เขื่อนแม่วงก์ กระทบอะไรบ้าง ทำไมต้องคัดค้านสร้างเขื่อนแม่วงก์
เขื่อนแม่วงก์ กระทบอะไรบ้าง มาดูกัน ทำไม นายศศิน เฉลิมลาภ เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม และหลายฝ่ายต้องออกมาคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์
เป็นเรื่องราวที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ สำหรับการรณรงค์คัดค้านโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ซึ่งมีประชาชนและกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากหลายภาคส่วนออกมาเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการเดินเท้าคัดค้าน การอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เขื่อนแม่วงก์ 388 กิโลเมตร จากป่าสู่เมือง ซึ่งนำโดย นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
งานนี้ หลายคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวคราวมาตั้งแต่ต้น อาจจะสงสัยว่า เขื่อนแม่วงก์คืออะไร มีแผนจะสร้างขึ้นเพื่ออะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ใช้งบประมาณเท่าไหร่ มีผลดี-ผลเสียอย่างไร และที่สำคัญ ทำไมถึงต้องออกมาคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งทางกระปุกดอทคอม ก็ขอนำเรื่องราวความเป็นมาของเขื่อนแม่วงก์ รวมถึงผลกระทบจากการสร้างเขื่อน และสาเหตุที่หลายฝ่ายต้องออกมาคัดค้าน จากข้อมูลของเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง "ทำไม!!…ต้องค้านเขื่อนแม่วงก์" เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งได้เผยแพร่ในเว็บไซต์ thaipublica.org และบทความเรื่อง "เมื่อแก้น้ำท่วมไม่ได้ แก้ภัยแล้งไม่ได้ แล้วเหตุผลของ 'เขื่อนแม่วงก์' คืออะไร ?" จากมูลนิธิโลกสีเขียว มาฝากกันด้วยค่ะ
โดย เขื่อนแม่วงก์ เป็นโครงการสร้างเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวขนาดใหญ่ ซึ่งวางแผนการก่อสร้างที่บริเวณเขาสบกก ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและเพื่อให้เกษตรกรในเขตชลประทานมีน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง โดยเขื่อนแม่วงก์ มีความสูง 57 เมตร สันเขื่อนยาว 730 เมตร กว้าง 10 เมตร ความจุของอ่างเก็บน้ำประมาณ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 13,280 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี
ความเป็นมาของเขื่อนแม่วงก์ มีดังนี้
ปี 2525 กรมชลประทานริเริ่มโครงการเขื่อนแม่วงก์
ปี 2537 มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มีความเห็นให้กรมชลประทานศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมบริเวณเขาชนกัน เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่าเขาสบกก
ปี 2540 กรมชลประทานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมตามมติ คชก.
ปี 2541 มติที่ประชุม คชก. วันที่ 23 มกราคม ครั้งที่ 1/2541 "ไม่เห็นชอบกับการดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์"
ปี 2543 ทำประชาพิจารณ์โครงการเขื่อนแม่วงก์
ปี 2545 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติครั้งที่ 3 ยังไม่เห็นชอบต่อรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้กรมชลประทานหาทางเลือกของที่ตั้งโครงการ และศึกษาเพิ่มเติมการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบในลักษณะบูรณาการ
ปี 2555 มีมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 10 เมษายน 2555 เห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 13,280 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี โดยผูกพันงบประมาณถึงปีงบประมาณ 2562
โดยโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ได้เกิดขึ้นมาท่ามกลางเสียงสนับสนุนและคัดค้านมากมาย ซึ่งทางเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม ถือเป็นกลุ่มที่ยืนหยัดคัดค้านโครงการดังกล่าวมาโดยตลอด ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ด้าน คือ ด้านระบบนิเวศ กับด้านเศรษฐกิจและสังคม
ด้านนิเวศ คือ ระบบนิเวศทั้งหมดจะถูกคุกคาม เกิดการทำลายป่าต้นน้ำ และอาจเกิดการลักลอบตัดไม้ริมอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก เร่งให้สัตว์ป่า เช่น นกยูง เสือโคร่ง ต้องสูญพันธุ์ และยังสามารถลักลอบล่าสัตว์ป่าได้ง่าย นอกจากนี้ ยังจะทำให้สัตว์ป่าสูญเสียที่อยู่อาศัย ทำลายโอกาสการฟื้นฟูของอุทยาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อป่ามรดกโลก "ห้วยขาแข้ง" เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์นั้น มีความสำคัญในฐานะเป็นป่าหน้าด่านของป่าห้วยขาแข้ง เป็นพื้นที่ความหวังของการแพร่กระจายสัตว์ป่า และเป็นที่ที่พบเสือโคร่งจากห้วยขาแข้งออกมาหากิน
ด้านเศรษฐกิจและสังคม คือ เนื่องจากเขื่อนแม่วงก์มีขนาดเล็ก จึงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วมได้ นอกจากนี้ยังทำลายแหล่งศึกษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และทำลายความเชื่อมั่นด้านสิ่งแวดล้อมของไทยด้วย อีกทั้งยังเป็นช่องทางให้โครงการพัฒนาขนาดใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ได้อีกในอนาคต
ในแง่ของเสียงสนับสนุน มีความต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์ เนื่องจากรัฐบาลอ้างว่า เขื่อนจะสามารถป้องกันน้ำท่วมในลุ่มน้ำแม่วง เขต อ.แม่วงก์ และ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ แต่ นายอดิศักดิ์ จันทวิชานุวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมภาคเหนือตอนล่าง กล่าวว่า ข้อมูลจากกรมชลประทานปีที่แล้วระบุว่า น้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 44,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ตัวเขื่อนแม่วงก์สามารถเก็บน้ำได้เพียงประมาณ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่ากับเป็นการแก้ปัญหาเพียง 1% เท่านั้น ดังนั้น เขื่อนนี้จึงไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลาง และไม่เกิดความคุ้มค่าแก่การลงทุนหากสร้างเพื่อป้องกันน้ำท่วม
อีกทั้งการสร้างเขื่อนที่บริเวณเขาสบกก เป็นการกั้นลำน้ำแม่วงเพียงสายเดียว แต่ยังมีลำน้ำอีกหลายสายที่ไหลมาบรรจบตรงที่ลุ่มอำเภอลาดยาว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของน้ำท่วมในตัวเมือง และจากการสอบถามชาวบ้านลาดยาวหลายคน ระบุว่า เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำก็จะท่วมเพียง 2-5 วัน เท่านั้น หลังจากนั้นน้ำก็จะลดตามธรรมชาติ เป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไร เว้นแต่ปีที่แล้วที่ท่วมเป็นเวลานานที่น่าจะเกิดจากการจัดการน้ำไม่ดี ไม่ปล่อยให้ไหลตามธรรมชาตินั่นเอง
