ความรู้เกี่ยวกับการทำภาพยนตร์สั้น
ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์
1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)
เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม
2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)
หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า…” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น
3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)
คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)
4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)
เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำคัญ (premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
5. บทภาพยนตร์ (screenplay)
สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
6. บทถ่ายทำ (shooting script)
คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง
7. บทภาพ (storyboard)คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย
ขั้นตอนในการถ่ายภาพยนตร์สั้น
ขั้นที่1 หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำการตัดต่อ การประเมินผล
ขึ้นที่2 หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มีความสามารถเฉพาะครับ จะดีมากๆ และอีกอย่างคือทีมเวิร์ครับ
ขั้นที่3 เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ
ขั้นที่4 บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา เรื่องบทนี้จะมี หลายแบบ
- บทแบบสมบูรณ์ ประมาณว่า เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูดครับ
- บทแบบอย่างย่อ ประมาณว่า เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง
- บทแบบเฉพาะ
- บทแบบร่างกำหนด
ขั้นที่5 การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก ผมพูดรวมๆละกัน มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้
ขั้นที่6 ค้นหามุมกล้อง
- มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆครับ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
- มุมแทนสายตา
- มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆครับ สวยมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ครับ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ ครับ
ขั้นที่7 การเคลื่อนไหวของกล้อง
- การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถุนั้นสัมพันกัน
- การดอลลี่ คือ การติดตามการเคลื่อนไหวของภาพหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- การซูม เป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบภาพ เหมือนเน้นความสนใจในจุดๆหนึ่ง
ขั้นที่8 เทคนิคการถ่าย
เอาเป็นว่าจับกล้องให้มั่นนะครับ อย่างผมก็จะจับ แบบกระชับกับตัวเลย คือแขนทั้งสองข้างแนบตัวเลยครับ
และก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็วนะครับ กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอครับ
ขั้นที่9 หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอ็ฟเฟก ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ
ขั้นที่10 การตัดต่อ
อย่างแรกเลยครับจัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้งครับอย่าให้ขัดอารมณ์
อย่างสองคือจัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้ครับ
อย่างสามแก้ไขข้อบกพร่องครับ
อย่างสี่ เพิ่มเทคนิคให้ดูสวยงาม
เทคนิคการถ่ายวีดีโอ
ปัจจุบันกล้องวีดีโอมีอยู่หลายประเภท เช่น แบบ Handycam(กล้องขนาดเล็ก) กล้องแบบมืออาชีพ(ขนาดใหญ่) แต่หลักการและเทคนิคการถ่ายจะเหมือนๆกัน
ก่อนอื่นเรามาทราบถึงประเภทของสื่อที่ใช้บันทึกภาพของกล้องวีดีโอก่อนว่าปัจจุบันมีอยู่กี่แบบ
1.แบบใช้ม้วนเทป ปัจจุบันเหลือเพียง miniDV เป็นส่วนใหญ่
2.แบบใช้แผ่น ซึ่งจะใช้แผ่น mini DVD เป็นตัวเก็บข้อมูล
3.แบบใช้ Hard Disk ปัจจุบันมีให้เลือกหลายขนาดของความจุ เช่น 30 GB, 60 GB ต้น
4.แบบใช้ Memory card เช่น SD, Memory Stick, XDcard เป็นต้น
เทคนิคการถ่าย
1. ไม่ควรถ่ายแช่นานเกินไป เพราะจะดูไม่น่าสนใจและน่าเบื่อ
2.ไม่ควรยกกล้องไปมาแทนสายตา เพราะจะทำให้ผู้ชมลายตาได้
3.ถ้าเหตุการณ์นั้นยังไม่สิ้นสุด ไม่ควรหยุดถ่ายกลางคัน
4.ไม่ควร Zoom หรือ Pan ขณะถ่าย บ่อยเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ชมเวียนหัว
5.หาจุดจบที่ทำให้สนใจ
6.พยายามมองหาจุดที่น่าสนใจรอบๆตัวเพื่อจะได้ไม่พลาดเหตุการณ์สำคัญ
หลักการง่ายๆแค่นี้ ท่านก็จะได้ภาพที่ดูดี ระดับมืออาชีพแล้ว
