เปรียบเทียบการศึกษาไทยและฟินแลนด์ ทำไม เขาที่หนึ่งเราเกือบโหล่
ฟินแลนด์ประเทศเล็กๆในยุโรปตอนบน มีประชากรประมาณห้าล้านคน มีความน่าสนใจมากในด้านการพัฒนาคุณภาพคนของเขา คนที่นี่มีคุณภาพ มีชีวิตความเป็นอยู่ดี มีความเหลื่อมล้ำทางเศรฐกิจน้อยมาก เพราะมีการเก็บภาษีสูงและมีการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง
ในการสำรวจประเมินผลดัชนีทางการศึกษาล่าสุดนักเรียนของฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพที่สุดในโลก
การจัดอันดับนี้ทำโดยองค์กรความร่วมมือทางเศรฐกิจและพัฒนา
ซึ่งใช้รูปแบบการวัดผลที่เน้นวัดความรู้ในการแก้ปัญหาและการใช้ภาษาของคนทั่วโลก
ที่ชื่อ PISA (Program For International student Assessment )
สิ่งที่น่าแปลกคือ การจัดการศึกษาของเขากับของเรามันช่างตรงกันข้ามจริงๆครับ
เรื่องแรก ที่ฟินแลนด์จะให้เด็กเรียนเมื่ออายุหกเจ็ดขวบ เขาไม่เน้นโรงเรียนอนุบาลเพราะอยากให้เด็กอยู่กับครอบครัว
เขาเชื่อว่าครอบครัวให้ความรัก ความรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม สร้างสิ่งดีงามให้เด็กได้ดีกว่าโรงเรียนอนุบาล
ส่วนบ้านเรา แข่งกันเข้าอนุบาล เดี๋ยวนี้มีติวเข้าอนุบาลกันแล้ว
เรื่องที่สอง เด็กที่นี่เรียนไม่เกินวันละห้าชั่วโมง (ในระดับประถม) ด้วยแนวคิดที่จะให้เด็กมีเวลาทำสิ่งที่ชอบกิจกรรมที่สนใจ ส่วนเด็กไทย อัดกันเข้าไป
เรื่องที่สาม ห้องเรียนเขากำหนดให้มีเด็กห้องละ 12 คนมากสุดก็ 20 คน
โรงเรียนยิ่งดีก็ยิ่งจำกัดจำนวนเด็กต่อห้อง เพราะเขาจะพัฒนาคน และคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เขาอยากพัฒนาศักยภาพที่เด็กแต่ละคนมี การดูแลเป็นรายคนจึงสำคัญ
ส่วนของเรา บางโรง ห้องละ 50 คนครับ
เรื่องที่สี่ เขาไม่ให้เกรดเฉลี่ยมาเป็นตัวสร้างความภูมิใจ หรือ อับอายให้เด็ก
การเรียนคือการพัฒนาแต่ละคนไม่ใช่การแข่งขัน ประเทศนี้จึงไม่มีเกรดเฉลี่ยครับ
เรื่องที่ห้า การสอบเขาจะไม่ใช้ข้อสอบมาตรฐาน มาเป็นตัววัดนักเรียนทั้งประเทศ
เขาให้โรงเรียนกำหนดข้อสอบที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโรงเรียน
เรื่องที่หก เขาจ้างผู้อำนวยการมาบริหาร และให้กรรมการโรงเรียนดูแล ผลงานไม่ดีก็เชิญออกได้
เขาไม่ได้ใช้ระบบราชการ ระบบวิ่งเต้นเอาใจนักการเมือง เอาใจผู้ใหญ่ในกระทรวงหรือใครมีอายุราชการนานแค่ไหน โรงเรียนเขาจึงมีคุณภาพ
เรื่องสุดท้ายของวันนี้ (ความจริงมีอีกเยอะครับ) คือ ครูของเขาทุกคนตั้งใจอยากเป็นครู