ด้านการแก้ภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรม คือการชูเขื่อนแม่วงก์ให้เป็นที่เก็บน้ำเพื่อที่เกษตรกรในพื้นที่ อ.ลาดยาว และ อ.สว่างอารมณ์ จะได้มีน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง แต่ข้อมูลจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมภาคเหนือและมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ระบุว่า บริเวณดังกล่าวมีพื้นที่กว่า 291,900 ไร่ ความต้องการใช้น้ำเฉลี่ย 347.9 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ส่วนใหญ่ทำนาข้าว ซึ่งต้องใช้น้ำเฉลี่ย 500 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้วน้ำทั้งหมดจากเขื่อนจะสามารถใช้ได้เพียงแค่ 40 วัน ซึ่งไม่เพียงพอกับการทำนาข้าวซึ่งต้องใช้น้ำประมาณ 120 วัน อีกทั้งตามหลักของการบริหารจัดการเขื่อน ต้องรักษาระดับเก็บกักน้ำไว้อย่างน้อย 100-150 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้างฐานเขื่อนอีกด้วย
นอกจากนี้ บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์นั้น ยังมีเขื่อนอีกหลายแห่ง เช่น เขื่อนทับเสลา เขื่อนคลองโพธิ์ ซึ่งก่อสร้างเสร็จมาประมาณ 10 ปีแล้ว แต่ไม่ได้ช่วยเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งเลย เพราะพื้นที่อยู่ในเขตเงาฝน ปริมาณน้ำฝนน้อย และการก่อสร้างเขื่อนไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ฐานเขื่อนรองรับน้ำปริมาณมากไม่ได้ ซึ่งก็เป็นเพียงอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการสร้างเขื่อนไม่ใช่คำตอบของพื้นที่นี้
สำหรับความสำคัญของป่าแม่วงก์นั้น ป่าแม่วงก์บริเวณที่จะถูกน้ำท่วมเป็นป่าริมน้ำและป่าที่ราบต่ำ ซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 200 เมตร เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น ช้าง เสือ และเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ป่าด้วย แม้ว่าการสูญเสียป่าแม่วงก์ไป 18 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเพียงร้อยละ 2 ของป่าทั้งหมด แต่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของป่าทั้งระบบมากเพราะมันคือ "หัวใจ" เนื่องจากป่าแม่วงก์เป็นส่วนสำคัญของผืนป่าตะวันตก ที่เกิดจากป่าอนุรักษ์ 17 ผืนต่อกันเป็นป่าผืนใหญ่ขนาด 11.7 ล้านไร่ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นบ้านของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เสือโคร่ง ช้าง กระทิง วัวแดง สมเสร็จ ควายป่า ฯลฯ
อนึ่ง ป่าแม่วงก์ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแม่วงก์มา 25 ปีแล้ว และเป็นพื้นที่แห่งโอกาสของสัตว์ป่า เนื่องจากเป็นป่าที่สมบูรณ์ จึงเป็นบ้านและแหล่งอาหารของสัตว์ป่าที่หากินนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบที่ไม่สามารถป้องกันในช่วงเวลาก่อสร้างเขื่อนตลอด 8 ปี ได้แก่ การตัดไม้เกินพื้นที่ที่กำหนด การลักลอบล่าสัตว์ป่า เสียงที่ดังรบกวนสัตว์ป่า การยึดพื้นที่ริมอ่างและการเก็บหาของป่า ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาจากการสร้างเขื่อนแม่วงก์อีกมาก เช่น จะต้องมีการเวนคืนที่ดิน เพื่อทำคลองยาว 500 กิโลเมตร และคลองระบายน้ำ ซึ่งต้องเวนคืนที่ดินจากชาวบ้านกว่าพันราย รวมที่ดิน 10,892 ไร่ อีกทั้งยังต้องเวนคืนที่ดินอื่น ๆ เพิ่มอีกในการสร้างเขื่อน คือ ที่ดิน 850 ไร่ ที่บ้านคลองไทร ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ เพื่อใช้เป็นบ่อยืมดิน ที่ดิน 55 ไร่ ที่บ้านท่าตาอยู่ ต.ปางมะค่า เพื่อใช้ปรับปรุงฝายท่าตาอยู่ และที่ดิน 173 ไร่ ติดเขาสบกก เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่หัวงานอีกด้วย
