วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

การศึกษาไทยและฟินแลนด์

เปรียบเทียบการศึกษาไทยและฟินแลนด์ ทำไม เขาที่หนึ่งเราเกือบโหล่
ฟินแลนด์ประเทศเล็กๆในยุโรปตอนบน มีประชากรประมาณห้าล้านคน มีความน่าสนใจมากในด้านการพัฒนาคุณภาพคนของเขา คนที่นี่มีคุณภาพ มีชีวิตความเป็นอยู่ดี มีความเหลื่อมล้ำทางเศรฐกิจน้อยมาก เพราะมีการเก็บภาษีสูงและมีการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง
ในการสำรวจประเมินผลดัชนีทางการศึกษาล่าสุด
นักเรียนของฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพที่สุดในโลก
การจัดอันดับนี้ทำโดยองค์กรความร่วมมือทางเศรฐกิจและพัฒนา
ซึ่งใช้รูปแบบการวัดผลที่เน้นวัดความรู้ในการแก้ปัญหาและการใช้ภาษาของคนทั่วโลก
ที่ชื่อ PISA (Program For International student Assessment )
สิ่งที่น่าแปลกคือ การจัดการศึกษาของเขากับของเรามันช่างตรงกันข้ามจริงๆครับ
เรื่องแรก ที่ฟินแลนด์จะให้เด็กเรียนเมื่ออายุหกเจ็ดขวบ เขาไม่เน้นโรงเรียนอนุบาลเพราะอยากให้เด็กอยู่กับครอบครัว
เขาเชื่อว่าครอบครัวให้ความรัก ความรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม สร้างสิ่งดีงามให้เด็กได้ดีกว่าโรงเรียนอนุบาล
ส่วนบ้านเรา แข่งกันเข้าอนุบาล เดี๋ยวนี้มีติวเข้าอนุบาลกันแล้ว
เรื่องที่สอง เด็กที่นี่เรียนไม่เกินวันละห้าชั่วโมง (ในระดับประถม) ด้วยแนวคิดที่จะให้เด็กมีเวลาทำสิ่งที่ชอบกิจกรรมที่สนใจ  ส่วนเด็กไทย อัดกันเข้าไป
เรื่องที่สาม ห้องเรียนเขากำหนดให้มีเด็กห้องละ 12 คนมากสุดก็ 20 คน
โรงเรียนยิ่งดีก็ยิ่งจำกัดจำนวนเด็กต่อห้อง เพราะเขาจะพัฒนาคน และคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เขาอยากพัฒนาศักยภาพที่เด็กแต่ละคนมี การดูแลเป็นรายคนจึงสำคัญ
ส่วนของเรา บางโรง ห้องละ 50 คนครับ
เรื่องที่สี่ เขาไม่ให้เกรดเฉลี่ยมาเป็นตัวสร้างความภูมิใจ หรือ อับอายให้เด็ก
การเรียนคือการพัฒนาแต่ละคนไม่ใช่การแข่งขัน ประเทศนี้จึงไม่มีเกรดเฉลี่ยครับ
เรื่องที่ห้า การสอบเขาจะไม่ใช้ข้อสอบมาตรฐาน มาเป็นตัววัดนักเรียนทั้งประเทศ

เขาให้โรงเรียนกำหนดข้อสอบที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโรงเรียน
เรื่องที่หก เขาจ้างผู้อำนวยการมาบริหาร และให้กรรมการโรงเรียนดูแล ผลงานไม่ดีก็เชิญออกได้
เขาไม่ได้ใช้ระบบราชการ ระบบวิ่งเต้นเอาใจนักการเมือง เอาใจผู้ใหญ่ในกระทรวงหรือใครมีอายุราชการนานแค่ไหน  โรงเรียนเขาจึงมีคุณภาพ

เรื่องสุดท้ายของวันนี้ (ความจริงมีอีกเยอะครับ) คือ ครูของเขาทุกคนตั้งใจอยากเป็นครู
คนที่เก่งที่สุดของประเทศจะแข่งกันเป็นครู ครูทุกคนจบการศึกษาด้านครูในระดับปริญญาโท
ส่วนใครเรียนด้านอื่นก็ต้องไปต่อ ป.โทด้านครูครับจึงมาสมัครสอนได้
แค่นี้คงพอมองออกนะครับว่าเราทำการศึกษาตรงข้ามเขาขนาดนี้ผลงานมันเลยออกมาตรงข้ามกัน
บทความโดย

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์@eduzones.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น