณกรณ์เองก็แจ้งผม ว่าเขาชอบใจแนวคิดนี้ด้วย
 

- สี่พระราชกำหนด

- ในสัปดาห์ถัดมา คณะรัฐมนตรีมีการประชุมในวันที่ 4 มกราคม 2555


- คุณกิตติรัตน์ได้ให้สำนักงานกฤษฎีกายกร่างพระราชกำหนดรวม 4 ฉบับ ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องการบริหารจัดการหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และเรื่องธนาคารแห่งประเทศไทยให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำพิเศษไว้ด้วย


- แต่ก็ยังมีข้อยุ่งยากอีกข้อหนึ่ง


- ในร่างพระราชกำหนดเกี่ยวกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้น มีมาตรา 7 (3) ซึ่งกำหนดให้คณะรัฐมนตรี มีอำนาจที่จะสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทย โอนเงิน หรือโอนสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อไปเข้าบัญชีที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น สำหรับการแก้ปัญหาหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู


- ร่างดังกล่าวจึงเป็นการให้อำนาจแก่รัฐบาล แบบตีเช็คเปล่า


- บ่ายวันนั้น ผมได้ข้อมูลว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทย ก็มีข้อกังวลมาตรานี้ด้วย


- ในวันถัดมา วันที่ 5 มกราคม 2555 มีการประชุมคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีคุณกิตติรัตน์เป็นประธานที่ประชุม ผมแจ้งที่ประชุมว่า ไม่สมควรมีข้อกำหนดเช่นนี้


- คุณกิตติรัตน์แสดงอารมณ์เสีย และโต้แย้งยืนยันให้คงถ้อยคำในมาตรา 7 (3) ไว้ดังเดิม โดยอ้างว่าประชาชนควรจะให้เกียรติคณะรัฐมนตรีบ้าง ประชาชนควรจะเชื่อว่าคณะรัฐมนตรีจะต้องใช้ดุลพินิจอย่างถูกต้อง


- ในการประชุมดังกล่าว ปรากฏว่าคุณกิตติรัตน์ มิได้นัดผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมาร่วมด้วย ผมคาดว่า เนื่องจากคุณกิตติรัตน์คงไม่ต้องการเปิดช่อง ให้ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ามาต่อรองถ้อยคำในร่างพระราชกำหนด ผมจึงเป็นเสียงเดียวที่ถกเถียงประเด็นนี้


- แต่ผมยืนยันหนักแน่น ว่าถ้าไม่แก้ไข ผมก็จะคัดค้านในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี


- จึงเป็นการทิ้งไพ่ใบเด็ด เพราะเรื่องที่จะผ่านคณะรัฐมนตรีได้นั้น จะต้องเห็นชอบแบบเอกฉันท์ โดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน


- ต่อมา คุณกิตติรัตน์ได้ยินยอมให้มีการแก้ไขมาตรา 7 (3)


- ดร. ประสารพูดใน นสพ กรุงเทพธุรกิจดังกล่าว ว่าคุณกิตติรัตน์ได้ไปพบ เพื่อพยายามชักจูงให้ ดร. ประสารยอมรับร่างมาตรา 7 (3) ที่ให้อำนาจคณะรัฐมนตรี แต่ ดร. ประสารไม่เห็นด้วย


- ผมไม่ทราบว่าคุณกิตติรัตน์ไปนัดคุยกับ ดร. ประสาร ก่อนหรือหลังวันที่ 5 มกราคม 2555


- ต่อมาในสัปดาห์ถัดไป ก็มีการเสนอร่างพระราชกำหนด 4 ฉบับต่อคณะรัฐมนตรี


- เนื่องจากได้มีการแก้ไขในประเด็นนี้อย่างเรียบร้อย ผมจึงให้ความเห็นชอบ


- หลังจากนั้น ผมก็ถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรีในวันที่ 18 มกราคม 2555

