วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กินอย่างไรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การเติบโตของประชากรทั่วโลก และความต้องการอาหารเพื่อการบริโภค นำไปสู่การก่อมลภาวะให้กับโลกเราโดยอ้อม

ในอดีต การกินอาหารอาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน แต่ในปัจจุบัน กลับเป็นเรื่องที่ควรตระหนักและให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายจนอาจก่อให้เกิดโรคภัย นำไปสู่การเสียชีวิต และที่สำคัญยังสามารถส่งผลร้ายทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมในโลกของเราได้อีกด้วย

ประชากรทั่วโลกที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ความต้องการทางอาหารมีสูงขึ้นอย่างฉับพลัน บวกกับความหลากหลายของอาหาร ทำให้เรามีการบริโภคอาหารมากขึ้น ดังนั้นเราจะมาดูกันว่า เราควรเลือกรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของร่างกาย และที่สำคัญ ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมของโลกเราให้มีความน่าอยู่ต่อไป ซึ่งถูกตีพิมพ์เป็นคู่มือจำนวน 90 หน้าในชื่อ A Meat Eater's Guide to Climate Change and Health


เริ่มต้นด้วยประเด็นสภาวะอากาศผันผวนและโลกร้อน ที่ทุกคนกำลังประสบกันอยู่ในขณะนี้ กลับไม่ได้มีสาเหตุหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและการปล่อยควันพิษสู่ชั้นบรรยากาศเพียงอย่างเดียวอย่างที่ใครๆหลายคนเข้าใจแท้จริงแล้ว การเรอหรือการผายลมออกมาบ่อยครั้งของสัตว์ต่างๆและกระบวนการแปรรูปเนื้อสัตว์ก็เป็นสาเหตุหลักที่มีส่วนทำให้สภาพอากาศแปรปรวนและโลกร้อนเช่นกัน เพราะสัตว์ส่วนใหญ่จะมีการระบายก๊าซในกระเพาะออกมาในรูปของ ก๊าซมีเทน



นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยเพื่อปลูกอาหารสัตว์ การปศุสัตว์ กระบวนการต่างๆ ไปจนถึงการปรุงอาหาร มีส่วนทำให้โลกร้อนขึ้นทั้งสิ้น ซึ่งทั้งหมดนี้รวมไปถึงอาหารทุกรูปแบบ เช่น เนื้อวัว เนื้อปลา ธัญพืช ผลิตภัณฑ์นม และผัก แม้กระทั้งการทิ้งอาหารเหลือ ก็สามารถกลายเป็นแหล่งสำคัญในการสร้างมลภาวะ และมลพิษ

"ว่ากันว่า หากครอบครัว 4 คนหยุดรับประทานสเต็กเนื้อแกะสัปดาห์ละ 1 มื้อ จะเท่ากับการจอดรถยนต์ทิ้งไว้ 3 เดือน"

เนื้อสัตว์ เป็นอาหารที่สร้างผลเสียต่อสภาพแวดล้อมมากที่สุด โดยเนื้อแกะเป็นอาหารที่ก่อก๊าซคาร์บอนมากที่สุด คือ ก่อก๊าซ CO2 40 กก. ต่อการกินเนื้อแกะ 1 กก. ตามมาด้วยเนื้อวัว ซึ่งก่อก๊าซคาร์บอน 27 กก. ในเนื้อวัว 1 กก. ที่เรารับประทานเข้าไป


ถ้าเปรียบเทียบกับการขับรถยนต์ การที่รับประทานสเต็กเนื้อแกะส่วนอกขนาด 110 กรัม จะเท่ากับการขับรถยนต์ขนาดกลางเป็นระยะทาง 21 กม.​ เลยทีเดียว และถ้าหากครอบครัวจำนวน 4 คนหยุดรับประทานสเต็กเนื้อแกะนี้เป็นเวลาสัปดาห์ละ 1 มื้อ จะเท่ากับการจอดรถยนต์ทิ้งไว้ 3 เดือนเลยทีเดียว


ในทวีปต่างๆ คนอเมริกันบริโภคเนื้อสัดว์มากกว่าคนยุโรปถึง 60 % และมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ด้วยตัวเลขจำนวนเนื้อสัตว์ 100 กก. ต่อปี ในขณะเดียวกัน ประเทศจีน เป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าจับตามองในฐานะประเทศที่มีการบริโภคเนื้อสัตว์สูงอย่างรวดเร็วจนใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา

ด้านสุขภาพ หากบริโภคเนื้อสัตว์จำนวนมาก สามารถนำไปสู่โรคร้ายต่างๆเช่นเดียวกัน เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคอ้วน โดยคนทั่วโลกบริโภคเนื้อวัวเพิ่มขึ้นจาก 70 ล้านตันในปี 1960 เป็น 300 ล้านตันในปัจจุบัน

ชีส เป็นอีกหนึ่งในอาหาร ที่มีส่วนสร้างมลภาวะให้แก่โลกของเราเช่นกัน สาเหตุหลักมาจากการต้องใช้นมจำนวนมากในการผลิตชีส ในส่วนของเนื้อสัตว์อื่นๆเช่น เนื้อหมู เนื้อปลาแซลมอนเลี้ยง เนื้อไก่ ต่างมีส่วนในการก่อมลภาวะเรือนกระจก หรือการปล่อยน้ำเสียจากการกระบวนการเลี้ยงสัตว์ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

การช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกรับประทานอาหาร สามารถทำได้โดยง่าย ด้วยการจับจ่ายอาหารอย่างพอเหมาะ เพื่อไม่ให้เกิดอาหารเหลือทิ้งและสร้างมลภาวะต่อไป จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น