คนที่เก่งที่สุดของประเทศจะแข่งกันเป็นครู ครูทุกคนจบการศึกษาด้านครูในระดับปริญญาโท
ส่วนใครเรียนด้านอื่นก็ต้องไปต่อ ป.โทด้านครูครับจึงมาสมัครสอนได้
แค่นี้คงพอมองออกนะครับว่าเราทำการศึกษาตรงข้ามเขาขนาดนี้ผลงานมันเลยออกมาตรงข้ามกัน
บทความโดย
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์@eduzones.com
ในการสำรวจประเมินผลดัชนีทางการศึกษาล่าสุดนักเรียนของฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพที่สุดในโลก
การจัดอันดับนี้ทำโดยองค์กรความร่วมมือทางเศรฐกิจและพัฒนา
ซึ่งใช้รูปแบบการวัดผลที่เน้นวัดความรู้ในการแก้ปัญหาและการใช้ภาษาของคนทั่วโลก
ที่ชื่อ PISA (Program For International student Assessment )
สิ่งที่น่าแปลกคือ การจัดการศึกษาของเขากับของเรามันช่างตรงกันข้ามจริงๆครับ
เรื่องแรก ที่ฟินแลนด์จะให้เด็กเรียนเมื่ออายุหกเจ็ดขวบ เขาไม่เน้นโรงเรียนอนุบาลเพราะอยากให้เด็กอยู่กับครอบครัว
เขาเชื่อว่าครอบครัวให้ความรัก ความรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม สร้างสิ่งดีงามให้เด็กได้ดีกว่าโรงเรียนอนุบาล
ส่วนบ้านเรา แข่งกันเข้าอนุบาล เดี๋ยวนี้มีติวเข้าอนุบาลกันแล้ว
เรื่องที่สอง เด็กที่นี่เรียนไม่เกินวันละห้าชั่วโมง (ในระดับประถม) ด้วยแนวคิดที่จะให้เด็กมีเวลาทำสิ่งที่ชอบกิจกรรมที่สนใจ ส่วนเด็กไทย อัดกันเข้าไป
เรื่องที่สาม ห้องเรียนเขากำหนดให้มีเด็กห้องละ 12 คนมากสุดก็ 20 คน
โรงเรียนยิ่งดีก็ยิ่งจำกัดจำนวนเด็กต่อห้อง เพราะเขาจะพัฒนาคน และคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เขาอยากพัฒนาศักยภาพที่เด็กแต่ละคนมี การดูแลเป็นรายคนจึงสำคัญ
เรื่องที่สี่ เขาไม่ให้เกรดเฉลี่ยมาเป็นตัวสร้างความภูมิใจ หรือ อับอายให้เด็ก
การเรียนคือการพัฒนาแต่ละคนไม่ใช่การแข่งขัน ประเทศนี้จึงไม่มีเกรดเฉลี่ยครับ
เรื่องที่ห้า การสอบเขาจะไม่ใช้ข้อสอบมาตรฐาน มาเป็นตัววัดนักเรียนทั้งประเทศ
เรื่องที่หก เขาจ้างผู้อำนวยการมาบริหาร และให้กรรมการโรงเรียนดูแล ผลงานไม่ดีก็เชิญออกได้
เขาไม่ได้ใช้ระบบราชการ ระบบวิ่งเต้นเอาใจนักการเมือง เอาใจผู้ใหญ่ในกระทรวงหรือใครมีอายุราชการนานแค่ไหน โรงเรียนเขาจึงมีคุณภาพ
คนที่เก่งที่สุดของประเทศจะแข่งกันเป็นครู ครูทุกคนจบการศึกษาด้านครูในระดับปริญญาโท
ส่วนใครเรียนด้านอื่นก็ต้องไปต่อ ป.โทด้านครูครับจึงมาสมัครสอนได้
แค่นี้คงพอมองออกนะครับว่าเราทำการศึกษาตรงข้ามเขาขนาดนี้ผลงานมันเลยออกมาตรงข้ามกัน
บทความโดย
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์@eduzones.com