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย

สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย
อดเปรี้ยวกินหวาน - ให้ละทิ้งสิ่งที่ไม่ดีนั้นเสีย เพื่อรับเอาสิ่งที่ดีเข้าไว้ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาอดใจรออยู่นาน
อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น - เมื่ออาศัยอยู่บ้านใคร ก็อย่าอยู่เปล่า ควรช่วยทำงานทำการให้เป็นประโยชน์ต่อเขาบ้าง
อัฐยายซื้อขนมยาย - การได้รับประโยชน์หรือได้รับทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่ง แล้วเอาทรัพย์นั้นมาใช้กับผู้นั้นต่อ
เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ - อาศัยความคิดหรือแรงของคนอื่นมาทำงานให้ตน
เอาใจเขามาใส่ใจเรา - สำนวนนี้ มุ่งให้คำนึงว่า ควรจะมีความเห็นใจซึ่งกันและกัน หรือนึกถึงอกเขาอกเราบ้าง ว่าตัวเราจะรู้สึกอย่างไร ถ้าเขาทำอย่างนั้นกับเรา
เอาทองไปรู้กระเบื้อง - ลดตัวเองลงไปต่อสู้กับคนที่ต่ำศักดิ์กว่า โดยไม่คู่ควรกัน
อ้อยเข้าปากช้าง - สิ่งที่หลุดลอยไปเป็นของคนอื่นแล้ว ก็ย่อมจะสูญหรือไม่มีทางจะได้คืนมาง่าย ๆ
อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ - รู้เท่าทันคำพูดที่พูดออกมา
อาบน้ำต่างเหงื่อ - ทำงานหนัก
อาบน้ำร้อนมาก่อน - เกิดก่อนจึงได้รู้เห็นสิ่งต่างๆมามากกว่า
หมากัดอย่ากัดหมา - คนชั่ว คนชั้นต่ำ หรือพวกอันธพาลคิดร้ายหรือประทุษร้ายเราอย่างใดอย่าทำตอบ แต่ควรหลีกเลี่ยงไปเสีย.
หมาเห่าใบตองแห้ง - คนที่ชอบเอะอะโวยวายเป็นที่อวดตัวว่า ตนเก่งกล้า แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นคนขี้ขลาด
หมูจะหาม เอาคานเข้ามาสอด - การที่เข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ หรือกิจการของคนอื่นที่เขากำลังจะสำเร็จอยู่แล้ว
หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว - การทำประชดหรือทำแดกดันที่กลับเป็นผลร้ายแก่ตนเอง
เห็นกงจักรเป็นดอกบัว - เห็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นดี หรือเห็นผิดเป็นชอบ
เห็นขี้ดีกว่าไส้ - เห็นคนอื่นดีกว่าญาติพี่น้องของตน
หว่านพืชหวังผล - การลงทุนทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็ย่อมจะต้องหวังผลประโยชน์ตอบแทน
เหยียบเรือสองแคม - คนที่ทำอะไรไม่ซื่อตรง และเป็นคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
เหยียบเต่าเต็มตีน - ทำอะไรให้มั่นคงอย่าให้เกิดมีข้อผิดพลาดถึงเสียงานเสียการได้
หาเหาใส่หัว - หาความลำบากมาใส่ตัวเองหรือเอาเรื่องของคนอื่นมาเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตัวเอง
สอนจระเข้ว่ายน้ำ - การชี้ทางหรือสอนให้คนที่เป็นอยู่แล้วให้เก่งหรือชำนาญขึ้นไปอีก แต่มักมุ่งหมายโดยเฉพาะถึงการสอน หรือแนะนำคนชั่วประพฤติไม่ดีส่วนมาก.
สอนหนังสือสังฆราช - การสอนผู้ที่มีความรู้ดีเป็นเยี่ยมอยู่แล้ว โดยที่ไม่รู้ว่าคนผู้นั้นรู้หรือชำนาญดีกว่าตนเสียอีก
สัญชาติสุนัข อดขี้ไม่ได้ - คนที่ประพฤติชั่ว ถึงจะเอามาอบรมเลี้ยงดูดีอย่างไร ก็อดประพฤติเช่นเดิมไม่ได้
สมภารกินไก่วัด - เป็นสำนวนเปรียบเทียบที่มุ่งหมายโดยเฉพาะ ถึงผู้ชายที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาที่มีหน้าที่ปกครองดูแลหญิงสาวหลาย ๆ คนภายในบ้านหรือภายในวงงาน แล้วก็ถือโอกาสเกี้ยวพาเอาหญิงสาวเหล่านั้น
สร้างวิมานในอากาศ - การสร้างความฝันว่าตนเองจะต้องได้เป็นใหญ่หรือ มีเงินทองมั่งมีขึ้นแล้วจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้สมกับที่มีเงิน โดยที่ความใฝ่ฝันนั้นยังไม่แน่ว่าจะได้รับสมจริงหรือเปล่า
สาดน้ำรดกัน - การทะเลาะทุ่มเถียงด่าทอโต้ตอบกันไปมา
สาวไส้ให้กากิน - การที่เอาความลับหรือเรื่องไม่ดีของตนเองหรือของพี่น้องของตนไปเปิดเผยให้คนอื่นฟัง โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรแก่ตนเองเลย.
สิบเบี้ยใกล้มือ - อะไรที่ควรจะได้และอยู่ใกล้หรือเป็นสิ่งที่คว้าได้ง่าย ก็ควรจะคว้าไว้ก่อนดีกว่าที่จะมองข้ามไป
วัวแก่กินหญ้าอ่อน - ชายแก่ที่มีภรรยาสาวคราวลูกคราวหลาน
วัวเคยขา ม้าเคยขี่ - ชายหญิงที่เคยมีสัมพันธ์กันมา ย่อมรู้จิตใจกันดีอยู่แล้ว.
วัวไม่กินหญ้าอย่าขมเขา - อย่าบังคับหรืออย่าฝืนให้เขาทำอะไรในสิ่งที่เขาไม่สมัครใจ.
วัวสันหลังขาด - คนที่มีอะไรพิรุธหรือมีการกระทำไปแล้ว ในทำนองไม่สู่ดี
วัวหายล้อมคอก - เมื่อเกิดเรื่องเกิดราวถึงขั้นเสียหายขึ้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาคิดแก้ภายหลัง
วัวลืมตีน - สำนวนนี้ ใช้เป็นความหมายเปรียบเทียบถึงคนที่ไม่เจียมตัว หรือมีศักดิ์ต่ำแต่คิดเห่อเหิมจะทำตัวให้เทียมหน้าเขา
วัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน - คนที่ตะกละตะกลาม หรือเห็นแก่กินอย่างเดียว มักมุ่งหมายถึงคนชั้นต่ำที่ทำอะไรเห็นแต่ได้เกินไป.
ไว้ใจทาง วางใจคน จนใจเอง - อย่าไว้ใจทั้งในเรื่องหนทาง หรือการเดินทางและในเรื่องจิตใจของคนอื่น ๆ ให้มากนัก
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง - ว่าหรือสั่งสอนคนอื่นไม่ให้ทำ แต่กลับทำเอง
เล็กพริกขี้หนู - เล็กแต่มีความสามารถ
ล้วงคองูเห่า - คนที่ทำอะไรองอาจล่วงล้ำ หรือกล้าเข้าไปทำอะไรแก่ผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า
ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก - คนที่ดีแต่พูดแต่จะให้ทำจริง ๆ กลับทำไม่ได้
เลือดขึ้นหน้า - โมโห
