วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

คำอุทาน
     คำอุทาน  หมายถึงคำพวกหนึ่งที่เปล่งออกมา แต่ไม่มีความหมาย เป็นเพียงแสดงวามรู้สึก
อารมณ์   หรือความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังทราบ  
     คำอุทานแบ่งออกเป็น  ๒  ประเภท  ดังนี้
 ๑. คำอุทานบอกอาการ  เป็นคำอุทานที่ผู้พูดเปล่งออกมาเพื่อบอกอาการ หรือความรู้สึก
ของผู้กล่าว  คำอุทานชนิดนี้แบ่งเป็นหลายพวก ตามอาการต่าง ๆ เช่น
       แสดงอาการร้องเรียก หรือบอกให้รู้ตัวได้แก่ เฮ้ย ! แนะ ! โว้ย ! เฮ้ ! นี่แนะ !
       แสดงอาการโกรธเคือง ได้แก่ ชิชะ !  ดูดู๋ !  อุเหม่ !
       แสดงอาการตกใจ  ได้แก่   เอ๊ะ ! คุณพระช่วย ! ตาย ! ตาเถน ! ว้าย ! โอ้ !
       แสดงอาการประหลาดใจได้แก่ แม่เจ้าโว้ย ! แหม ! อ๊ะ ! โอ ! โอโฮ้ ! ฮ้า !  ว้าว !
      แสดงอาการปลอบโยน  ได้แก่  พุทโธ่ !  โถ !  โธ่ !  อนิจจา !
      แสดงอาการเข้าใจหรือรับรู้ ได้แก่   อ้อ !   เออ !   อือ !
      แสดงอาการเยาะเย้ย ได้แก่  เชอะ !  เอ๊ว !  กิ๊วกิ๊ว !  กุ๋ยกุ๋ย !
      แสดงอาการดีใจ  ได้แก่  ไชโย !
 ๒. คำอุทานเสริมบท   คือคำอุทานที่ผู้พูดกล่าวเพิ่มเติมถ้อยคำ หรือเสริมขึ้น
เพื่อให้คล้องจอง เท่านั้น โดยไม่ต้องการเนื้อความ เช่น
  อาหงอาหาร   หนังสือหนังหา
  ล้างไม้ล้างมือ   ลืมหูลืมตา
  กินหยูกกินยา   เลขผานาที

 ข้อสังเกต

 ๑. คำอุทานบอกอาการ เวลาเขียนมักนิยมใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับไว้หลัง
         คำอุทานนั้น
 ๒. คำอุทานเสริมบทเป็นคำที่เติมเข้าไปเพียงต้องการให้คล้องจองกันเท่านั้น อาจไม่มี
         ความหมายก็ได้
หน้าที่ของคำอุทาน
      ๑. แสดงอารมณ์ผู้พูด  เช่น ชิชะ! บ๊ะ ! เหม่ !  โถ !  อนิจจา !  โอ !  แหม !  ฯลฯ
      ๒. ใช้เสริมท้ายคำอื่นเพื่อความไพเราะ เช่น เสื่อสาด  เสื้อแสง  ไม่กินไม่แกน ฯลฯ
           และยังใช้เป็นคำสร้อยของคำโคลง เช่น
           เสียงฤาเสียงเล่าอ้าง อันใด   พี่เอย



ที่มา : http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=1255

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น