มะเร็งปากมดลูก พบมากในผู้หญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม แต่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 ในแต่ละปีมีผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 5,200 คน หรือเฉลี่ยวันละ 14 คน ทั้ง ๆ ที่มะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นมะเร็งที่ป้องกันได้
รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาสูตินารีเวชและโรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ประจำโรงพยาบาลจุฬา เล่าว่า สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV ) จากการมีเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงกว่าร้อยละ 50-80 เคยติดเชื้อนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่ร้อยละ 90 ของการติดเชื้อนั้น ร่างกายสามารถกำจัดเองได้ด้วยระบบภูมิคุ้มกัน มีเพียงร้อยละ 10 ที่จะกลายเป็นการติดเชื้อแบบฝังแน่น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์บริเวณปากมดลูกไปเป็นมะเร็งในที่สุด โดยระยะเวลาตั้งแต่เริ่มติดเชื้อเอชพีวีจนกระทั่งเป็นมะเร็งนั้น กินเวลานาน 5-10 ปี ในระยะนี้จะไม่พบความผิดปกติใด ๆ จนกว่าเซลล์กลายเป็นมะเร็งลุกลาม ซึ่งความผิดปกติก่อนเป็นมะเร็งสามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรอง ดังนั้น หากตรวจพบก่อนจะรักษาได้ง่าย หายขาด ค่าใช้จ่ายน้อย
แนวทางใหม่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือ การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่เป็นตัวก่อการ โดยอาศัยหลักการว่า “ถ้าไม่มีเชื้อไวรัสเอชพีวี จะไม่เป็นมะเร็งปากมดลูก” (no HPV, no cervical cancer) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและมีความไวสูง ถ้าตรวจไม่พบเชื้อเอชพีวีจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกน้อยมาก และสามารถเว้นระยะห่างของการตรวจได้นาน 3-5 ปี นอกจากนั้น ถ้ามีความผิดปกติในระยะก่อนมะเร็ง การตรวจมักจะให้ผลบวก เพราะการตรวจมีความไวในการตรวจหารอยโรคก่อนเป็นมะเร็งสูงถึงร้อยละ 95-100
สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งนั้น มีอยู่หลายวิธี เช่น แป๊บสเมียร์ (Pap smear) แม้จะเป็นที่ยอมรับและมีประสิทธิภาพ แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่ก็ยังไม่กล้าตรวจ ด้วยเหตุผล 3 ประการหลัก ได้แก่ เขินอาย, เจ็บ, และไม่มีเวลา
อ.พญ.ชินา โอฬารรัตนพันธุ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาสูตินารีเวชและโรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ประจำโรงพยาบาลจุฬา เผยว่า ล่าสุดมีนวัตกรรมใหม่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้นซึ่งสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง เรียกว่า แปรงอีวาลิน มีลักษณะขนแปรงนุ่มเหมือนกับแปรงที่แพทย์ใช้ทั่วไป ซึ่งในประเทศเนเธอร์แลนด์มีการใช้อย่างกว้างขวางและเป็นที่ยอมรับถึงร้อยละ 90
ส่วนแนวทางป้องกันมะเร็งปากมดลูก รศ.นพ.วิชัย แนะ 3 วิธีปฏิบัติ คือ ลดพฤติกรรมเสี่ยง, พบแพทย์ตรวจคัดกรองมะเร็ง และฉีดวัคซีนป้องกัน
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/36298
รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาสูตินารีเวชและโรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ประจำโรงพยาบาลจุฬา เล่าว่า สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV ) จากการมีเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงกว่าร้อยละ 50-80 เคยติดเชื้อนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่ร้อยละ 90 ของการติดเชื้อนั้น ร่างกายสามารถกำจัดเองได้ด้วยระบบภูมิคุ้มกัน มีเพียงร้อยละ 10 ที่จะกลายเป็นการติดเชื้อแบบฝังแน่น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์บริเวณปากมดลูกไปเป็นมะเร็งในที่สุด โดยระยะเวลาตั้งแต่เริ่มติดเชื้อเอชพีวีจนกระทั่งเป็นมะเร็งนั้น กินเวลานาน 5-10 ปี ในระยะนี้จะไม่พบความผิดปกติใด ๆ จนกว่าเซลล์กลายเป็นมะเร็งลุกลาม ซึ่งความผิดปกติก่อนเป็นมะเร็งสามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรอง ดังนั้น หากตรวจพบก่อนจะรักษาได้ง่าย หายขาด ค่าใช้จ่ายน้อย
แนวทางใหม่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือ การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่เป็นตัวก่อการ โดยอาศัยหลักการว่า “ถ้าไม่มีเชื้อไวรัสเอชพีวี จะไม่เป็นมะเร็งปากมดลูก” (no HPV, no cervical cancer) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและมีความไวสูง ถ้าตรวจไม่พบเชื้อเอชพีวีจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกน้อยมาก และสามารถเว้นระยะห่างของการตรวจได้นาน 3-5 ปี นอกจากนั้น ถ้ามีความผิดปกติในระยะก่อนมะเร็ง การตรวจมักจะให้ผลบวก เพราะการตรวจมีความไวในการตรวจหารอยโรคก่อนเป็นมะเร็งสูงถึงร้อยละ 95-100
สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งนั้น มีอยู่หลายวิธี เช่น แป๊บสเมียร์ (Pap smear) แม้จะเป็นที่ยอมรับและมีประสิทธิภาพ แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่ก็ยังไม่กล้าตรวจ ด้วยเหตุผล 3 ประการหลัก ได้แก่ เขินอาย, เจ็บ, และไม่มีเวลา
อ.พญ.ชินา โอฬารรัตนพันธุ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาสูตินารีเวชและโรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ประจำโรงพยาบาลจุฬา เผยว่า ล่าสุดมีนวัตกรรมใหม่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้นซึ่งสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง เรียกว่า แปรงอีวาลิน มีลักษณะขนแปรงนุ่มเหมือนกับแปรงที่แพทย์ใช้ทั่วไป ซึ่งในประเทศเนเธอร์แลนด์มีการใช้อย่างกว้างขวางและเป็นที่ยอมรับถึงร้อยละ 90
ส่วนแนวทางป้องกันมะเร็งปากมดลูก รศ.นพ.วิชัย แนะ 3 วิธีปฏิบัติ คือ ลดพฤติกรรมเสี่ยง, พบแพทย์ตรวจคัดกรองมะเร็ง และฉีดวัคซีนป้องกัน
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/36298
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น