ลิงหลอกเจ้า - คนที่ต่อหน้าผู้ใหญ่ก็ทำตัวเรียบร้อย แต่ลับหลังซนเป็นลิงเป็นค่าง
ลางเนื้อชอบลางยา - แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน
เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง - ผู้ที่ทำหน้าที่อะไรก็ตามแต่แล้วพลอยได้มีส่วนผลประโยชน์จากหน้าที่ ที่ตนทำอยู่นั้น โดยไม่บริสุทธิ์นัก หรือไปในทำนองที่ไม่ชอบธรรม
ลงเรือแปะ ตามใจแปะ - เมื่อไปอยู่กับใคร หรือไปอาศัยอยู่บ้านใคร ก็ต้องเกรงใจหรือยอมทำตามเขา
รวบหัวรวบหาง - รวบรัดให้สั้น ฉวยโอกาสเมื่อมีช่องทาง
รอดปากเหยี่ยวปากกา - รอดพ้นจากอันตรายมาได้
รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี - จะเลี้ยงดูลูกให้ดีต้องดูแลใกล้ชิด ไม่ปล่อยปละละเลย
รักพี่เสียดายน้อง - ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี
เรือล่มในหนองทองจะไปไหน - คนในเครือญาติแต่งงานกัน ทำให้ทรัพย์มรดกไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น
เรือล่มเมื่อจอด - มีอุปสรรคเมื่อใกล้จะสำเร็จหรือเสียคนเมื่อแก่
รีดเลือดกับปู - เคี่ยวเข็ญหรือบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีทางจะให้
รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง - ตนเองทำไม่ถูกไม่ดี แต่กลับไปซัดโทษเอาผู้ร่วมงานหรือผู้อื่น
ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ - คนสองคนที่ต่างก็มีอำนาจ หรืออิทธิพลยิ่งใหญ่เท่ากัน ย่อมจะอยู่ร่วมกันไม่ได้
รู้หลบเป็นปลีก รู้หลีกเป็นห่าง - การรู้จักหลบหลีกเอาตัวรอดจากภัยต่าง ๆ ไปได้
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก - กลับกลอกจนคนอื่นจับไม่ได้
มะนาวไม่มีน้ำ - พูดเสียงแข็งกระด้างอย่างไม่มีน้ำใจไมตรี
มัดมือชก - ใช้วิธีบังคับให้จำยอม
มาเหนือเมฆ - ใช้วิธีการที่เหนือผู้อื่น
ม้าดีดกะโหลก - มีกิริยาท่าทางกระโดกกระเดกลุกลนไม่เรียบร้อย
เมื่อพีเนื้อหอม เมื่อผอมเนื้อเหม็น - เวลารวยคนเข้ามาห้อมล้อมประจบประแจง เวลาจน คนพากันตีตัวออกห่าง
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ - ไม่ช่วยทำงานแล้วยังกีดขวาง ทำให้งานไม่ก้าวหน้า
ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน - ไม่รู้พื้นเพ ความเป็นมา
ไม่ดูดำดูดี - เลิกเกี่ยวข้องด้วย
มากหน้าหลายตา - มากมาย
ปล่อยเนื้อปล่อยตัว - ไม่สนใจจะแต่งตัว หรือไม่สงวนตัว
ปล่อยเสือเข้าป่า - ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลัง
ปลาข้องเดียวกัน - คนที่อยู่ร่วมกัน หากมีคนหนึ่งทำไม่ดี ก็พลอยให้คนอื่นเสียไปด้วย
ปลาตายน้ำตื้น - คนที่ทำพลาดเพราะเหตุเล็กน้อย
ปลาหมอตายเพราะปาก - คนที่พูดพล่อยจนเป็นอันตรายแก่ตนเอง