7. ถือกล้องให้นิ่ง อย่าสั่น เทคนิคง่ายๆคือกลั้นหายใจ หรือหายใจเบาๆ ขณะที่กด record
เทคนิคการถ่ายวีดีโอให้นิ่งที่สุด โดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง
ส่วนใหญ่แล้วช่างภาพวีดีโอมือสมัครเล่นทั่วไป จะชอบถือกล้องในแบบที่ถนัดที่สุด แบบที่สบายที่สุด และแบบที่ถือแล้วไม่เมื่อย แต่มุมมองที่ออกมา ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แถมภาพสั่นยังกะอยู่ในคลื่นกลางทะเล วิธีที่จะทำให้วีดีโอนั้นไม่สั่นก็ต้องใช้ขาตั้งกล้องนะครับ ขาตั้งกล้องช่วยได้มากทีเดียว และต้องเป็นหัวแพนด้วย ถ้าเป็นหัวบอล ใช้สำหรับกล้องถ่ายภาพนิ่งนะครับ แต่ถ้าเกิดว่าเราไปเที่ยว ถือแค่กล้องถ่ายวีดีโอไปตัวเดียว ไม่อยากเอาขาตั้งกล้องไปด้วย มันใหญ่และเกะกะมาก ผมมีเทคนิคเล็กๆน้อยๆครับ ที่จะทำให้ได้มุมมองที่สวย และจับถือได้นิ่งมากๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเลย ขั้นตอนแรกนะครับ ให้ท่านจับกล้องด้วย 2 มือ กุมกล้องไว้ในมือทั้ง 2 จากนั้นยืดแขนออกไปให้สุด เพื่อฟิตกล้ามเนื้อก่อน ซัก 3-5 รอบ แล้วก็เอากล้องมาชิดที่หน้าท้อง ติดหน้าท้องเลยนะครับ ดันให้แน่นๆ เสยมุมกล้องขึ้นบนนิดหน่อยพอสวยงาม จากนั้นก็บิดจอ LCD ขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้มองเห็นจอภาพถนัดๆ จากนั้นก็กด Record ได้เลย ในระหว่างที่ถ่ายอยู่ ต้องใช้มือทั้ง 2 ที่กุมกล้องอยู่ ดันกล้องให้ติดหน้าท้องนะครับ รับรองได้ว่า วีดีโอที่ออกมา สวยและนิ่งใช้ได้เลยครับ แต่ถ่ายไปนานๆ จะรู้สึกเมื่อยนะครับ เพราะต้องกดกล้องเข้าหาหน้าท้องตัวเองอยู่ตลอดเวลา หากถ่ายนานๆใช้ขาตั้งหรือโต๊ะ หรือหาอะไรที่มันพอจะวางกล้องได้มันจะดีกว่านะครับ ลองเอาเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้กันดู หวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับสมาชิกทุกท่านครับ
การเขียนบทภาพยนตร์จากเรื่องสั้น
การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ หรืออะไรที่ทำให้เกิดความคิด จินตนาการ การสร้างสรรค์ คือการนำเรื่องราวมาประสมประสานกันให้เป็นเรื่องขึ้นมา ความพยายามเท่านั้นทำให้เกิดความสำเร็จ ขอให้ทุกท่านสนุกกับการทำหนังสั้นนะครับ
ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์
1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)
เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม
2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)
หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า…” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น
3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)
คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)
4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)
เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำคัญ (premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
5. บทภาพยนตร์ (screenplay)
สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
6. บทถ่ายทำ (shooting script)
คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง
7. บทภาพ (storyboard)คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย
ขั้นตอนในการถ่ายภาพยนตร์สั้น
ขั้นที่1 หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำการตัดต่อ การประเมินผล
ขึ้นที่2 หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มีความสามารถเฉพาะครับ จะดีมากๆ และอีกอย่างคือทีมเวิร์ครับ
ขั้นที่3 เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ
ขั้นที่4 บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา เรื่องบทนี้จะมี หลายแบบ
- บทแบบสมบูรณ์ ประมาณว่า เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูดครับ
- บทแบบอย่างย่อ ประมาณว่า เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง
- บทแบบเฉพาะ
- บทแบบร่างกำหนด
ขั้นที่5 การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก ผมพูดรวมๆละกัน มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้
ขั้นที่6 ค้นหามุมกล้อง
- มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆครับ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
- มุมแทนสายตา
- มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆครับ สวยมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ครับ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ ครับ