โดยหลังจากการสร้างเขื่อน ยังอาจเกิดปัญหาขึ้นอีก คือ ชาวบ้านอาจต้องสูบน้ำเข้าที่นาเอง เนื่องจากเขื่อนมีขนาดเล็ก น้ำอาจไม่มากพอส่งมาท้ายเขื่อนของพื้นที่ชลประทาน และปัญหาความเหลื่อมล้ำของผู้มีอำนาจที่อาจได้รับประโยชน์การใช้น้ำชลประทานก่อน เพราะรัฐยังไม่ระบุว่าพื้นที่ระบบชลประทานหน้าแล้งตรงไหนที่ได้รับประโยชน์บ้าง ในขณะที่ชาวบ้านสามารถจัดการปัญหาเรื่องน้ำด้วยตนเองได้ ตามโมเดลที่เคยมีคนทำแล้วได้ผล เช่น
ชาวนาที่ศาลเจ้าไก่ต่อ ทำนาโดยใช้ระบบสูบน้ำและส่งน้ำบาดาล โดยการขุดคลองรอบคันนาเพื่อส่งน้ำไปใช้ ด้านหนึ่งของคันนาจะขุดเป็นบ่อพักน้ำหมุนเวียนในนาซึ่งเลี้ยงปลาไว้เป็นรายได้เสริมด้วย
ทางออกเรื่องน้ำระดับชุมชนของ "บ้านธารมะยม" ที่มีเขาแม่กระทู้เป็นต้นน้ำ และใช้ต้นน้ำนี้ทำประปาภูเขา ส่วนตามลำห้วยก็สร้างฝายกั้นน้ำ สร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อไปใช้ในที่นา รวมถึงขุดบ่อน้ำไว้เลี้ยงปลา เมื่อน้ำอุดมสมบูรณ์ ชุมชนก็ทำเกษตรได้ มีรายได้เลี้ยงครอบครัว และเงินค่าน้ำประปาภูเขาก็กลายมาเป็นกองทุนและสวัสดิการต่าง ๆ ของชุมชน
การแก้ปัญหาเรื่องน้ำในระดับตำบลโดยภาครัฐที่ ต.หนองหลวง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ที่สนับสนุนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในตำบล เช่น สร้างฝาย อ่างเก็บน้ำ โครงการสูบน้ำ ซึ่งก็เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภคของคนในตำบล
ทางออกการจัดการน้ำที่ยั่งยืนอย่าง "ปิดทองหลังพระ model" ของโครงการปิดทองหลังพระ จ.น่าน ที่สร้างถังเก็บน้ำไว้ในหมู่บ้าน สร้างฝายต้นน้ำ ฝายชะลอน้ำ และสร้างอ่างพวงเพื่อส่งน้ำไปใช้เพื่อการเกษตร รวมถึงปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ด้วย
หากไม่มีเขื่อนแม่วงก์ เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานก็ยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้และอยู่ดี เนื่องจาก
1. มีป่าเขาชนกันที่มีสายน้ำไหลตลอดปีกว่า 10 สาย ซึ่งสามารถจัดการได้ตามแบบบ้านธารมะยม และ ต.หนองหลวง
2. มีน้ำใต้ดินที่ลึกเพียง 3 เมตร หรือลึกกว่า ที่สามารถพัฒนาเป็นสระน้ำในไร่นาได้แบบที่ "ศาลเจ้าไก่ต่อ"
3. หลายพื้นที่อาจพัฒนาระบบอ่างเก็บน้ำหลักและอ่างพวงตามแบบ "ปิดทองหลังพระโมเดล"
4. ลำน้ำนอกเขตอุทยานก็สามารถพัฒนาเป็นแหล่งเก็บน้ำได้อีกมาก โดยปรับปรุงฝายเดิมหรือสร้างใหม่ให้เหมาะสม
5. ให้งบประมาณแก่คนทั้ง 23 ตำบล ตำบลละ 200 ล้านบาท รวมเป็น 4,600 ล้านบาท แล้วหาทางพัฒนาแหล่งน้ำโดยชาวบ้าน แล้วให้ข้าราชการเป็นที่ปรึกษา ดีกว่าสร้างเขื่อนทับป่าสมบูรณ์ พร้อมคลองชลประทานดาดคอนกรีต 500 กิโลเมตร ด้วยงบ 13,000 ล้านบาท
6. ให้แม่วงก์เป็นต้นแบบโครงการที่ราษฎรและข้าราชการร่วมกันแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำโดยไม่ทำลายป่าเพื่อสร้างเขื่อน
7. ขยายพื้นที่มรดกโลกทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง โดยรวมอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติคลองลาน และทั้งผืนป่าตะวันตกเข้าด้วยกัน
และนี่ก็คือที่มาที่ไปของโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ และเหตุผลที่ว่า ทำไมหลายคนถึงออกมาร่วมรณรงค์คัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์นั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- thaipublica.org
- greenworld.or.th