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก - คนที่มีอำนาจหรือมีกำลัง เอาเปรียบผู้อ่อนแอกว่า
ปากบอน - คนที่ชอบพูดฟ้องเรื่องคนอื่น
ปอกกล้วยเข้าปาก - ทำได้ง่ายหรือสะดวก
ปั้นน้ำเป็นตัว - โกหก สร้างเรื่องขึ้นมาโดยไม่มีมูลความจริง
ปากว่าตาขยิบ - พูดว่าไม่ดีแต่กลับสนับสนุนหรือทำสิ่งที่ว่าไม่ดีนั้น
น้ำขึ้นให้รีบตัก - มีโอกาสดีควรรีบทำ
น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง - พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย
น้ำท่วมปาก - พูดไม่ได้เพราะความจำเป็นบังคับ
น้ำน้อยแพ้ไฟ - ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก
น้ำผึ้งหยดเดียว - สิ่งเล็กน้อยก็ทำให้เกิดเรื่องใหญ่ได้
น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า - คนเราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน
นิ้วไหนร้ายตัดนิ้วนั้น - คนใดไม่ดีก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ
เนื้อเต่ายำเต่า - การเอาทรัพย์สินส่วนตัวที่เป็นกำไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม
นกน้อยทำรังแต่พอตัว - การจะทำสิ่งใดควรทำแต่พอสมฐานะของตนเอง
น้ำลดต่อผุด - เมื่อหมดอำนาจความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ
ตกนรกทั้งเป็น - ลำบากแสนสาหัส
ตักน้ำรดหัวตอ - แนะนำพร่ำสอนเท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล
ตกเป็นเบี้ยล่าง - ตกเป็นรอง
ตบตา - ลวงให้เข้าใจผิด
ตบหัวลูบหลัง - ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใน ในตอนแรก แล้วปลอบใจตอนหลัง
ต่อปาก ต่อคำ - เถียงกันไม่จบสิ้น
ต้นร้าย ปลายดี - ตอนแรกไม่ดี ไปดีเอาตอนหลัง
ตัวเป็นเกลียว - ขยันทำงาน
ตาร้อน - อิจฉาริษยา
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ - ใช้จ่ายทรัพย์มากมายโดยไร้ประโยชน์
ดอกพิกุลร่วง - ตัวอย่าง" ครูถามอะไรก็ไม่ตอบ กลัวดอกพิกุลร่วงหรือยังไง "
ดอกไม้ริมทาง หญิงที่ชายเกี้ยวพาราสีได้ง่าย
ดาบสองคม สิ่งที่มีทั้งคุณและโทษ  ตัวอย่าง" เพศศึกษาเป็นความรู้ที่เหมือนดาบสองคม ถ้าสอนให้ดีเด็กก็จะนำความรู้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่ถ้าไม่ระวังเด็กก็อาจจะเอาความรู้นั้นไปใช้ในทางที่ผิด กลับเป็นโทษแก่ตัวเด็กเองได้ "
ดาวล้อมเดือน  - ตัวอย่าง " ดูนายกของเราสิ มีบริวารล้อมหน้าล้อมหลังเป็นดาวล้อมเดือนเลย "
เด็กเมื่อวานซืน - มีความรู้และประสบการณ์น้อย
เด็กอมมือ - ไม่ประสีประสา
เด็ดดอกฟ้า - ได้หญิงสูงศักดิ์มาเป็นภรรยา
ได้น้ำได้เนื้อ - ได้งานมาก
ได้หน้าได้ตา - ได้ชื่อเสียงเกียรติยศ
ดินพอกหางหมู - การงานที่คั่งค้างขึ้นเรื่อยๆ