ขั้นที่7 การเคลื่อนไหวของกล้อง
- การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถุนั้นสัมพันกัน
- การดอลลี่ คือ การติดตามการเคลื่อนไหวของภาพหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- การซูม เป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบภาพ เหมือนเน้นความสนใจในจุดๆหนึ่ง
ขั้นที่8 เทคนิคการถ่าย
เอาเป็นว่าจับกล้องให้มั่นนะครับ อย่างผมก็จะจับ แบบกระชับกับตัวเลย คือแขนทั้งสองข้างแนบตัวเลยครับ
และก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็วนะครับ กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอครับ
ขั้นที่9 หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอ็ฟเฟก ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ
ขั้นที่10 การตัดต่อ
อย่างแรกเลยครับจัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้งครับอย่าให้ขัดอารมณ์
อย่างสองคือจัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้ครับ
อย่างสามแก้ไขข้อบกพร่องครับ
อย่างสี่ เพิ่มเทคนิคให้ดูสวยงาม
เทคนิคการถ่ายวีดีโอ
ปัจจุบันกล้องวีดีโอมีอยู่หลายประเภท เช่น แบบ Handycam(กล้องขนาดเล็ก) กล้องแบบมืออาชีพ(ขนาดใหญ่) แต่หลักการและเทคนิคการถ่ายจะเหมือนๆกัน
ก่อนอื่นเรามาทราบถึงประเภทของสื่อที่ใช้บันทึกภาพของกล้องวีดีโอก่อนว่าปัจจุบันมีอยู่กี่แบบ
1.แบบใช้ม้วนเทป ปัจจุบันเหลือเพียง miniDV เป็นส่วนใหญ่
2.แบบใช้แผ่น ซึ่งจะใช้แผ่น mini DVD เป็นตัวเก็บข้อมูล
3.แบบใช้ Hard Disk ปัจจุบันมีให้เลือกหลายขนาดของความจุ เช่น 30 GB, 60 GB ต้น
4.แบบใช้ Memory card เช่น SD, Memory Stick, XDcard เป็นต้น
เทคนิคการถ่าย
1. ไม่ควรถ่ายแช่นานเกินไป เพราะจะดูไม่น่าสนใจและน่าเบื่อ
2.ไม่ควรยกกล้องไปมาแทนสายตา เพราะจะทำให้ผู้ชมลายตาได้
3.ถ้าเหตุการณ์นั้นยังไม่สิ้นสุด ไม่ควรหยุดถ่ายกลางคัน
4.ไม่ควร Zoom หรือ Pan ขณะถ่าย บ่อยเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ชมเวียนหัว
5.หาจุดจบที่ทำให้สนใจ
6.พยายามมองหาจุดที่น่าสนใจรอบๆตัวเพื่อจะได้ไม่พลาดเหตุการณ์สำคัญ
หลักการง่ายๆแค่นี้ ท่านก็จะได้ภาพที่ดูดี ระดับมืออาชีพแล้ว
7. ถือกล้องให้นิ่ง อย่าสั่น เทคนิคง่ายๆคือกลั้นหายใจ หรือหายใจเบาๆ ขณะที่กด record
เทคนิคการถ่ายวีดีโอให้นิ่งที่สุด โดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง
ส่วนใหญ่แล้วช่างภาพวีดีโอมือสมัครเล่นทั่วไป จะชอบถือกล้องในแบบที่ถนัดที่สุด แบบที่สบายที่สุด และแบบที่ถือแล้วไม่เมื่อย แต่มุมมองที่ออกมา ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แถมภาพสั่นยังกะอยู่ในคลื่นกลางทะเล วิธีที่จะทำให้วีดีโอนั้นไม่สั่นก็ต้องใช้ขาตั้งกล้องนะครับ ขาตั้งกล้องช่วยได้มากทีเดียว และต้องเป็นหัวแพนด้วย ถ้าเป็นหัวบอล ใช้สำหรับกล้องถ่ายภาพนิ่งนะครับ แต่ถ้าเกิดว่าเราไปเที่ยว ถือแค่กล้องถ่ายวีดีโอไปตัวเดียว ไม่อยากเอาขาตั้งกล้องไปด้วย มันใหญ่และเกะกะมาก ผมมีเทคนิคเล็กๆน้อยๆครับ ที่จะทำให้ได้มุมมองที่สวย และจับถือได้นิ่งมากๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเลย ขั้นตอนแรกนะครับ ให้ท่านจับกล้องด้วย 2 มือ กุมกล้องไว้ในมือทั้ง 2 จากนั้นยืดแขนออกไปให้สุด เพื่อฟิตกล้ามเนื้อก่อน ซัก 3-5 รอบ แล้วก็เอากล้องมาชิดที่หน้าท้อง ติดหน้าท้องเลยนะครับ ดันให้แน่นๆ เสยมุมกล้องขึ้นบนนิดหน่อยพอสวยงาม จากนั้นก็บิดจอ LCD ขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้มองเห็นจอภาพถนัดๆ จากนั้นก็กด Record ได้เลย ในระหว่างที่ถ่ายอยู่ ต้องใช้มือทั้ง 2 ที่กุมกล้องอยู่ ดันกล้องให้ติดหน้าท้องนะครับ รับรองได้ว่า วีดีโอที่ออกมา สวยและนิ่งใช้ได้เลยครับ แต่ถ่ายไปนานๆ จะรู้สึกเมื่อยนะครับ เพราะต้องกดกล้องเข้าหาหน้าท้องตัวเองอยู่ตลอดเวลา หากถ่ายนานๆใช้ขาตั้งหรือโต๊ะ หรือหาอะไรที่มันพอจะวางกล้องได้มันจะดีกว่านะครับ ลองเอาเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้กันดู หวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับสมาชิกทุกท่านครับ
การเขียนบทภาพยนตร์จากเรื่องสั้น
การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ หรืออะไรที่ทำให้เกิดความคิด จินตนาการ การสร้างสรรค์ คือการนำเรื่องราวมาประสมประสานกันให้เป็นเรื่องขึ้นมา ความพยายามเท่านั้นทำให้เกิดความสำเร็จ ขอให้ทุกท่านสนุกกับการทำหนังสั้นนะครับ
ขอบคุณที่มา : http://joynaka23.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น