คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามที่ผู้พูดหรือผู้เขียนได้กล่าวแล้ว หรือเป็นที่เข้าใจกันระหว่างผู้ฟังกับผู้พูด เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนานซ้ำ คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ
๑. บุรุษสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้พูด ผู้ที่พูดด้วย และผู้ที่พูดถึง แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
ข้อสังเกต
คำบุรุษสรรพนามจะเป็นบุรุษที่หนึ่ง ที่สอง หรือที่สามนั้น ให้ถือหน้าที่คำเป็นสำคัญ เพราะบางคำอาจเป็นไต้หลายชุรุษ สุดแต่ว่าทำหน้าที่เป็นผู้พูด ผู้พูดด้วย หรือผู้ที่พูดถึง เช่น คำ ท่าน ในประโยคต่อไปนี้
ก. นายแดงได้พูดกับประชาชนที่มาฟังปาฐกถาว่า ท่านที่เคารพ
ข. นางอารีได้สั่งนายสมว่า ช่วยเรียนผู้อำนวยการด้วยดิฉันคิดถึงท่าน
คำ ท่าน ในประโยค ก เป็นบุรุษที่ ๒ แต่คำว่า ท่าน ในดระโยค ข เป็นบุรุษที่ ๓ อนึ่งในภาษาไทยอาจใช้คำนามในการสนทนา หรือการเขียนข้อความให้เกิดความหมาย เช่น บุรุษที ๑ หรือบุรุษที้ ๒ หรือบุรุษที่ ๓ ได้ดังนี้
ผู้เขียนขอเรียนให้ผู้อ่านทราบว่า หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ใช้เวลาค้นค้วาประมาณ ๑ ปี
๒. ประพันธสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนาม หรือแทนสรรพนามที่อยู่ติดต่อกันข้างหน้า ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ได้แก่ ผู้ ที่ ซึ่ง อัน เช่น
นักเรียนผู้ประสงค์จะชมการแสดงเช้าไปได้
คนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีควรมีวิสัยทัศน์
ฉันชอบบ้านที่มีบริเวณกว้าง
ของซึ่งวางอยู่ในห้องหายเสียแล้ว
เขาได้ไห้โอวาทอันน้าสนใจแก่ฉัน
๓. วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทน หรือสรรพนามที่กล่าวโดยชี้ศ้ำอีกครั้งหนึ่ง อาจแสดงความหมายรวม หรือแสดงความหมายแยก ได้แก่ ต่าง บ้าง กัน เช่น
๔. นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้ชี้ระยะที่กำหนดให้รู้ว่า ใกล้ ไกล ของนามที่ผู้พูดกับผู้ฟังสามสรถเข้าใจได้ตรงกัน ได้แก่ คำว่า นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น เช่น
นี่คือรถยนต์ของฉัน
นั่นเป็นมติของกรรมการ
โน้นคือพระปรางค์สามยอด
๕. ปฤจฉาสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่มีความหมายเป็นคำถาม ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ผู้ใด สิ่งใด อันไหม เช่น
ใครใช้ให้คุณมา
อะไรอยู่ในลิ้นชัก
เธอต้องการสิ่งใด
ไหนคือบ้านของท่าน
๖. อนิยมสรรพนาม คือ คำสรรพนามบอกความไม่เจาะจง ใช้แทนนาม ซึ่งไม่กำหนดแน่นอนลงไปว่าเป็นวิ่งนี้น สิ่งนี้ ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ผู้ใด สิ่งใด เช่น
ใครจะไปกับฉันก็ได้
อะไรฉันก็ไม่รู้สักอย่าง
ไหนๆ ฉันก็อยู่ได้
สิ่งใดก็ไม่สำคัญ
๗. สรรพนามใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้พูด เช่น
ยายมีแกช่างคุย
แมวมันชอบกัดหนู
สมภารท่านจำวัด
สุดาเธอชอบร้องเพลง
๑. บุรุษสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้พูด ผู้ที่พูดด้วย และผู้ที่พูดถึง แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑. | บุรุษที่ ๑ | ใช้แทนชื่อผู้พูด | ได้แก่คำว่า | ฉัน ผม ข้าพเจ้า อิฉัน อาตมภาพ |