เขื่อนแม่วงก์ กระทบอะไรบ้าง มาดูกัน ทำไม นายศศิน เฉลิมลาภ เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม และหลายฝ่ายต้องออกมาคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์
เป็นเรื่องราวที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ สำหรับการรณรงค์คัดค้านโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ซึ่งมีประชาชนและกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากหลายภาคส่วนออกมาเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการเดินเท้าคัดค้าน การอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เขื่อนแม่วงก์ 388 กิโลเมตร จากป่าสู่เมือง ซึ่งนำโดย นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
งานนี้ หลายคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวคราวมาตั้งแต่ต้น อาจจะสงสัยว่า เขื่อนแม่วงก์คืออะไร มีแผนจะสร้างขึ้นเพื่ออะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ใช้งบประมาณเท่าไหร่ มีผลดี-ผลเสียอย่างไร และที่สำคัญ ทำไมถึงต้องออกมาคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งทางกระปุกดอทคอม ก็ขอนำเรื่องราวความเป็นมาของเขื่อนแม่วงก์ รวมถึงผลกระทบจากการสร้างเขื่อน และสาเหตุที่หลายฝ่ายต้องออกมาคัดค้าน จากข้อมูลของเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง "ทำไม!!…ต้องค้านเขื่อนแม่วงก์" เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งได้เผยแพร่ในเว็บไซต์ thaipublica.org และบทความเรื่อง "เมื่อแก้น้ำท่วมไม่ได้ แก้ภัยแล้งไม่ได้ แล้วเหตุผลของ 'เขื่อนแม่วงก์' คืออะไร ?" จากมูลนิธิโลกสีเขียว มาฝากกันด้วยค่ะ
โดย เขื่อนแม่วงก์ เป็นโครงการสร้างเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวขนาดใหญ่ ซึ่งวางแผนการก่อสร้างที่บริเวณเขาสบกก ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและเพื่อให้เกษตรกรในเขตชลประทานมีน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง โดยเขื่อนแม่วงก์ มีความสูง 57 เมตร สันเขื่อนยาว 730 เมตร กว้าง 10 เมตร ความจุของอ่างเก็บน้ำประมาณ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 13,280 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี
ความเป็นมาของเขื่อนแม่วงก์ มีดังนี้
ปี 2525 กรมชลประทานริเริ่มโครงการเขื่อนแม่วงก์
ปี 2537 มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มีความเห็นให้กรมชลประทานศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมบริเวณเขาชนกัน เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่าเขาสบกก
ปี 2540 กรมชลประทานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมตามมติ คชก.
ปี 2541 มติที่ประชุม คชก. วันที่ 23 มกราคม ครั้งที่ 1/2541 "ไม่เห็นชอบกับการดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์"
ปี 2543 ทำประชาพิจารณ์โครงการเขื่อนแม่วงก์
ปี 2545 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติครั้งที่ 3 ยังไม่เห็นชอบต่อรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้กรมชลประทานหาทางเลือกของที่ตั้งโครงการ และศึกษาเพิ่มเติมการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบในลักษณะบูรณาการ
ปี 2555 มีมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 10 เมษายน 2555 เห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 13,280 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี โดยผูกพันงบประมาณถึงปีงบประมาณ 2562
โดยโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ได้เกิดขึ้นมาท่ามกลางเสียงสนับสนุนและคัดค้านมากมาย ซึ่งทางเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม ถือเป็นกลุ่มที่ยืนหยัดคัดค้านโครงการดังกล่าวมาโดยตลอด ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ด้าน คือ ด้านระบบนิเวศ กับด้านเศรษฐกิจและสังคม
ด้านนิเวศ คือ ระบบนิเวศทั้งหมดจะถูกคุกคาม เกิดการทำลายป่าต้นน้ำ และอาจเกิดการลักลอบตัดไม้ริมอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก เร่งให้สัตว์ป่า เช่น นกยูง เสือโคร่ง ต้องสูญพันธุ์ และยังสามารถลักลอบล่าสัตว์ป่าได้ง่าย นอกจากนี้ ยังจะทำให้สัตว์ป่าสูญเสียที่อยู่อาศัย ทำลายโอกาสการฟื้นฟูของอุทยาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อป่ามรดกโลก "ห้วยขาแข้ง" เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์นั้น มีความสำคัญในฐานะเป็นป่าหน้าด่านของป่าห้วยขาแข้ง เป็นพื้นที่ความหวังของการแพร่กระจายสัตว์ป่า และเป็นที่ที่พบเสือโคร่งจากห้วยขาแข้งออกมาหากิน
ด้านเศรษฐกิจและสังคม คือ เนื่องจากเขื่อนแม่วงก์มีขนาดเล็ก จึงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วมได้ นอกจากนี้ยังทำลายแหล่งศึกษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และทำลายความเชื่อมั่นด้านสิ่งแวดล้อมของไทยด้วย อีกทั้งยังเป็นช่องทางให้โครงการพัฒนาขนาดใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ได้อีกในอนาคต
ในแง่ของเสียงสนับสนุน มีความต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์ เนื่องจากรัฐบาลอ้างว่า เขื่อนจะสามารถป้องกันน้ำท่วมในลุ่มน้ำแม่วง เขต อ.แม่วงก์ และ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ แต่ นายอดิศักดิ์ จันทวิชานุวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมภาคเหนือตอนล่าง กล่าวว่า ข้อมูลจากกรมชลประทานปีที่แล้วระบุว่า น้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 44,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ตัวเขื่อนแม่วงก์สามารถเก็บน้ำได้เพียงประมาณ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่ากับเป็นการแก้ปัญหาเพียง 1% เท่านั้น ดังนั้น เขื่อนนี้จึงไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลาง และไม่เกิดความคุ้มค่าแก่การลงทุนหากสร้างเพื่อป้องกันน้ำท่วม
อีกทั้งการสร้างเขื่อนที่บริเวณเขาสบกก เป็นการกั้นลำน้ำแม่วงเพียงสายเดียว แต่ยังมีลำน้ำอีกหลายสายที่ไหลมาบรรจบตรงที่ลุ่มอำเภอลาดยาว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของน้ำท่วมในตัวเมือง และจากการสอบถามชาวบ้านลาดยาวหลายคน ระบุว่า เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำก็จะท่วมเพียง 2-5 วัน เท่านั้น หลังจากนั้นน้ำก็จะลดตามธรรมชาติ เป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไร เว้นแต่ปีที่แล้วที่ท่วมเป็นเวลานานที่น่าจะเกิดจากการจัดการน้ำไม่ดี ไม่ปล่อยให้ไหลตามธรรมชาตินั่นเอง
