พระอุรุเวลกัสสปเถระ เอตทัคคะ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีบริวารมาก
ชื่อเดิมคือ “กัสสปะ” เกิดในตระกูลพราหมณ์ ที่เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ตระกูลกัสสปโคตร มีพี่ร่วมท้องเดียวกัน คือ น้องชาย 2 คน ได้แก่ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ ทั้ง 3 พี่น้อง ต่างเป็นอาจารย์สอนคัมภีร์ไตรเพท แก่ศิษย์ผู้เป็นบริวารของตนๆ รวมจำนวนถึง 1,000 คน
ต่อมาท่านเห็นว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่มีสาระแก่นสาร จึงได้ชักชวนกันออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญพรตด้วยการบูชาไฟ ถือว่าตนเป็นพระอรหันต์ สร้างอาศรมสั่งสอนลัทธิอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงส่งสาวก 60 องค์ไปประกาศพระศาสนา และเสด็จไปโปรดชฏิลทั้ง 3 พี่น้อง พระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ต่างๆ จนทำให้ชฏิลทั้ง 3 พี่น้องละพยศลดทิฏฐิมานะกลับมาเลื่อมใส และยอมรับนับถือพระรัตนตรัย ได้ขอบรรพชาอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ต่อมาพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมชื่อ“อาทิตตปริยายสูตร” ซึ่งมีใจความว่าตา หูจมูก ลิ้นกาย และใจ เป็นของร้อน คือร้อนด้วยไฟ คือราคะ โทสะ และโมหะเป็นต้นเมื่อจบพระธรรมเทศนาท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
พระเจ้าพิมพิสารทราบข่าว จึงพร้อมด้วยข้าราชบริพาร เสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้า พระพุทธองค์ทอดพระเนตรข้าราชบริพารมีกิริยาอาการไม่อ่อนน้อม จึงตรัสสั่งให้พระอุรุเวลกัสสปะประกาศลัทธิของท่านว่าไม่มีแก่นสาร ท่านจึงได้ทำตามพระพุทธดำรัส คนเหล่านั้นสิ้นความสงสัย ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา ชื่อว่า “อนุปุพพิกถา และอริยสัจ 4”
เวลาจบเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวาร 11 ส่วน ได้บรรลุโสดา-ปัตติผล อีก 1 ส่วน ได้ดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์ เป็นเหตุให้พระเจ้าพิมพิสารถวายวัดแห่งแรกแก่พระพุทธศาสนาชื่อว่า “เวฬุวัน”
ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะได้ฟังธรรมเทศนาชื่อว่า “อาทิตต-ปริยายสูตร” คือ สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
1.ท่านมีบริวาร 500 นทีกัสสปะ 300 คยากัสสปะ 200 รวมเป็น 1,000
2.ท่านได้เป็นอาจารย์ที่ชาวเมืองราชคฤห์นับถือมาก
3.ท่านพร้อมทั้งน้องชาย 2 คน บูชาไฟอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ชฏิล แปลว่า ผู้มีผมเป็นมวย หรือผู้มีมวยผมนั้นเอง
4.แคว้นมคธ มีราชคฤห์เป็นเมืองหลวง มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ปกครอง
2.ท่านได้เป็นอาจารย์ที่ชาวเมืองราชคฤห์นับถือมาก
3.ท่านพร้อมทั้งน้องชาย 2 คน บูชาไฟอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ชฏิล แปลว่า ผู้มีผมเป็นมวย หรือผู้มีมวยผมนั้นเอง
4.แคว้นมคธ มีราชคฤห์เป็นเมืองหลวง มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ปกครอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น