๒. | บุรุษที่ ๒ | ใช้แทนชื่อผู้พูดด้วย | ได้แก่คำว่า | คุณ ท่าน เธอ ใต้เท้า ผ่าพระบาท |
๓. | บุรุษที่ ๓ | ใช้แทนชื่อผู้ที่พูดถึง | ได้แก่คำว่า | เขา มัน ใคร อะไร ผู้ใด |
ข้อสังเกต
คำบุรุษสรรพนามจะเป็นบุรุษที่หนึ่ง ที่สอง หรือที่สามนั้น ให้ถือหน้าที่คำเป็นสำคัญ เพราะบางคำอาจเป็นไต้หลายชุรุษ สุดแต่ว่าทำหน้าที่เป็นผู้พูด ผู้พูดด้วย หรือผู้ที่พูดถึง เช่น คำ ท่าน ในประโยคต่อไปนี้
ก. นายแดงได้พูดกับประชาชนที่มาฟังปาฐกถาว่า ท่านที่เคารพ
ข. นางอารีได้สั่งนายสมว่า ช่วยเรียนผู้อำนวยการด้วยดิฉันคิดถึงท่าน
คำ ท่าน ในประโยค ก เป็นบุรุษที่ ๒ แต่คำว่า ท่าน ในดระโยค ข เป็นบุรุษที่ ๓ อนึ่งในภาษาไทยอาจใช้คำนามในการสนทนา หรือการเขียนข้อความให้เกิดความหมาย เช่น บุรุษที ๑ หรือบุรุษที้ ๒ หรือบุรุษที่ ๓ ได้ดังนี้
ผู้เขียนขอเรียนให้ผู้อ่านทราบว่า หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ใช้เวลาค้นค้วาประมาณ ๑ ปี
ผู้เขียน | เป็น | คำนามบุรุษที่ ๑ |
ผู้อ่าน | เป็น | คำนามบุรุษที่ ๒ |
หนังสือ | เป็น | คำนามบุรุษที่ ๓ |
๒. ประพันธสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนาม หรือแทนสรรพนามที่อยู่ติดต่อกันข้างหน้า ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ได้แก่ ผู้ ที่ ซึ่ง อัน เช่น
นักเรียนผู้ประสงค์จะชมการแสดงเช้าไปได้
คนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีควรมีวิสัยทัศน์
ฉันชอบบ้านที่มีบริเวณกว้าง
ของซึ่งวางอยู่ในห้องหายเสียแล้ว
เขาได้ไห้โอวาทอันน้าสนใจแก่ฉัน
๓. วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทน หรือสรรพนามที่กล่าวโดยชี้ศ้ำอีกครั้งหนึ่ง อาจแสดงความหมายรวม หรือแสดงความหมายแยก ได้แก่ ต่าง บ้าง กัน เช่น
พนักงานต่างก็ทำหน้าที่ของตน | (ความหมายแยก) | |
เด็กๆ บ้างก็เล่นบ้างก็กินขนม | (ความหมายแยก) | |
พี่น้องตีกัน | (ความหมายรวม) |
๔. นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้ชี้ระยะที่กำหนดให้รู้ว่า ใกล้ ไกล ของนามที่ผู้พูดกับผู้ฟังสามสรถเข้าใจได้ตรงกัน ได้แก่ คำว่า นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น เช่น
นี่คือรถยนต์ของฉัน
นั่นเป็นมติของกรรมการ
โน้นคือพระปรางค์สามยอด
๕. ปฤจฉาสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่มีความหมายเป็นคำถาม ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ผู้ใด สิ่งใด อันไหม เช่น
ใครใช้ให้คุณมา
อะไรอยู่ในลิ้นชัก
เธอต้องการสิ่งใด
ไหนคือบ้านของท่าน
๖. อนิยมสรรพนาม คือ คำสรรพนามบอกความไม่เจาะจง ใช้แทนนาม ซึ่งไม่กำหนดแน่นอนลงไปว่าเป็นวิ่งนี้น สิ่งนี้ ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ผู้ใด สิ่งใด เช่น
ใครจะไปกับฉันก็ได้
อะไรฉันก็ไม่รู้สักอย่าง
ไหนๆ ฉันก็อยู่ได้
สิ่งใดก็ไม่สำคัญ
๗. สรรพนามใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้พูด เช่น
ยายมีแกช่างคุย
แมวมันชอบกัดหนู
สมภารท่านจำวัด
สุดาเธอชอบร้องเพลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น