ชักใบให้เรือเสีย พูดหรือทำให้คนอื่นเขวออกไปนอกเรื่อง ตัวอย่าง "ครูกำลังสั่งการบ้าน นักเรียนอย่าชักใบให้เรือเสียซิ เรื่องอื่นไว้คุยทีหลัง"
ชักแม่น้ำทั้งห้า - พูดจาหว่านล้อม ยกยอบุญคุณขอสิ่งประสงค์ ตัวอย่าง"จะเอาอะไรก็บอกมาตรงๆ ไม่ต้องชักแม่น้ำทั้งห้า ขี้เกียจฟัง"
ชักใย - บงการอยู่เบื้องหลัง
ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน  - ทุกข์สุข ย่อมเกิดขึ้นสลับกันไป ตัวอย่าง "อย่าเสียใจไปเลย คราวนี้ขาดทุน คราวหน้าคงได้กำไรคนเรา ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน"
ชั่วนาตาปี - ตลอดไป
ชาติเสือจับเนื้อกินเอง - ไม่เบียดเบียนใคร
ชายหาบหญิงคอน - ช่วยกันทำมาหากิน
ช้างเท้าหลัง - ผู้ที่ต้องเดินตามผู้นำ อาจหมายถึงภรรยาต้องทำตามสามี
ช้างเผือกเกิดในป่า - ผู้มีปัญญาหรือคนดีนั้นหายาก
ชุบมือเปิบ - ฉวยโอกาสจากคนอื่นโดยไม่ลงทุน
จมไม่ลง - เคยรุ่งเรืองใหญ่โต เมื่อตกอับก็ยังทำตัวเหมือนเดิม ไม่ยอมปรับตัวให้เหมาะกับฐานะของตน ตัวอย่าง "สิ้นสามีแล้วภรรยาและลูกๆยังจมไม่ลง ทำตัวเหมือนเดิม ทั้งๆทีไม่มีรายได้อะไร ไม่ช้าคงล้มละลายแน่"
จรกาหน้าหนู - เข้าพวกกับใครไม่ได้
จระเข้ขวางคลอง - ทำตัวกีดขวางผู้อื่น จนก่อให้เกิดความรำคราญ
จับดำถลำแดง มุ่งอย่างหนึ่งไปได้อีกอย่างหนึ่ง  ตัวอย่าง"ฉันอุตส่าห์เลือกอย่างดีแล้ว ทำไมจึงจับดำถลำแดงไปหยิบของมีตำหนิมาได้"
จับตัววางตาย - กำหนดแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง
จับปลาสองมือ ทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันอาจไม่สำเร็จซักอย่าง ตัวอย่าง "เธอทำงานสำคัญหลายอย่างพร้อมกัน จับปลาสองมือแบบนี้ระวังจะชวดหมด"
จับปูใส่กระด้ง - ซุกซนไม่อยู่ในระเบียบ
จับพลัดจับผลู - จับผิดจับถูก ไม่ได้ดังใจ
จับแพะชนแกะ - ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้เอาอย่างนั้น
จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน - ยืนยันหาคนทำผิดไม่ได้
งงเป็นไก่ตาแตก - สับสนจนทำอะไรไม่ถูก ไม่เข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้น  ตัวอย่าง "เขาถูกกล่าวหาอย่างรุนแรงว่าเป็นเหตุยุยงภรรยาคู่นั้นแตกแยกกัน ทั้งๆที่เขาไม่รู้เรื่องอะไรเลย เขาจึงงงเป็นไก่ตาแตก"
งอมแงม - เลิกได้ยาก
งอมพระราม ทุกข์เต็มทน  ตัวอย่าง "เขาเป็นครูอาสาที่ต้องไปทำงานสอนหนังสือเด็กชาวเขาในถิ่นทุรกันดารนานถึง10ปี ต้องทนทุกข์ยากและมีอุปสรรคต่างๆ อย่างแสนสาหัสเรียกว่า งอมพระรามเลยทีเดียว"
งูกินหาง - เกี่ยวกันเป็นวงจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้
งูๆปลาๆ - มีความรู้เล็กๆน้อยๆ ไม่รู้จริง   ตัวอย่าง "จะให้ไปทำงานกับฝรั่งได้อย่างไร ภาษาอังกฤษของฉันงูๆปลาๆ"