ด้านการแก้ภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรม คือการชูเขื่อนแม่วงก์ให้เป็นที่เก็บน้ำเพื่อที่เกษตรกรในพื้นที่ อ.ลาดยาว และ อ.สว่างอารมณ์ จะได้มีน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง แต่ข้อมูลจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมภาคเหนือและมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ระบุว่า บริเวณดังกล่าวมีพื้นที่กว่า 291,900 ไร่ ความต้องการใช้น้ำเฉลี่ย 347.9 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ส่วนใหญ่ทำนาข้าว ซึ่งต้องใช้น้ำเฉลี่ย 500 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้วน้ำทั้งหมดจากเขื่อนจะสามารถใช้ได้เพียงแค่ 40 วัน ซึ่งไม่เพียงพอกับการทำนาข้าวซึ่งต้องใช้น้ำประมาณ 120 วัน อีกทั้งตามหลักของการบริหารจัดการเขื่อน ต้องรักษาระดับเก็บกักน้ำไว้อย่างน้อย 100-150 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้างฐานเขื่อนอีกด้วย
นอกจากนี้ บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์นั้น ยังมีเขื่อนอีกหลายแห่ง เช่น เขื่อนทับเสลา เขื่อนคลองโพธิ์ ซึ่งก่อสร้างเสร็จมาประมาณ 10 ปีแล้ว แต่ไม่ได้ช่วยเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งเลย เพราะพื้นที่อยู่ในเขตเงาฝน ปริมาณน้ำฝนน้อย และการก่อสร้างเขื่อนไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ฐานเขื่อนรองรับน้ำปริมาณมากไม่ได้ ซึ่งก็เป็นเพียงอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการสร้างเขื่อนไม่ใช่คำตอบของพื้นที่นี้
สำหรับความสำคัญของป่าแม่วงก์นั้น ป่าแม่วงก์บริเวณที่จะถูกน้ำท่วมเป็นป่าริมน้ำและป่าที่ราบต่ำ ซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 200 เมตร เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น ช้าง เสือ และเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ป่าด้วย แม้ว่าการสูญเสียป่าแม่วงก์ไป 18 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเพียงร้อยละ 2 ของป่าทั้งหมด แต่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของป่าทั้งระบบมากเพราะมันคือ "หัวใจ" เนื่องจากป่าแม่วงก์เป็นส่วนสำคัญของผืนป่าตะวันตก ที่เกิดจากป่าอนุรักษ์ 17 ผืนต่อกันเป็นป่าผืนใหญ่ขนาด 11.7 ล้านไร่ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นบ้านของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เสือโคร่ง ช้าง กระทิง วัวแดง สมเสร็จ ควายป่า ฯลฯ
อนึ่ง ป่าแม่วงก์ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแม่วงก์มา 25 ปีแล้ว และเป็นพื้นที่แห่งโอกาสของสัตว์ป่า เนื่องจากเป็นป่าที่สมบูรณ์ จึงเป็นบ้านและแหล่งอาหารของสัตว์ป่าที่หากินนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบที่ไม่สามารถป้องกันในช่วงเวลาก่อสร้างเขื่อนตลอด 8 ปี ได้แก่ การตัดไม้เกินพื้นที่ที่กำหนด การลักลอบล่าสัตว์ป่า เสียงที่ดังรบกวนสัตว์ป่า การยึดพื้นที่ริมอ่างและการเก็บหาของป่า ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาจากการสร้างเขื่อนแม่วงก์อีกมาก เช่น จะต้องมีการเวนคืนที่ดิน เพื่อทำคลองยาว 500 กิโลเมตร และคลองระบายน้ำ ซึ่งต้องเวนคืนที่ดินจากชาวบ้านกว่าพันราย รวมที่ดิน 10,892 ไร่ อีกทั้งยังต้องเวนคืนที่ดินอื่น ๆ เพิ่มอีกในการสร้างเขื่อน คือ ที่ดิน 850 ไร่ ที่บ้านคลองไทร ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ เพื่อใช้เป็นบ่อยืมดิน ที่ดิน 55 ไร่ ที่บ้านท่าตาอยู่ ต.ปางมะค่า เพื่อใช้ปรับปรุงฝายท่าตาอยู่ และที่ดิน 173 ไร่ ติดเขาสบกก เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่หัวงานอีกด้วย
