กุกกุรชาดก: พญาสุนัขเจ้าปัญญา, การสงเคราะห์ญาติ
.....ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายนั่งสนทนากันอยู่ ณ เชตวันมหาวิหารถึงเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงช่วยให้พระประยูรญาติจำนวนมากได้บรรลุธรรม และในจำนวนนั้นมีพระประยูรญาติหลายพระองค์ได้มาเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีพระอานนท์ เป็นต้น
.....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงข้อสนทนานั้น จึงตรัสว่า "มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่ตถาคตได้นำประโยชน์มาสู่หมู่ญาติ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็นำประโยชน์มาสู่หมู่ญาติแล้วเช่นกัน" จากนั้นพระองค์จึงได้ตรัสเล่ากุกกุรชาดก
ครั้งอดีตกาล ในสมัยพระเจ้าพรหมทัตทรงปกครองกรุงพาราณสี
พระองค์ทรงโปรดการประพาสอุทยานเป็นอันมาก ในการประพาสนั้นพระองค์จะทรงรถม้าพระที่นั่ง พร้อมด้วย เหล่าองครักษ์ติดตามจำนวนหนึ่ง
วันหนึ่งพระองค์เสด็จประพาสอุทยาน จนกระทั่งเวลาเย็นมาก เมื่อกลับมาถึงยัง
พระราชวัง ราชบุรุษไม่สามารถลากรถไปเก็บได้ในวันนั้น จึงจอดทิ้งไว้นอกโรงรถตลอดทั้งคืน
ในค่ำวันนั้น มีเมฆฝนตั้งเค้าทมึน ไม่นานฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก ทั่วทั้ง พระราชวัง ทำให้ราชรถที่จอดทิ้งไว้เปียกชุ่มไปด้วยน้ำ หนังที่หุ้มราชรถจึงอ่อนตัวลง และส่งกลิ่นเหม็นตุๆ
เมื่อฝนหยุดตกกลิ่นหนังที่เปียกชื้นได้ส่งกลิ่นไปทั่ว จนไปเข้าจมูกบรรดาสุนัขที่เลี้ยงไว้ในพระราชวัง พวกสุนัขออกเดินตามกลิ่นไปเรื่อยๆ
เหล่าสุนัขในวังแทนที่จะเฝ้าดูแลของให้เจ้านายของตน กลับกรูกันเข้ามากัดหนังที่หุ้มราชรถจนพังยับเยิน
เช้าวันต่อมา ราชบุรุษได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต และกราบทูลว่ามีสุนัขจากนอกวังเข้ามากัดราชรถ
ด้วยความคิดที่ไม่รอบคอบของพระราชา บรรดาสุนัขนอกวัง จึงถูกฆ่าตายราวกับใบไม้ร่วง
เหล่าสุนัขนอกวัง ได้รับความยากลำบากจึงปรึกษาหารือเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ณ ป่าช้านอกเมืองพาราณสี บรรยากาศเงียบสงัดปราศเสียงของสิงสาราสัตว์เช่นปกติในป่าทั่วไป
กลุ่มสุนัขเดินลึกเข้าในป่าช้าจนกระทั่งพบกับสุนัขที่ทำหน้าที่เฝ้าป่าช้าแห่งนั้น เหล่าสุนัขทั้งหลาย จึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้พญาสุนัขฟัง
จากนั้น พญาสุนัขจึงระลึกถึงบุญบารมีที่ได้สั่งสมไว้พร้อมกับอธิษฐานว่า
"ด้วยบุญบารมีที่ข้าพเจ้าสร้างสมมาดีแล้ว และด้วยจิตเมตตาที่จะช่วยสรรพ
สัตว์ทั้งหลาย ขอจงช่วยคุ้มครองอย่าให้ใครทำร้ายหรือคิดร้ายต่อข้าพเจ้าเลย"
ภายในตัวเมืองพาราณสี มีผู้คนเดินไปมาอยู่ทั่วไปพร้อมทั้งเหล่าทหารของพระราชา แต่ทหารเหล่านั้น ก็ไม่สามารถทำร้าย พญาสุนัข ได้ ทั้งไม่มีจิตที่คิดจะทำร้ายเลยแม้แต่น้อย
พญาสุนัข เดินเข้าไปจนถึงในวัง แม้ พระเจ้าพรมทัตเอง ก็ยังทรงมีพระเมตตาต่อ พระญาสุนัขด้วยเช่นกัน กล่าวกับพญาสุนัขว่า
" บอกมาซิ เจ้าเข้ามาในวังของเราทำไมรึ? "
พญาสุนัขกว่าวตอบว่า
" ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบว่า พระองค์มีรับสั่งให้ ราชบุรุษฆ่าสุนัขทุกตัวจริงหรือ พระเจ้าข้า? "
พระเจ้าพรมทัต
" จริง เพราะสุนัขทั้งหลาย กัดแทะหนังหุ้มาชรถของเราเสียหาย "
พญาสุนัข
" เมื่อแรกตรัสว่าให้ฆ่าสุนัขทุกตัว แล้วเหตุใดจึงทรงยกเว้นสุนัขในวังเล่าพระเจ้าข้า เช่นนี้จะไม่เป็นการลำเอียงเข้าข้างสุนัขของพระองค์เองหรอกหรือ ธรรมดาพระมหากษัตริย์ย่อมทรงไว้ซึ่ง ความยุติธรรมอตจตราชู ยึดมั่นในราชธรรมอย่างเคร่งครัด สุนัขของท่านเองท่านไม่ให้ฆ่า กลับสั่งฆ่าสุนัขอื่นๆที่บริสุทธิ์ "
พระเจ้าพรมทัต
" สุนัขที่เราเลี้ยงไว้ทุกตัวได้รับการฝึกฝนอบรมอย่างดีย่อมจะไม่กัดกินหนังหุ้มราชรถของเราเอง เจ้าบังอาจกว่าวว่าเราสั่งฆ่าผู้บริสุทธิ์เจ้ารู้หรือว่าใครเป็นตัวการ "
พญาสุนัข
" สุนัขในวัง เป็นตัวการ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพเจ้ามีวิธีพิสูจน์ "
พญาสุนัข บอกให้ เอาน้ำมันเปรียงขยำกับหญ้า ให้สุนัขในวังกิน สุนัขในวังกินแล้ว สำรอก(อ๊วก) ออกมา มีเศษหนังหุ้มราชรถออกมาด้วย ทำให้ความจริงปรากฎ
พระเจ้าพรมทัต จึงสั่งให้ไล่สุนัขในวังออกไป และยกเลิกคำสั่งฆ่าสุนัขทั้งหลายเสีย และกล่าวกับ พญาสุนัขว่า
" แม้เจ้าเป็นสัตว์เดียรัจฉาน แต่ก็มีความอาจหาญ กล้าเอาชีวิตตนเองเสี่ยงกับความตาย เพื่อความยุติธรรม และความสงบสุขของหมู่ญาติทั้งปวงของเจ้า "
พระเจ้าพรหมทัตทรงซาบซึ้งพระทัยยิ่งนัก โปรดให้กั้นเศวตฉัตรแก่พญาสุนัข พญาสุนัขจึงแสดงทศพิธราชธรรมถวายและขอให้พระองค์ตั้งมั่นอยู่ในศีลห้า ให้บำรุงพระชนกชนนี ดำรงอยู่ในความไม่ประมาทตลอดไป แล้วถวายเศวตฉัตรคืนตั้งแต่นั้นพระองค์โปรดให้นำอาหารอย่างดีไปเลี้ยงสุนัขทั้งหลายตลอดไป และทรงห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ทั้งหลายในกรุงพาราณสี พระองค์และข้าราชบริพารต่างประพฤติตามโอวาทของพญาสุนัข ครั้นละโลกต่างไปบังเกิดในสวรรค์ด้วยกันทั้งสิ้น
:: ข้อคิดจากชาดก ::
.....๑. เมื่อเกิดเรื่องไม่ดีไม่งามขึ้นในบ้านหรือในที่ทำงาน ควรเฉลียวใจถึงบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับเราด้วย มิฉะนั้น เราอาจจะลงโทษผิดคนได้ โบราณจึงมีข้อเตือนใจ เช่น หนอนบ่อนไส้ เป็นต้น
.....๒. ความอยุติธรรมทั้งหลาย มักเกิดจากความลำเอียง ๔ ประการคือ ลำเอียงเพราะรัก ชัง กลัว และหลง
.....๓. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงมงคลชีวิตในมงคลที่ ๑๗ ว่า การสงเคราะห์ญาติเป็นมงคลอันสูงสุด เมื่อเรามีความผาสุก หรือเมื่อต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใดๆ ญาติของเราอาจช่วยเราได้
การสงเคราะห์ญาติเป็นมงคลอันสูงสุด พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประพฤติประโยชน์แก่พระญาติทั้งหลายในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ประพฤติแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ บริษัทที่เหลือนอกนี้ ได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนกุกกุรบัณฑิตคือเราแล
Cr : http://www.kkdee.com/nithan/index/story/var/181
Cr : https://www.youtube.com/watch?v=upxb5RIB_II