เงาตามตัว  - ผู้ที่ไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด หรือ ผลของการกระทำที่เกิดตามติดมาทันที
เงียบเป็นเป่าสาก - เงียบสนิท
เงื้อง่าราคาแพง - ไม่กล้าตัดสินใจ
โง่แกมหยิ่ง - โง่อวดฉลาด
โง่เง่าเต่าตุ่น - โง่ที่สุด
คนดีผีคุ้ม - คนทำดีมักไม่มีภัย
คมในฝัก - ผู้มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้ปรากฎ
ตัวอย่าง "เขาเป็นคนเฉยๆแต่เมื่อแสดงความคิดเห็นออกมาครั้งใดทุกคนยอมรับ นี้แหละคนคมในฝัก"
คลุมถุงชน - การแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดให้โดยที่ผู้แต่งงานไม่เคยรู้จักกัน และไม่มีโอกาสเลือกคู่ครองเอง
ตัวอย่าง"ทุกวันนี้การแต่งงานแบบคลุมถุงชนไม่มีแล้วเพราะ พ่อแม่บังคับลูกไม่ได้เหมือนสมัยก่อน"
คว้าน้ำเหลว - การทำสิ่งใดด้วยความตั้งแล้วไม่สำเร็จ ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
คว่ำบาตร ประกาศไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วยไม่ร่วมงานด้วย ตัวอย่าง"สหประชาชาติประกาศคว่ำบาตรประเทศนั้นกรณีลุกลามประเทศอื่น "
คางคกขึ้นวอ - คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดีแล้วก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว
คาบลูกคาบดอก -ไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างไหน ก่ำกึ่งกันอยู่ ตัวอย่าง"นักกีฬาคนนั้นชอบเตะฟุตบอลคาบลูกคาบดอกคือเตะทั้งลูกทั้งคน "
คืบก็ทะเลศอกก็ทะเล - อย่าประมาททะเลเพราะอาจเกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ
คู่แล้วไม่แคล้วกัน - คู่ที่เคยสร้างบุญกุศลร่วมกัน เคยเป็นคู่กันมาก่อนย่อมไม่แคล้วคลาดกัน
คลื่นกระทบฝั่ง - เรื่องที่เกิดขึ้นอย่างครึกโครม ทำท่าจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่แล้วกลับเงียบหายไป ตัวอย่าง" คดีนี้ทำท่าจะเป็นคลื่นกระทบฝั่ง อีกสักพักคนก็ลืม"
ขนทรายเข้าวัด - ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำ หรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวม
ตัวอย่าง "คุณหญิงท่านจัดงานคอนเสิร์ตครั้งนี้เพื่อขอรับบริจาคเงินให้มูลนิธิของโรงพยาบาลซึ่งท่านเป็นกรรมการอยู่ด้วย เหมือนขนทรายเข้าวัด ช่วยๆกันไปเถอะ เป็นสาธารณกุศล"
ขนมพอสมกับน้ำยา – เสมอกัน  ตัวอย่าง "พูดกันตรงๆ ฉันว่าคู่นี้มันขนมพอสมกับน้ำยา อย่าไปเข้าข้างคนไหนเลย"
ขนหน้าแข้งไม่ร่วง ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน  ตัวอย่าง "เธอมีเงินติดกระเป๋าตั้งหลายหมื่น ขอยืมมาซื้อของก่อนซักห้าร้อย ขนหน้าแข้งไม่ร่วงหรอกน่ะ"
ขวานผ่าซาก พูดตรงเกินไปโดยไม่เลือกกาลเทศะและบุคคล ตัวอย่าง "เขาเป็นคนพูดขวานผ่าซาก เจ้านายจึงไม่โปรด"