โดยหลังจากการสร้างเขื่อน ยังอาจเกิดปัญหาขึ้นอีก คือ ชาวบ้านอาจต้องสูบน้ำเข้าที่นาเอง เนื่องจากเขื่อนมีขนาดเล็ก น้ำอาจไม่มากพอส่งมาท้ายเขื่อนของพื้นที่ชลประทาน และปัญหาความเหลื่อมล้ำของผู้มีอำนาจที่อาจได้รับประโยชน์การใช้น้ำชลประทานก่อน เพราะรัฐยังไม่ระบุว่าพื้นที่ระบบชลประทานหน้าแล้งตรงไหนที่ได้รับประโยชน์บ้าง ในขณะที่ชาวบ้านสามารถจัดการปัญหาเรื่องน้ำด้วยตนเองได้ ตามโมเดลที่เคยมีคนทำแล้วได้ผล เช่น
ชาวนาที่ศาลเจ้าไก่ต่อ ทำนาโดยใช้ระบบสูบน้ำและส่งน้ำบาดาล โดยการขุดคลองรอบคันนาเพื่อส่งน้ำไปใช้ ด้านหนึ่งของคันนาจะขุดเป็นบ่อพักน้ำหมุนเวียนในนาซึ่งเลี้ยงปลาไว้เป็นรายได้เสริมด้วย
ทางออกเรื่องน้ำระดับชุมชนของ "บ้านธารมะยม" ที่มีเขาแม่กระทู้เป็นต้นน้ำ และใช้ต้นน้ำนี้ทำประปาภูเขา ส่วนตามลำห้วยก็สร้างฝายกั้นน้ำ สร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อไปใช้ในที่นา รวมถึงขุดบ่อน้ำไว้เลี้ยงปลา เมื่อน้ำอุดมสมบูรณ์ ชุมชนก็ทำเกษตรได้ มีรายได้เลี้ยงครอบครัว และเงินค่าน้ำประปาภูเขาก็กลายมาเป็นกองทุนและสวัสดิการต่าง ๆ ของชุมชน
การแก้ปัญหาเรื่องน้ำในระดับตำบลโดยภาครัฐที่ ต.หนองหลวง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ที่สนับสนุนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในตำบล เช่น สร้างฝาย อ่างเก็บน้ำ โครงการสูบน้ำ ซึ่งก็เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภคของคนในตำบล
ทางออกการจัดการน้ำที่ยั่งยืนอย่าง "ปิดทองหลังพระ model" ของโครงการปิดทองหลังพระ จ.น่าน ที่สร้างถังเก็บน้ำไว้ในหมู่บ้าน สร้างฝายต้นน้ำ ฝายชะลอน้ำ และสร้างอ่างพวงเพื่อส่งน้ำไปใช้เพื่อการเกษตร รวมถึงปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ด้วย
หากไม่มีเขื่อนแม่วงก์ เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานก็ยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้และอยู่ดี เนื่องจาก
1. มีป่าเขาชนกันที่มีสายน้ำไหลตลอดปีกว่า 10 สาย ซึ่งสามารถจัดการได้ตามแบบบ้านธารมะยม และ ต.หนองหลวง
2. มีน้ำใต้ดินที่ลึกเพียง 3 เมตร หรือลึกกว่า ที่สามารถพัฒนาเป็นสระน้ำในไร่นาได้แบบที่ "ศาลเจ้าไก่ต่อ"
3. หลายพื้นที่อาจพัฒนาระบบอ่างเก็บน้ำหลักและอ่างพวงตามแบบ "ปิดทองหลังพระโมเดล"
4. ลำน้ำนอกเขตอุทยานก็สามารถพัฒนาเป็นแหล่งเก็บน้ำได้อีกมาก โดยปรับปรุงฝายเดิมหรือสร้างใหม่ให้เหมาะสม
5. ให้งบประมาณแก่คนทั้ง 23 ตำบล ตำบลละ 200 ล้านบาท รวมเป็น 4,600 ล้านบาท แล้วหาทางพัฒนาแหล่งน้ำโดยชาวบ้าน แล้วให้ข้าราชการเป็นที่ปรึกษา ดีกว่าสร้างเขื่อนทับป่าสมบูรณ์ พร้อมคลองชลประทานดาดคอนกรีต 500 กิโลเมตร ด้วยงบ 13,000 ล้านบาท
6. ให้แม่วงก์เป็นต้นแบบโครงการที่ราษฎรและข้าราชการร่วมกันแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำโดยไม่ทำลายป่าเพื่อสร้างเขื่อน
7. ขยายพื้นที่มรดกโลกทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง โดยรวมอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติคลองลาน และทั้งผืนป่าตะวันตกเข้าด้วยกัน
และนี่ก็คือที่มาที่ไปของโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ และเหตุผลที่ว่า ทำไมหลายคนถึงออกมาร่วมรณรงค์คัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์นั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- thaipublica.org
- greenworld.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น