ข้าวยากหมากแพง สภาวะขาดแคลนเกิดความอดอยาก ตัวอย่าง "สมัยสงครามข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยากล้มตายไปจำนวนไม่น้อย"
ข้าวใหม่ปลามัน  - อะไรที่เป็นของใหม่ถือว่าดี  ตัวอย่าง "ได้หัวหน้างานคนใหม่อะไรก็ดีไปหมด กำลังข้าวใหม่ปลามัน"
ขี่ช้างจับตั๊กแตน ลงแรงมากแต่ได้ผลน้อยไม่คุ้มค่า  ตัวอย่าง "การประชุมครั้งนี้เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน เสียงบประมาณไปมากมายแต่หาข้อยุติไม่ได้"
เข้าตามตรอกออกตามประตู - ทำตามธรรมเนียม ประเพณี ตัวอย่าง  "ถ้าเขารักลูกจริง ก็ให้สู่ขอตามประเพณี เข้าตามตรอกออกตามประตู พ่อแม่ก็ไม่คิดจะเรียกร้องอะไร"
เข้าเนื้อ - ขาดทุน เสียเปรียบ ตัวอย่าง "ขายของต้องคำนวณต้นทุนให้ดีถ้าตั้งราคาผิดอาจต้องเข้าเนื้อ "
เขียนเสือให้วัวกลัว ทำเป็นขู่ให้เสียขวัญหรือเกรงขามตัวอย่าง "ไม่ต้องเอาคนใหญ่คนโตมาอ้างกับฉัน อย่ามาเขียนเสือให้วัวกลัว ไม่สำเร็จหรอก"
กบในกะลาครอบ คนที่ขาดวิสัยทัศน์มองเห็นแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น ตัวอย่าง "เธออยู่แต่ในบ้าน ทีวีก็ไม่ดู หนังสือพิมพ์ก็ไม่ชอบอ่าน เหมือนกบในกะลาครอบ"
กรวดน้ำคว่ำขัน – ตัดขาดไม่คบค้าสมาคนด้วยอีกต่อไป ตัวอย่าง "เพื่อนตัวแสบโกงเงินฉันไปเป็นแสนๆ ฉันนะกรวดน้ำคว่ำขันเลย"
กระดูกร้องไห้  - การจับตัวฆาตกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ ตัวอย่าง "คดีฆาตกรรมนี้เหมือนกระดูกร้องไห้เลยนะ ใครจะนึกว่าจะจับตัวฆาตกรได้ เรื่องล่วงเลยมาถึงสิบปีแล้ว"
กระต่ายตื่นตูม – ตื่นกลัวเกินกว่าเหตุ ตัวอย่าง "เธออย่าทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูมไปหน่อยเลย เรื่องมันยังไม่เกิด อาจไม่ร้ายแรงอย่างที่คิดก็ได้"
กระต่ายหมายจันทร์ ชายที่หลงรักหญิงที่สูงส่งกว่าตนและไม่มีทางที่ความรักจะสมหวังตัวอย่าง "เขาทำตัวเป็นกระต่ายหมายจันทร์ หลงรักลูกสาวเศรษฐี คงจะสมหวังอยู่หรอก"

กระโถนท้องพระโรง - ผู้ที่ใครๆก็ใช้งานได้ และเป็นที่ระบายอารมณ์ของทุกคน  ตัวอย่าง "เอะอะก็มาลงที่ฉัน ฉันไม่ใช่กระโถนท้องพระโรงนะ"
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ - การทำอะไรสองอย่างพร้อมกันโดยไม่รอบคอบหรือชักช้า อาจเกิดความเสียหายได้
ตัวอย่าง "ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษากำลังรุนแรงขึ้น น่าจะมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่มัวแต่รอให้ครูสอนให้นักเรียนตระหนักถึงโทษของยาเสพติด เด็กอาจติดยาไปแล้ว กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้"
กินน้ำใต้ศอก - เสียเปรียบ จำต้องเป็นรอง คอบรับเดนคนอื่น  ตัวอย่าง"ถึงจะรักเขามากแค่ไหนฉันก็ไม่ยอมกินน้ำใต้ศอกใคร "